กระเย้อกระแหย่ง : [-แหฺย่ง] ก. เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม, ขะเย้อแขย่ง ก็ว่า.
กระลี : น. สิ่งร้าย, โทษ. ว. ร้าย เช่น กระลีชาติ กระลียุค.
กระเสียน : ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับ ไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล).
กระหย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่ง หรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระหย่งฟาง, กระโหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
กระโหย่ง ๑ : [-โหฺย่ง] ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
กระไอ ๑ : น. กลิ่น (ใช้เฉพาะกลิ่นของสิ่งที่จวนจะบูด) เช่น แกงมีกระไอจวนจะบูดแล้ว, สะไอ ก็ว่า. ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น ข้าวเหม็นกระไอ, สะไอ ก็ว่า.
กราก : [กฺราก] ก. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าไป. ว. รวดเร็ว เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก; เรียกสิ่งที่หุงหรือนึ่งสวยมากเกินไปว่า สวยกราก เช่น ข้าวสวยกราก ถั่วสวยกราก, แข็งอย่างผ้าลาย ที่ยังไม่ได้ซักหรือผ้าที่ลงแป้งจนแข็ง; เสียงอย่างเสียงลากกิ่งไม้.
กรีดเล็บ : ก. อาการที่ใช้เล็บเก็บสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีท่างาม เช่น กรีดเล็บเก็บพวงสุมาลี นารีขับเพลงวังเวงใจ. (เงาะป่า).
กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
กรุ ๒ : [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ.
กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
กลบ : [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ใช้เนื้อ, ทดแทน, เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย. (กฎ. ราชบุรี), กลบลบ ก็ว่าเช่น หักกลบลบหนี้.
กลอก : [กฺลอก] ก. เคลื่อนหรือขยับเขยื้อนกลับไปกลับมา ภายในเขตของสิ่งนั้น ๆ เช่น กลอกตา กลอกหน้า, ทําให้มีอาการเช่นนั้น เช่น กลอกน้ำร้อนในถ้วยเพื่อให้เย็น.
กล่อง : [กฺล่อง] น. ภาชนะใส่สิ่งของรูปกลมหรือเหลี่ยมมีฝาปิด, สิ่งที่ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กล่องไม้ขีดไฟ, กลักไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
กล้องปริทรรศน์ : [ปะริทัด] น. กล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีที่กำบังขวางกั้น หรือใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตา ผู้มอง เช่น กล้องเรือดำน้ำ, กล้องตาเรือ ก็เรียก. (อ. periscope).
กลัก : [กฺลัก] น. สิ่งที่ทําเป็นรูปคล้ายกระบอกสําหรับบรรจุของ เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ, ซองยาสูบทําด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทําเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
กลัด : [กฺลัด] น. สวะที่ติดขวางคลองแน่นอยู่. ก. เสียบขัดไว้ให้อยู่ด้วยของแหลม เช่น กลัดไม้กลัด กลัดเข็มกลัด; โดยปริยายเรียกอาการที่สิ่งบางอย่างคั่งอยู่ข้างใน เช่น กลัดหนอง.
กลั่น : [กฺลั่น] ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สําคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นน้ำ, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.
กลั้น : [กฺลั้น] ก. บังคับความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่ภายใน ร่างกายไม่ให้แสดงออกหรือหลุดออกมา.
กลั่นกรอง : ก. คัดเลือกเอาแต่สิ่งที่เห็นว่าดีที่สุด, พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ.
กลัว : [กฺลัว] ก. รู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว เช่น กลัวบาป กลัวถูกติเตียน, รู้สึกหวาดเพราะคาดว่าจะประสบภัย เช่น กลัวเสือ กลัวไฟไหม้.
กลิ่น ๑ : [กฺลิ่น] น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น ของสิ่งนั้นมีกลิ่น.
กลี : [กะลี] น. สิ่งร้าย, โทษ; เรียกโรคห่าที่เป็นแก่สัตว์เลี้ยงเช่นเป็ด ไก่ วัว ควาย; ด้านของลูกสกาที่มีแต้มเดียว คือมีแต่ทางแพ้; ชื่อผีร้ายหรือผีการพนันตามคติของพราหมณ์. ว. ร้าย, ไม่เป็นมงคล, มักใช้ว่า กาลี. (ป., ส. กลิ).
กลืน : [กฺลืน] ก. อาการที่ทําให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลําคอ ลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทําให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สําแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
กลุ่ม : [กฺลุ่ม] น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นหมู่ ๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน เช่น กลุ่มคน กลุ่มมด กลุ่มดาว กลุ่มด้าย; อาการที่เข้ามารวมกันเช่นนี้ เรียกว่า จับกลุ่ม; ลักษณนามเรียก ของที่เป็นกลุ่ม เช่น ด้าย ๓ กลุ่ม.
กเลวระ : [กะเลวะระ] (แบบ) น. ซากศพ เช่น ถึงกระนั้นก็จะพบพานซึ่ง กเลวระร่าง มิเลือดก็เนื้อจะเหลืออยู่บ้างสักสิ่งอัน. (ม. ร่ายยาว มัทรี), ใช้ว่า กเฬวราก ก็มี. (ป., ส.).
กวัก ๒ : [กฺวัก] ก. อาการที่ใช้สิ่งแบน ๆ พุ้ยเข้าหาตัว, ใช้มือทําอาการเช่นนั้น เพื่อเป็นสัญญาณให้เข้ามาหา เรียกว่า กวักมือ, อาการที่นกใช้ปีกพุ้ย อากาศบินไป เรียกว่า นกกวักปีก.
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กวาด : [กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน; เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กษัยการ : [กะไสยะกาน] น. การที่สิ่งต่าง ๆ ค่อยผุพังและแพร่สะพัด หรือกระจัดกระจายไปเพราะพลังลมพลังน้ำ หรือปฏิกิริยาเคมี. (อ. erosion).
กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
กองกลาง : น. สิ่งที่กันไว้เป็นส่วนรวม หรือเป็นสาธารณะ.
กองเกียรติยศ : น. กองทหารหรือตํารวจเป็นต้น ที่จัดขึ้นเพื่อให้ เป็นเกียรติแก่ประมุขของประเทศ บุคคลสําคัญ ศพทหารตํารวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น ธงชัยเฉลิมพล.
กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
ก้อน : น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
กะรุน : น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมีสิ่งอื่นผสมอยู่ทําให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม ถ้าเป็นสีน้ำเงิน เรียกว่า พลอยสีน้ำเงิน ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่อง หรือ เขียวมรกต, อินเดีย เรียก คอรุน. (อ. corundum).
กะไหล่ : น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบน โลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทอง ด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).
กังหัน : น. สิ่งที่ประกอบด้วยใบพัดหมุนได้ด้วยกําลังลม, จังหัน ก็ว่า, โดยปริยายเรียกเครื่องหมุนบางชนิดมีรูปทํานองกังหัน ทําให้เกิดกําลังงาน เช่น กังหันน้ำ คือเครื่องหมุนด้วยกําลังน้ำ, กังหันลม คือเครื่องหมุนด้วยกําลังลม, กังหันไอน้ำ คือเครื่องหมุน ด้วยกําลังไอน้ำ; (วิทยา) ใช้เรียกเครื่องจักรที่หมุนอย่างกังหัน; ชื่อดอกไม้ไฟชนิดที่จุดแล้วหมุนอย่างกังหัน, ลักษณนามว่าต้น. (ข. กงฺหาร).
กัจฉปะ : [กัดฉะปะ] (แบบ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
กัณฑ์เทศน์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า; เรียกการเอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือ สิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ว่า ติดกัณฑ์เทศน์.
กัด ๑ : ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสียจนไม่มี ชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทําให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือจับปลาทะเลชนิดอวน.
กั้น : ก. กีดขวางหรือทําสิ่งกีดขวางเพื่อบัง คั่น หรือกันไว้ไม่ให้เข้ามา เช่น กั้นกลด ภูเขากั้นเขตแดน กั้นถนน.
กัน ๓ : ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่าย ในสิ่งที่จําเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ ป้องกันและล้อมทัพ, ช้างดั้ง ก็เรียก, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวน เสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ ว่า เรือกัน.
กันต์ : ก. ตัด, โกน, เช่น เกศากันต์ (ตัดผม, โกนผม); ยินดี, พอใจ, เช่น สุนทรกันต์ มุทุกันต์. ว. น่าใคร่, น่าพอใจ, งดงาม, เช่น กันตาภิรมย์ หมายถึง ยินดียิ่งในสิ่งที่น่าพอใจ.
กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
กัลป-, กัลป์ : [กันละปะ-, กัน] น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑,๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะ ไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ส.; ป. กปฺป).
กัลปนา : [กันละปะนา] ก. เจาะจงให้. น. ที่ดินหรือสิ่งอื่นเช่นอาคารซึ่งเจ้าของ อุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา; ส่วนบุญที่ผู้ทําอุทิศให้แก่ผู้ตาย. (ส.; ป. กปฺปนา).
กัลเม็ด : [กันละ-] น. กลเม็ด, วิธีที่แยบคาย, สิ่งที่แยบคาย; แหวนที่มีก้านหัวเป็นเกลียวถอดออกจากเรือนได้ เรียกว่า แหวนกัลเม็ด, ขวดที่มีจุกเป็นเกลียวเรียกว่า ขวดกัลเม็ด.
กาก : น. สิ่งที่เหลือเมื่อคั้นหรือคัดเอาส่วนดีออกแล้ว เช่น กากมะพร้าว; หยากเยื่อ; เดนเลือก (ใช้เป็นคําด่า) เช่น กากมนุษย์ คนกาก.