Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ลักษณะเด่น, ลักษณะ, เด่น , then ดน, เด่น, ลกษณ, ลกษณดน, ลักษณะ, ลักษณะเด่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ลักษณะเด่น, 1405 found, display 1301-1350
  1. หุ้ม : ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นโอบคลุมอีกสิ่งหนึ่ง, อาการที่สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่น กาบหรือเปลือกเป็นต้น โอบคลุมของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น หนังหุ้มกระดูก กาบกล้วยหุ้มหยวกเปลือกหุ้มกระพี้ รองเท้าหุ้มส้น.
  2. หุ้มแผลง : [-แผฺลง] น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือ แผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟัน ประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน.
  3. หูกะพง : น. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก (?) ใช้ผูก ตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น.
  4. หูดับตับไหม้ : ว. ลักษณะเสียงที่ดังมากจนกลบเสียงอื่น.
  5. หูหาเรื่อง : (สำ) น. หูที่รับฟังแล้วตีความไปอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะไป ในทางที่ไม่ดี.
  6. เหน่ง ๑ : [เหฺน่ง] ว. มีลักษณะใสเป็นมัน (มักใช้แก่ศีรษะโล้นหรือล้าน) เช่น หัวล้าน เหน่ง โกนหัวจนใสเหน่ง.
  7. เหนอะ, เหนอะหนะ : [เหฺนอะ-] ว. มีลักษณะเหนียวติดมือ เช่น ข้าวติดมือเหนียวเหนอะหนะ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เหงื่อไหล จนรู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะไปหมด.
  8. เหนียว : [เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียว ตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำ ตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อ ออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขา เป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็น อาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.
  9. เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
  10. เหมวดี : [เหมะวะดี] น. ขัณฑสกร มีลักษณะคล้ายนํ้าตาลกรวด รสหวาน ใช้ทํา ยาไทย.
  11. เหรียญ : น. โลหะที่มีลักษณะกลมแบนหรือรูปเหลี่ยมเป็นต้น มีภาพนูนหรือตัว อักษรอยู่บนพื้น เช่น เหรียญกระษาปณ์ เหรียญความดีความชอบ เหรียญที่ระลึก.
  12. เหล็ก : น. ธาตุลําดับที่ ๒๖ สัญลักษณ์ Fe เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เป็นเงาคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๓๖?ซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทําเหล็กหล่อ เหล็กพืด เหล็กกล้า. (อ. iron). ว. แข็งแกร่ง เช่น บุรุษเหล็ก.
  13. เหล็กเส้น : น. เหล็กที่ทําเป็นเส้น มักมีลักษณะกลม.
  14. เหล่า : [เหฺล่า] น. พวก, ก๊ก, เช่น เหล่ามนุษย์ เหล่าสัตว์ เหล่าอันธพาล, กําลังพล ของทหารซึ่งประกอบกับคําอื่นมีลักษณะเฉพาะของงาน เช่น เหล่าทหาร ปืนใหญ่ เหล่าทหารราบ; (ถิ่น-อีสาน) ที่ซึ่งเคยเพาะปลูกแล้วทิ้งให้ร้าง, (ถิ่น-พายัพ) ป่าละเมาะ. ว. ใช้ประกอบกับคำนามแสดงว่ามีจำนวนมาก เช่น คนเหล่านี้ ของเหล่านั้น.
  15. เหลียวหลัง : น. เรียกสร้อยที่มีลักษณะบิดเป็นเกลียวว่า สร้อยเหลียวหลัง. ก. เหลียวดูด้วยความสนใจหรือด้วยความอาลัยอาวรณ์เป็นต้น.
  16. เหลือบ ๑ : [เหฺลือบ] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมี ลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ตาโต ตัวผู้ตาชิดกัน ตัวเมียตาห่าง ปากมี อวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีดตัดเนื้อให้ขาด และมีอวัยวะเป็นท่อดูด ของเหลวกินได้ ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. ว. สีเลื่อมพรายเวลากระทบแสงเป็นหลายสี คล้ายสีตัวเหลือบ.
  17. แหบ : ว. ลักษณะของเสียงที่แห้งไม่แจ่มใส, เรียกชื่อของกลุ่มเสียงที่บีบให้สูง เป็นพิเศษของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า โดยเฉพาะปี่ในว่า เสียงแหบ.
  18. แหลน : [แหฺลน] น. เครื่องมือใช้แทงปลาเป็นต้น ทําด้วยเหล็กกลมยาว ปลายแหลม มีด้ามยาว; ชื่อเครื่องกีฬาชนิดหนึ่ง มีลักษณะกลมยาว ปลายแหลม ใช้พุ่ง ในการแข่งขันกรีฑาประเภทลาน.
  19. แหว : [แหฺว] ว. ลักษณะของเสียงดังที่แสดงอาการดุ. ก. แผดเสียงดุ.
  20. แหวน : [แหฺวน] น. เครื่องประดับสําหรับสวมนิ้วทําด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, เรียก สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นวงว่า วงแหวน เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
  21. โหมโรง : น. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการ บรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.
  22. โหยหวน : ว. ลักษณะของเสียงที่คร่ำครวญด้วยความเสียใจหรือเจ็บปวด เป็นต้น ทำให้รู้สึกวังเวงใจ.
  23. โหลงโจ้ง : [โหฺลง-] (ปาก) ว. ลักษณะที่มีแต่นํ้าเป็นส่วนใหญ่ แทบไม่มีเนื้อเลย เช่น แกงมีแต่นํ้าโหลงโจ้ง.
  24. ไหมสับปะรด : น. เส้นด้ายที่ได้จากใยของพรรณไม้บางชนิดที่มีลักษณะ อย่างใยสับปะรด, เรียกหมวกที่สานด้วยไหมอย่างนี้ว่า หมวกไหมสับปะรด.
  25. อกไก่ ๑ : น. เรียกอกคนที่มีลักษณะนูนยื่นออกมาอย่างอกของไก่; ชื่อลวดบัวแบบหนึ่ง มีลักษณะนูนเป็นสันขึ้นอย่างอกของไก่ เรียกว่า บัวอกไก่.
  26. อกเต่า : ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนแฟบอย่างอกของเต่า.
  27. อกแตก : ว. ลักษณะของเมืองหรือวัดเป็นต้นซึ่งมีลํานํ้าหรือทางผ่า กลาง เรียกว่า เมืองอกแตก วัดอกแตก; อาการของคนที่เก็บความ รู้สึกอัดอั้นตันใจไว้จนทนไม่ไหว. อ. คําพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจ เป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า.
  28. อกโรย : ว. อาการของคนที่มีลักษณะผอมจนเห็นกระดูกอก.
  29. องควิทยา : [องคะ] น. ความรู้เรื่องลักษณะดีชั่วปรากฏตามร่างกาย. (ส.; ป. องฺควิชฺชา).
  30. องอาจ : ว. มีลักษณะสง่าผึ่งผาย, อาจอง ก็ว่า.
  31. อเนกรรถประโยค : [อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยค โดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.
  32. อปลักษณ์, อัปลักษณ์ : [อะปะ, อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะ ที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น หน้าตาอปลักษณ์, รูปร่างอัปลักษณ์. (ส.; ป. อปลกฺขณ).
  33. อรรธจันทร์ : [อัดทะจัน] น. พระจันทร์ครึ่งซีก; ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สําหรับดูการแสดง มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขาย หรือก้าวขึ้นลงทําเป็นขั้น ๆ, อัฒจันทร์ ก็ว่า.
  34. อล่างฉ่าง : [อะหฺล่าง] ว. ที่เห็นจะแจ้ง, ที่เห็นเต็มที่, ที่เห็นเด่น, ที่เปิดเผย.
  35. อลึ่งฉึ่ง : [อะหฺลึ่ง] ว. อาการที่บวมเป่งเห็นได้ชัด เช่น หน้าบวมอลึ่งฉึ่ง; เรียกลักษณะของซากศพที่ขึ้นเต็มที่ว่า ขึ้นอลึ่งฉึ่ง, โดยปริยายเรียก อาการที่คนอ้วนมากนอนหงายหรือนั่งตามสบายว่า นอนอลึ่งฉึ่ง นั่งอลึ่งฉึ่ง.
  36. อวนรุน : น. อวนที่มีลักษณะคล้ายถุง ปากอวนประกอบกับคันรุน ติดตั้งบริเวณหัวเรือ รุนเคลื่อนที่ไปพร้อมกับเรืออย่างต่อเนื่อง เพื่อ ให้สัตว์น้ำที่อยู่ด้านหน้าปากอวนเข้ามาติดอยู่ที่ก้นถุงอวน ใช้ทำการ ประมงในระดับน้ำลึกไม่เกิน ๑๕ เมตร.
  37. อสังหาริมทรัพย์ : น. ทรัพย์ที่นําไปไม่ได้ คือ ทรัพย์ที่ติดกับที่ เช่น ที่ดิน; (กฎ) ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการ ถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวม ถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือ ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย, คู่กับ สังหาริมทรัพย์.
  38. อสีตยานุพยัญชนะ : [อะสีตะยานุพะยันชะนะ] น. ลักษณะน้อย ๆ ในร่างกายของผู้ที่เป็น พระมหาบุรุษมี ๘๐ อย่าง คือ ผู้ที่จะเป็นพระมหาบุรุษต้องสมบูรณ์ ด้วยลักษณะสําคัญ ๓๒ อย่าง ซึ่งเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ มีรอย พระบาทเป็นลายรูปจักรและอื่น ๆ ตามแบบเป็นต้น และสมบูรณ์ ด้วยอสีตยานุพยัญชนะ. (ป.).
  39. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  40. อ่อนช้อย : ว. มีกิริยาท่าทางงดงามละมุนละไม, มีลักษณะงอนงาม, มีลักษณะงอนขึ้นอย่างลายกระหนก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  41. ออสเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๖ สัญลักษณ์ Os เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๐๐?ซ. เนื้อแข็งมาก ใช้ประโยชน์นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. osmium).
  42. อะเซทิลีน : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C2H2 ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี เป็นพิษ จุดไฟติด ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นนําไปจุดกับ แก๊สออกซิเจนได้เปลวไฟออกซิอะเซทิลีนซึ่งร้อนจัดจนใช้เชื่อม และตัดโลหะได้ ใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อสังเคราะห์สารอื่นได้มากมาย. (อ. acetylene).
  43. อะร้าอร่าม ๒ : ว. ลักษณะการแต่งกายที่มีเครื่องประดับเต็มไปทั้งตัว; ใหญ่ผิด ปรกติ (มักใช้แก่หน้าอกผู้หญิง).
  44. อะลูมิเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๓ สัญลักษณ์ Al เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว คล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๖๖๐?ซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น นําไป ผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะเจือ ใช้ทําเครื่องครัว. (อ. aluminium).
  45. อัญประกาศ : [อันยะ] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ '' '' สําหรับเขียนคร่อมคํา หรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคําพูด หรือเพื่อเน้นความนั้น ให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.
  46. อัฒจันทร์ : น. ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สําหรับดูการแสดงมีลักษณะเป็นรูป ครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขายหรือก้าวขึ้นลงทําเป็นขั้น ๆ, อรรธจันทร์ ก็ว่า.
  47. อัด ๒ : ว. ตรง, เต็ม, ตรงแบน, (ใช้แก่ลักษณะด้านหน้า) เช่น หน้าอัด สิงห์อัด.
  48. อัตภาพ : น. ตน, ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล. (ป. อตฺตภาว).
  49. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  50. อับ ๒ : ว. ไม่มีลมเข้าออก, ไม่โปร่ง, เช่น อากาศอับ, ไม่เคลื่อนไหว เช่น ลมอับ; ไม่มีตาไป (ใช้แก่หมากรุก); โง่ เช่น ปัญญาอับ; ถึงที่อับจน, ถึงคราวชะตาตก, เช่น ตกอับ; มัวหมอง เช่น อับเศร้าหมองศรี; มืด เช่น อับทิศ คือ มืดทุกทิศ; อาการที่นกเขาซึ่งเคยขันแล้วกลับไม่ขัน; ลักษณะของกลิ่นซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่มีอากาศผ่าน เช่น เหม็นอับ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1405

(0.1138 sec)