Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ่งลวงตา, ลวงตา, สิ่ง , then ลวงตา, สง, สงลวงตา, สิ่ง, สิ่งลวงตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ่งลวงตา, 1407 found, display 1001-1050
  1. ลักษณนาม : (ไว) น. คํานามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น คน ๓ คน แมว ๒ ตัว ขลุ่ย ๓ เลา ลูกคนโต หมวกใบใหญ่.
  2. ลัง ๑ : น. ภาชนะต่อด้วยไม้หรือสานเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายหีบ สําหรับ บรรจุสิ่งของ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลังพลาสติก ลังกระดาษ.
  3. ลัดเลาะ : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินลัดเลาะไปตามตลิ่ง ขี่ม้า ลัดเลาะไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางลัดเลาะหลบข้าศึก, เลาะลัด ก็ว่า.
  4. ลับ ๒ : ว. ที่อยู่ในที่พ้นตา, ที่อยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็น, เช่น ที่ลับ ประตูลับ หายลับ, ที่ปกปิดหรือควรปกปิด เช่น ความลับ หนังสือลับ ห้องลับ, มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังอยู่ เช่น ของอยู่ลับฝา พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขา.
  5. ล่าง : ว. อยู่ในที่หรือฐานะตํ่ากว่าสิ่งที่อ้างถึง, ถัดไปข้างใต้ เช่น พื้นล่าง ชั้นล่าง ข้างล่าง อยู่ล่าง.
  6. ล้าง : ก. ทําให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธี ต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชําระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู, โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร สงคราม ล้างชาติ.
  7. ลาง ๑ : น. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย เช่น ผึ้งทำรังทางทิศตะวันออกของอาคารเชื่อกันว่าเป็นลางดี แมงมุม ตีอกเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย.
  8. ลาง ๔ : ว. ต่าง, แต่ละ, บาง, เช่น ลางคน ลางสิ่งลางอย่าง.
  9. ลางเนื้อชอบลางยา : น. ยาอย่างเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับ อีกคนหนึ่ง; (สํา) ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีก คนหนึ่ง.
  10. ลาช, ลาชะ, ลาชา : [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  11. ลาด : ก. ปูแผ่ออกไป เช่น ลาดพรม ปูลาดอาสนะ, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนลาดยาง. ว. เทตํ่าหรือ เอียงขึ้นน้อย ๆ เช่น ที่ลาด.
  12. ล้าน ๒ : ว. ลักษณะของหัวที่ไม่มีผมมาแต่กำเนิดหรือผมร่วงแล้วไม่ขึ้นอีก, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ภูเขาหัวล้าน.
  13. ลาภ : [ลาบ] น. สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด. (ป., ส. ลาภ ว่า ของที่ได้, การได้, กําไร).
  14. ลาภลอย : น. สิ่งที่ได้มาโดยไม่คาดคิด.
  15. ลามปาม : ว. ต่อเนื่องไปถึงสิ่งอื่นหรือคนอื่นด้วย เช่น ด่าลามปาม ไปถึงบุพการี, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น ซึ่ง แสดงว่าไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง เช่น พูดจาลามปาม แสดงกิริยาลามปาม ผู้ใหญ่.
  16. ลาย ๑ : น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็น สําคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลาย เทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกํามะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะสําคัญของตน เช่น ทิ้งลาย ไว้ลาย. ว. เป็นแนว ยาว ๆ เช่น ลายพาดกลอน, เป็นแผลยาว ๆ เช่น หลังลาย, เป็น จุด ๆ เป็นแต้ม ๆ เป็นดวง ๆ หรือเป็นเส้น ๆ เช่น หน้าลาย ท้องลาย; เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มี ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทํา เป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
  17. ลำ ๑ : น. ตัวของคน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ไม่นับส่วนที่เป็นแขนขาหรือกิ่งก้าน เช่น ลําตัว ลําต้น, เรียกสิ่งที่ยาวกลมหรือมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลําแขน ลําคอ ลําอ้อย ลํานํ้า, ลักษณนามเรียกสิ่งเช่นนั้นหรือเรือ เช่น ไม้ไผ่ลําหนึ่ง อ้อย ๒ ลํา เรือ ๓ ลํา; ชั้นเชิง เช่น หักลำ.
  18. ลำกล้อง : น. ส่วนของปืนที่มีลักษณะยาวกลวง, เรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลํากล้องกล้องโทรทรรศน์.
  19. ลำพู่กัน : น. เรียกสิ่งที่ปรากฏเป็นลําขาวไปในท้องฟ้าเวลาเช้าหรือ เย็นถือว่าเป็นลางบอกเหตุ.
  20. ลำโพง ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Datura metel L. ในวงศ์ Solanaceae ผลมีหนาม เมล็ดกินเมา, พันธุ์ดอกซ้อนเรียก ลําโพงกาสลัก (D. metel L. var. fastuosa Safford); เรียกสิ่งซึ่งมีรูปคล้ายดอกลําโพง เช่นเครื่องช่วย ขยายเสียงที่มีลักษณะปากบานเหมือนดอกลำโพง.
  21. ลิงได้แก้ว : (สำ) น. ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่, วานรได้แก้ว ก็ว่า.
  22. ลิ้น : น. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลง ในลําคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวก เช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้; โดย ปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่ เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่อง อาหาร; อุปกรณ์สําหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด, ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.
  23. ลิ่ม : น. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นที่มีสันหนาปลายบาง สําหรับจีมหรือขัด ให้แน่น หรือตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อให้แตก แยกออกจากกัน, ไม้ขัดบานประตูหน้าต่างซึ่งมีลักษณะคล้ายลิ่ม, เรียกเงินหรือทองที่หลอมเป็นแท่งตามที่ต้องการเพื่อเก็บรักษาไว้ว่า เงินลิ่ม ทองลิ่ม, เรียกอาการที่เลือดไหลออกมาแข็งตัวเป็นก้อน ๆ ว่า เลือดออกเป็นลิ่ม ๆ.
  24. ลีกเวลา : ก. เจียดเวลาเพื่อมาทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกเหนือจากงาน ที่ทําอยู่.
  25. ลืมตน : ก. ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, ลืมนึกถึงฐานะของตน ไปชั่วคราว, เช่น ได้ดีแล้วอย่าลืมตน; ลืมนึกถึงความจริงประการหนึ่ง ของโลกที่ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงอาจแปรเปลี่ยนได้ เช่น เหลิง อำนาจจนลืมตน.
  26. ลืมหูลืมตา : ก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.
  27. ลุล่วง : ก. สำเร็จ (ในสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามบ้าง) เช่น โครงการนี้ ลุล่วงไปด้วยดี.
  28. ลุโสดา : ก. บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน; (ปาก) หมดกิเลส, รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ฉันยังไม่ลุโสดานี่; บรรลุโสดา ก็ว่า.
  29. ลู่ ๒ : ก. เอนราบเป็นแนวไป ด้วยมีสิ่งอื่นบังคับให้เป็นเช่นนั้น เช่น ต้นสนลู่ไปตามลม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมของเขาพอถูกฝนก็ลู่ลงมาหมด.
  30. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  31. ลูกกรง : น. สิ่งซึ่งเรียงกันเป็นซี่ ๆ ของกรงหรือที่คุมขัง; สิ่งที่เป็น ลูกตั้งสําหรับราวบันไดและสะพานเป็นต้น เช่น ลูกกรงบันได ลูกกรงสะพาน ลูกกรงระเบียง.
  32. ลูกกลิ้ง : น. เหล็กหรือวัสดุอื่นที่มีนํ้าหนักมากใช้ลากให้กลิ้งทับดิน ให้ราบ, เรียกสิ่งที่กลิ้งไปได้เพื่อประโยชน์ในการต่าง ๆ ว่า ลูกกลิ้ง เช่น ลูกกลิ้งของช่างตัดเสื้อ.
  33. ลูกแก้ว : น.เรียกสิ่งที่กลึงเป็นรูปกลม ๆ ตามหัวเม็ดและขาโต๊ะ เป็นต้น, ลูกกลม ๆ ทำด้วยแก้ว คล้ายลูกหิน แต่เล็กกว่า, ลูกกลม ทำด้วยแก้ว มีขนาดต่าง ๆ กัน หมอดูใช้ในการทำนายโชคชะตา; ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้วลูกขวัญ หรือ ลูกขวัญ ก็เรียก.
  34. ลูกโกลน : [–โกฺลน] น. สิ่งที่ใช้ต่างลูกกลิ้งวางเป็นระยะ ๆ ไป เพื่อ รองรับสิ่งที่หนักหรือใหญ่โตให้เคลื่อนย้ายชะลอไปได้สะดวก.
  35. ลูกตุ้ม : น. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สําหรับเป็น อาวุธ หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสําหรับชั่งของ เพื่อคิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับ เวลา; ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า; โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย; ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วง ความเจริญเสียอีก.
  36. ลูกเต๋า : น. ลูกเหลี่ยมมี ๖ หน้า แต่ละหน้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีแต้ม ใช้ในการเล่นพนันมีลูกเต๋า สกา และไฮโล เป็นต้น, โดยปริยายใช้ เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ขนมเปี๊ยะลูกเต๋า.
  37. ลูกทุ่ง : น. ลูกป่า; ผู้ที่ทำมาหากินอยู่ตามท้องทุ่ง; ลูกสัตว์ที่เกิดใน ท้องทุ่ง; เรียกเหล้าเถื่อนว่า เหล้าลูกทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นิยายลูกทุ่ง ภาษาลูกทุ่ง. ว. เรียก เพลงชนิดที่คนในชนบทนิยมว่า เพลงลูกทุ่ง.
  38. ลูกเมียน้อย : น. ลูกของเมียน้อยซึ่งมีสิทธิ์ด้อยกว่าลูกของเมียหลวง, โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะไม่เทียมหน้าเทียมตาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่ มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บางคนบ่นว่าสถาบันของตนเป็น ลูกเมียน้อย.
  39. ลูกเมียหลวง : น. ลูกของเมียหลวงซึ่งมีสิทธิ์มากกว่าลูกของเมียน้อย, โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะเหนือกว่าผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลายคนมองว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เป็น ลูกเมียหลวง.
  40. ลูกไม้ ๒ : น. สิ่งที่ทำด้วยด้ายโดยใช้เข็มควักเป็นต้นควักหรือถักให้เป็น ลวดลายต่าง ๆ.
  41. ลูกยุ : น. ลมปากที่ยุให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักเป็นไปในทางไม่ดี.
  42. ลูกระเบิด : น. สิ่งที่มีรูปร่างต่าง ๆ บรรจุดินระเบิดหรือสารเคมี บางอย่าง เมื่อเกิดการระเบิด บางชนิดมีอำนาจในการทำลาย เช่น ลูกระเบิดทำลาย ลูกระเบิดสังหาร บางชนิดก่อให้เกิดไฟไหม้ เช่น ลูกระเบิดเพลิง บางชนิดก่อให้เกิดอาการระคายเคืองแก่เยื่อตา เช่น ลูกระเบิดน้ำตา.
  43. ลูกรุ่ย : น. แก้วเป็นต้นที่ทําเป็นแท่งยาว ๆ คล้ายผลต้นรุ่ยสําหรับ ห้อยเป็นระย้า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกรุ่ยชายผ้าม่าน.
  44. ลูกลม : ๑ น. สิ่งคล้ายตะกร้อ สานด้วยตอกบาง ๆ เป็นต้น ใช้ปัก ปลายไม้เพื่อให้หมุนดูทางลม.
  45. ลูกล้อ : ๑ น. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสําหรับหมุนเคลื่อนพารถไป, ล้อ ก็ว่า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่เป็นวงกลมคล้ายลูกล้อเช่นขอบกระด้ง สําหรับเด็กตีเล่น.
  46. ลูกหลง : น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้าง อยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่น ซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับ เคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มี เจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไป หมอบกับพื้นเวที.
  47. ลูกหีบ : น. เครื่องหีบอ้อยรูปกลมเป็นเฟืองอย่างเครื่องจักร; สิ่งซึ่ง มีลักษณะคล้ายหีบใช้สําหรับรองก้าวขึ้นก้าวลงอย่างขั้นบันได.
  48. เลขลำดับ : น. จํานวนนับที่บอกรหัสหรือตําแหน่งที่ของสิ่งที่จัดเรียง กันอย่างมีระบบ เช่น บ้านเลขที่ ๑๕๐ รถประจําทางสาย ๖๒.
  49. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  50. เล่นกล : น. การแสดงที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริง, โดยปริยายหมาย ความว่า หลอกลวงเอา เช่น โดนคนเล่นกลเอาทองเก๊มาแลกกับ ทองจริง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.1164 sec)