Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 1001-1050
  1. ลมพิษ : น. ผื่นคันเป็นพิษเห่อขึ้นตามผิวหนัง. ลมเพลมพัด น. อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ มักเข้าใจกันว่า ถูกกระทํา.
  2. ล้มไม่ลง : ก. อาการที่ถูกฝ่ายตรงข้ามเตะซ้ายเตะขวาเลี้ยงไว้ไม่ให้ล้ม เช่น นายแดงถูกเตะล้มไม่ลง; หักล้างหรือโค่นผู้อื่นไม่สำเร็จ, โดย ปริยายหมายความว่า พยายามรักษาสถานภาพไว้ไม่ให้ซวดเซ เช่น ธนาคารล้มไม่ลง เพราะถ้าล้มประชาชนจะเดือดร้อน.
  3. ลมสว้าน : [–สะว่าน] ก. ลมแดกขึ้นอันเป็นอาการของไข้หนักจวน จะสิ้นใจ.
  4. ลมใส่ : (ปาก) ว. อาการที่รู้สึกว่าจะเป็นลมเนื่องจากตกใจหรือ ผิดหวังเป็นต้น เช่น เห็นผลสอบแล้วลมใส่.
  5. ลวกปาก, ลวกปากลวกคอ : ก. อาการที่กินของร้อนจัดทำให้รู้สึกว่า ปากแทบพองชั่วระยะหนึ่ง.
  6. ล่วงเกิน : ก. แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณี หรือจรรยามารยาทด้วยการลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท เป็นต้น เช่น ไม่ควรล่วงเกินพ่อแม่ด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
  7. ลอกแลก : ว. แสดงอาการหลุกหลิกเป็นต้น เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ตลอดเวลา ถือกันว่าเป็นกิริยาไม่สุภาพหรือบางทีก็ส่อพิรุธด้วย.
  8. ล่อง : น. ช่องตามพื้นที่ทําไว้สําหรับให้สิ่งของลอดลงได้. ก. ลงมาตามนํ้า เช่น ล่องเรือ ล่องแพ, ไปตามลม เช่น ล่องลม; โดยปริยายหมายความ ว่า ด้นดั้นไป เช่น ล่องป่า ล่องไพร. ว. อาการที่แล่นไปตามทางจาก เหนือลงใต้ เช่น รถล่อง ขาล่อง.
  9. ลอม : ก. รวมตะล่อมกันขึ้นไปให้เป็นจอม; อาการที่โค้งเข้าหากันเป็นวง เช่น ควายเขาลอม, รอม ก็ว่า. น. เรียกกองฟางกองข้าวเป็นต้นซึ่งมี ลักษณะเช่นนั้นว่า ลอมฟาง ลอมข้าว.
  10. ลอย ๆ : ว. ไม่เจาะจงผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น ด่าลอย ๆ; ไม่มีเหตุผล หรือหลักฐาน เช่น เขียนกฎขึ้นมาลอย ๆ พูดลอย ๆ ไม่มีที่อ้างอิง; อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียงไม่มีคำลงท้าย เช่น พูดลอย ๆ ไม่มีคะขา.
  11. ลอยหน้า, ลอยหน้าลอยตา : ก. ทำหน้าเชิดไปมา, โดยปริยาย หมายความว่า มีลักษณะอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทำผิด แล้วยังมาลอยหน้าเถียงอีก.
  12. ล้อหลอก : ก. ทำกิริยาอาการเย้าเล่น เช่น เด็กแลบลิ้นปลิ้นตาล้อ หลอกกัน, หลอกล้อ ก็ว่า.
  13. ละ ๑ : ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐาน ที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดย ใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ … หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมาย ดังนี้ – ''– แสดงว่ามีคําหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คําประกอบ คํานามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจํานวนรวม ซึ่งกําหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คําประกอบกริยาเพื่อ เน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
  14. ละครดึกดำบรรพ์ : น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการ ตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยา อาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และ ใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะ งดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
  15. ละม่อม : ว. สุภาพ, อ่อนโยน, (ใช้แก่กิริยาอาการที่เรียบร้อย งดงาม ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้าง), มักใช้เข้าคู่กับคํา ละมุน เป็น ละมุนละม่อม หมายความ ว่า อ่อนโยน นิ่มนวล; โดยไม่มีการขัดขืน (ใช้แก่การจับกุม) เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้โดยละม่อม.
  16. ละลาย : ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทําให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้า หรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลาย ในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีก อย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอน ละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายใน แก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
  17. ละล่ำละลัก : ก. อาการที่พูดไม่ได้เร็วอย่างใจกระอึกกระอักติด ๆ ขัด ๆ เพราะ เหนื่อย ตกใจ ดีใจ หรือรีบร้อน เป็นต้น.
  18. ละเลงเลือด : ว. อาการที่ต่อสู้กันจนเลือดออกมากเปรอะไปด้วยกัน เช่น ทั้ง ๒ ฝ่ายต่อสู้กันถึงขั้นละเลงเลือด.
  19. ละห้อย : ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสาร เห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือ คิดถึง เช่น หน้าละห้อย.
  20. ละห้อยละเหี่ย : ว. อาการที่อ่อนอกอ่อนใจเพราะผิดหวังหรือเหนื่อย มากเป็นต้น เช่น เดินละห้อยละเหี่ย.
  21. ลัก : ก. เอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ไปด้วยอาการซ่อนเร้น, ขโมย, เช่น ลักทรัพย์, แอบทำ, ลอบทำ, เช่น ลักกินขนมในห้องเรียน ลักสูบบุหรี่ในห้องน้ำ. ว. เว้นข้ามไปทำให้เสียระเบียบ เช่น รถไฟลักหลีก ทำให้รถ ๒ ขบวนชนกัน.
  22. ลักซ่อน : ก. อาการที่คล้ายมีอะไรบางอย่างมาทำให้มองไม่เห็น หรือหาไม่พบ เชื่อกันว่าถูกผีลักไปซ่อนหรือผีบังตา.
  23. ลักตา : ว. อาการที่จงใจลักเดินตัวหมากรุกให้ผิดตาเพื่อเอาเปรียบ คู่ต่อสู้ ในคำว่า เดินลักตา.
  24. ลักปิดลักเปิด : [ลักกะปิดลักกะเปิด] น. ชื่อโรคที่มีอาการเลือดออกตามไรฟันและ เหงือกน่วมเนื่องจากขาดวิตามินซี.
  25. ลัดเลาะ : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินลัดเลาะไปตามตลิ่ง ขี่ม้า ลัดเลาะไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางลัดเลาะหลบข้าศึก, เลาะลัด ก็ว่า.
  26. ลากเสียง : ก. อาการที่พูดยานคางในความว่า พูดลากเสียง.
  27. ลาด : ก. ปูแผ่ออกไป เช่น ลาดพรม ปูลาดอาสนะ, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนลาดยาง. ว. เทตํ่าหรือ เอียงขึ้นน้อย ๆ เช่น ที่ลาด.
  28. ลาน ๔ : ก. อาการที่ตาลายเพราะมีมากเหลือที่จะดูเหลือที่จะคิด เรียกว่า
  29. ลามปาม : ว. ต่อเนื่องไปถึงสิ่งอื่นหรือคนอื่นด้วย เช่น ด่าลามปาม ไปถึงบุพการี, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น ซึ่ง แสดงว่าไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง เช่น พูดจาลามปาม แสดงกิริยาลามปาม ผู้ใหญ่.
  30. ลามเลีย : ก. อาการที่เปลวไฟแลบลามไปที่อื่น.
  31. ลายตา : ก. อาการที่มองเห็นของจำนวนมาก ๆ หรือของที่มีแสงสี ต่าง ๆ จนทำให้ตาลายหรือพร่าไป เช่น มองเห็นแสงสีมาก ๆ จน ลายตา การประดับไฟตามท้องถนนในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ดูลายตาไปหมด.
  32. ลำพอง : ว. ฮึกห้าว, แสดงอาการหยิ่งยโส, เช่น ทำลำพอง ใจลำพอง.
  33. ลำเสา : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นลำยาว ไม่มีหัว เป็นไตแข็ง ทำให้ มีอาการอักเสบ เป็นไข้ ปวด อ่อนเพลีย มักขึ้นตามขาและหลัง.
  34. ลิ : ก. แตกบิ่นไปเล็กน้อย, อาการที่ของเป็นปุ่มเป็นแง่แตกบิ่นไปเล็กน้อย, เช่น พระกรรณพระพุทธรูปลิไปข้างหนึ่ง ขอบถ้วยลิไปนิดหนึ่ง.
  35. ลิง ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในอันดับ Primates ลักษณะ คล้ายคน แขนขายาว ตีนหน้าและตีนหลังใช้จับเกาะได้ มีทั้งชนิด ที่มีหาง เช่น วอก (Macaca mulatta) และชนิดที่ไม่มีหาง เช่น กอริลลา (Gorilla gorilla). ว. อาการที่แสดงกิริยาซุกซนอยู่ไม่สุข เช่น เด็กคนนี้ลิงเหลือเกิน.
  36. ลิ้นกระด้างคางแข็ง : ก. อาการลิ้นแข็งขยับขากรรไกรไม่ได้. (สำ) ว. ก้าวร้าวโต้เถียงไม่ลดละ เช่น ลิ้นกระด้างคางแข็งแกล้งว่าขาน. (ขุนช้างขุนแผน); มึนตึงไม่ยอมพูดจาโต้ตอบ.
  37. ลิ้นไก่สั้น : ว. อาการที่พูดอ้อแอ้หรือพูดไม่ชัดอย่างคนเมาเหล้าเป็นต้น.
  38. ลิ้นแข็ง : ว. อาการที่พูดออกสำเนียงได้ไม่ชัด, อาการที่พูดภาษาอื่น ให้ชัดได้ยาก.
  39. ลิ้นคับปาก : ว. อาการที่พูดไม่ชัดเหมือนดังลิ้นโตจนคับปาก.
  40. ลิ้นพัน : ว. อาการที่พูดเร็วรัวจนจับความไม่ได้.
  41. ลิ้นห้อย : ว. อาการที่เหน็ดเหนื่อยมากเปรียบเหมือนวิ่งมาไกล เหนื่อยจนลิ้นห้อย, อาการที่เหน็ดเหนื่อยเนื่องจากต้องทำงาน หนักมาก.
  42. ลิ้นอ่อน : ว. อาการที่พูดออกสำเนียงได้ชัดเจน, อาการที่พูดภาษา อื่นได้ง่าย.
  43. ลิ่ม : น. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นที่มีสันหนาปลายบาง สําหรับจีมหรือขัด ให้แน่น หรือตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อให้แตก แยกออกจากกัน, ไม้ขัดบานประตูหน้าต่างซึ่งมีลักษณะคล้ายลิ่ม, เรียกเงินหรือทองที่หลอมเป็นแท่งตามที่ต้องการเพื่อเก็บรักษาไว้ว่า เงินลิ่ม ทองลิ่ม, เรียกอาการที่เลือดไหลออกมาแข็งตัวเป็นก้อน ๆ ว่า เลือดออกเป็นลิ่ม ๆ.
  44. ลิ้ม : ก. ชิม, ลองรสดูด้วยลิ้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลิ้มรสความลําบาก.
  45. ลิ่ว ๒ : ว. อาการที่เห็นไกลลิบหรือสูงลิบ เช่น เรืออยู่ไกลลิ่ว ภูเขาสูงลิ่ว.
  46. ลี่ ๓ : ว. อาการที่ลู่เอนไปข้างหลัง, ไม่กาง, (ใช้แก่หูของหมาเป็นต้น) เช่น หมาหูลี่. ก. แล่น เช่น ขนานลี่ ว่า เรือแล่น.
  47. ลีบ : ว. แฟบเพราะไม่เจริญเติบโตตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น ข้าวลีบ เมล็ดลีบ; มีเนื้อไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เช่น ขาลีบ แขนลีบ; โดย ปริยายหมายความว่า อาการที่ห่อตัวให้เล็กลงเพราะกลัวหรือเพื่อ เข้าในที่แคบเป็นต้น เช่น กลัวจนตัวลีบ เบียดจนตัวลีบ.
  48. ลุกฮือ : ก. ไหม้โพลงขึ้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟไหม้พอมีลม พัดก็ลุกฮือ; อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่น ชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคน กลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน รัฐบาลที่กดขี่ประชาชน.
  49. ลุย : ก. เคลื่อนที่ฝ่าเรื่อยเข้าไป เช่น ลุยน้ำ ลุยโคลน ลุยไฟ ลุยป่า ขับรถ ลุยเข้าไปในฝูงคน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลุยงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด หัวหน้าสั่งลูกน้องลุยฝ่าย ตรงข้าม.
  50. ลุ่ยหู : ว. อาการที่แพ้อย่างไม่มีทางสู้ (เดิมใช้แก่ปลากัด คือ ฝ่ายแพ้ ถูกกัดหูเสียจนหมด).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.0711 sec)