Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 1051-1100
  1. ลู่ ๒ : ก. เอนราบเป็นแนวไป ด้วยมีสิ่งอื่นบังคับให้เป็นเช่นนั้น เช่น ต้นสนลู่ไปตามลม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมของเขาพอถูกฝนก็ลู่ลงมาหมด.
  2. ลูกติดพัน : ว. อาการที่เป็นไปต่อเนื่องโดยไม่เจตนาหรือยั้งไม่ทัน เช่น นักมวยเตะคู่ต่อสู้ที่กำลังล้มลงเป็นลูกติดพัน.
  3. ลูกระเบิด : น. สิ่งที่มีรูปร่างต่าง ๆ บรรจุดินระเบิดหรือสารเคมี บางอย่าง เมื่อเกิดการระเบิด บางชนิดมีอำนาจในการทำลาย เช่น ลูกระเบิดทำลาย ลูกระเบิดสังหาร บางชนิดก่อให้เกิดไฟไหม้ เช่น ลูกระเบิดเพลิง บางชนิดก่อให้เกิดอาการระคายเคืองแก่เยื่อตา เช่น ลูกระเบิดน้ำตา.
  4. ลู่เข้า : (แสง) ก. อาการที่ลำแสงผ่านเลนส์นูนไปแล้วจะเบนเข้า หากัน. (อ. convergent).
  5. ลูบอก : ก. อาการที่แสดงความตระหนกตกใจหรือแปลกใจมาก เป็นต้น เช่น พอรู้ว่าลูกสอบตกแม่ถึงกับลูบอก.
  6. ลู่ออก : (แสง) ก. อาการที่ลำแสงผ่านเลนส์เว้าไปแล้วจะถ่างออก จากกัน. (อ. divergent).
  7. เล็ง : ก. เพ่งมอง, จ้องตรงไป, หมาย, หมายเฉพาะ; (โหร) อาการที่ดาว พระเคราะห์ดวงหนึ่งอยู่ในเรือนตรงกันข้ามกับดาวพระเคราะห์ อีกดวงหนึ่งซึ่งอยู่ในเรือนที่ ๗ นับจากเรือนที่ตนอยู่.
  8. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  9. เล่นหาง : ว. เรียกลักษณะการเขียนหนังสือที่ตวัดปลายตัวอักษรให้ ยาวออกเกินปรกติว่า เขียนเล่นหาง; เรียกลักษณะท่าเต้นของการ เชิดสิงโตโดยม้วนตัวงับหางตัวเองว่า สิงโตเล่นหาง; อาการที่ว่าว ปักเป้าติดลมสะบัดหางพลิ้วไปมา.
  10. เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ : (สำ) ก. อาการที่หลบไปมาเพื่อไม่ให้พบ เช่น ลูกหนี้เล่นเอาเถิดเจ้าล่อกับเจ้าหนี้.
  11. เลศ : [เลด] น. การแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที, มักใช้เข้าคู่กับคํา นัย เป็น เลศนัย. (ส.; ป. เลส).
  12. เลศนัย : [เลดไน] น. การพูดหรือแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที เช่น พูดเป็นเลศนัย ขยิบตาให้รู้เป็นเลศนัยว่าให้หยุดพูด.
  13. เล่อ : ว. แสดงอาการมีหน้าตาผิดปรกติเพราะตกใจ ดีใจ หรือแปลกใจ, เซ่อซ่า, เร่อร่า กะเล่อกะล่า หรือ กะเร่อกะร่า ก็ว่า.
  14. เล่อล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเล่อล่า ผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเล่อล่าออกไปกลางถนนเลยถูก รถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเล่อล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูก จับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเล่อล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เร่อร่า ก็ว่า.
  15. เลาะลัด : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินเลาะลัดไปตามตลิ่ง ขี่ม้า เลาะลัดไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางเลาะลัดหลบข้าศึก, ลัดเลาะ ก็ว่า.
  16. เลินเล่อ : ก. ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทํา เช่น เด็กคนนี้ เลินเล่อ ทำกระเป๋าสตางค์หล่นหายโดยไม่รู้ตัว. ว. อาการที่ขาดความ ระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น นาย ก ทำงานเลินเล่อ มีข้อผิดพลาดมาก.
  17. เลีย : ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟ ที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือด ไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผม ตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยา ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้ง เลียขาเพื่อให้นายรัก.
  18. เลี่ยง : ก. ลักษณะอาการที่เบี่ยงออกไปจากทางหรือแนวเดิม เช่น คำนี้ไม่ สุภาพเลี่ยงไปใช้คำอื่น เจ้าหน้าที่ไม่ต้องการยิงให้ถูกผู้ประท้วงจึง ยิงเลี่ยงไปทางอื่น ขับรถเลี่ยงลงข้างทางเพื่อไม่ให้ชนวัวที่ยืนขวาง ถนน, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เลี่ยงงาน เลี่ยงกฎหมาย เลี่ยงภาษี เลี่ยงบาลี.
  19. เลี้ยงไข้ : ก. อาการที่หมอจงใจชะลอการรักษาโรคให้หายช้าเพื่อ จะเรียกค่ารักษาได้นาน ๆ.
  20. เลี้ยงความ : ก. อาการที่ทนายความของโจทก์และจำเลยสมคบกัน ถ่วงคดีความให้ล่าช้า โดยประสงค์ที่จะเรียกค่าใช้จ่ายในการว่าความ ที่ต้องยืดเยื้อออกไป.
  21. เลี้ยงตัว : ก. ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงชีพ หรือ เลี้ยง อาตมา ก็ว่า, ดำเนินงานพอให้กิจการดำรงอยู่ได้ เช่น กิจการพอ เลี้ยงตัวได้; อาการที่ประคองตัวให้ทรงอยู่บนสิ่งที่ล่อแหลมต่อการ พลั้งพลาดหรือบางทีอาจเป็นอันตราย เช่น เลี้ยงตัวบนเส้นลวด.
  22. เลี้ยงไฟ : ก. อาการที่คอยเติมเชื้อไฟไว้มิให้ไฟดับ.
  23. เลี้ยงไม่เชื่อง : ก. อาการของสัตว์บางชนิดเช่นนกกระจอกแม้จะเอา มาเลี้ยงอย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อง, โดยปริยายหมายความว่า เนรคุณ.
  24. เลียบเคียง, เลียบ ๆ เคียง ๆ : ก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการ กรายเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะ ขอยืมเงิน.
  25. เลื่อน : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับ บรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้ แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดยลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง; เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อน เวลาเดินทาง เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้น ไปกว่าเดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
  26. เลื่อนเปื้อน : ว. อาการที่พูดเลอะเทอะ เช่น พูดจาเลื่อนเปื้อน.
  27. เลื้อยเจื้อย : ว. อาการที่พูดยืดยาวแต่มีสาระน้อย, เรื่อยเจื้อย ก็ว่า.
  28. แล ๒ : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
  29. แล่น ๑ : ก. เคลื่อนไปด้วยเครื่องยนต์หรือแรงลมเป็นต้น เช่น รถยนต์แล่นเร็ว เรือใบแล่นช้า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สมองกำลังแล่น ความคิดไม่แล่น; เชื่อมถึงกัน เช่น นอกชานแล่น ถึงกัน. น. ชื่อวัยของเด็กถัดจากวัยจูง เรียกว่า วัยแล่น.
  30. แลบลิ้นปลิ้นตา : ก. แลบลิ้นและปลิ้นตาแสดงอาการล้อเลียน (มักใช้แก่เด็ก).
  31. แลบลิ้นหลอก : ก. แลบลิ้นแสดงอาการล้อเลียนหรือเยาะเย้ย.
  32. แล้วก็แล้วกันไป, แล้วกันไป : ว. อาการที่พูดขอร้องให้เลิกแล้วต่อกัน เช่น เหตุการณ์ก็ผ่านพ้นไปแล้ว เรื่องนี้ขอให้แล้วกันไป.
  33. แล้วก็แล้วไป : ว. อาการที่พูดปลอบใจหรือให้สติว่า เมื่อเหตุการณ์ สิ้นสุดหรือยุติลงแล้วก็ไม่ควรเก็บมาเป็นกังวลหรือรื้อฟื้นขึ้นมาอีก.
  34. โล้ : ก. แล่นไปตามคลื่น (สำหรับเรือสําเภา) (พจน. ๒๔๙๓), ทําให้เรือ เคลื่อนที่โดยอาการโยกแจวให้ปัดนํ้าไปมา. น. เรียกเรือต่อชนิดหนึ่ง ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสําหรับยืนโล้ไป ไม่มีหางเสือ ใช้ตามชายฝั่ง ทะเล ว่า เรือโล้.
  35. โล่งคอ : ก. อาการที่รู้สึกว่าลำคอปลอดโปร่งชุ่มชื่นเพราะดื่มน้ำชา หรือซดน้ำแกงร้อน ๆ เป็นต้น.
  36. โลดเต้น : ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหนเพราะความดีอกดีใจ เป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโดด เป็น กระโดดโลดเต้น.
  37. โลดลิ่ว : ก. อาการที่ไปอย่างเร่งรีบ.
  38. โลดแล่น : ก. อาการที่กระโดดวิ่งถลาไปด้วยความตื่นเต้นดีอกดีใจเป็นต้น.
  39. โลน ๑ : ว. อาการที่แสดงกิริยาวาจาหยาบคายไปในทางลามก, มักใช้เข้าคู่ กับคำ หยาบ เป็น หยาบโลน เช่น แสดงกิริยาโลน พูดจาหยาบโลน.
  40. โลน ๒ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กชนิด Pthirus pubis ในวงศ์ Pediculidae ตัวยาว ๑.๕–๒ มิลลิเมตร ลําตัวค่อนไปทางรูปไข่แบน สีขาว อมนํ้าตาลอ่อน ไม่มีปีก ปลายขางอแหลมเกือบเป็นง่ามเหมือน ก้ามปู อาศัยอยู่ตามบริเวณขนในที่ลับของคน กัดและดูดเลือด กินเป็นอาหาร ทําให้เกิดอาการคัน.
  41. โลม ๑ : ก. ทําอาการประคองลูบให้รู้สึกว่าเอ็นดูรักใคร่เป็นต้น. น. เรียกตัว หนังใหญ่ที่แสดงบทเข้าพระเข้านาง เช่น หนุมานเกี้ยวนางเบญกาย, หนังโลม ก็ว่า.
  42. วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  43. วอกแวก : ว. อาการที่จิตใจไม่จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เวลาฟัง ครูสอนมีสิ่งรบกวนทำให้จิตใจวอกแวก.
  44. วอน : (ปาก) ก. รนหาที่ เช่น วอนตาย; (วรรณ) ร่ำขอ, ขอด้วยอาการออด, เฝ้าร้องขอให้ทำตามประสงค์, เช่น คำนึงนุชนาฎเนื้อ นวลสมร แม้นแม่มาจักวอน พี่ชี้. (ตะเลงพ่าย).
  45. ว่อน : ว. อาการที่เคลื่อนไปในอากาศเป็นฝูงหรือเป็นจำนวนมาก เช่น แมลงบินว่อนกระดาษปลิวว่อน, อาการที่บินวนเวียนไปมา เช่น แมลงวันตัวนี้บินว่อนอยู่ในห้องนานแล้ว, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เดินกันว่อน ข่าวลือว่อน.
  46. ว็อบแว็บ, ว็อบ ๆ แว็บ ๆ : ว. อาการที่เห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้าง เช่น วันนี้โทรทัศน์ไม่ดี เห็นภาพ ว็อบแว็บหลายตอน.
  47. วัก ๑ : ก. เอาอุ้งมือตักน้ำหรือของเหลวขึ้นมาค่อนข้างเร็ว เช่น ใช้มือวักน้ำ กิน เอามือวักน้ำโคลนสาด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น วักควัน.
  48. วันทา : ก. ไหว้, แสดงอาการเคารพ. (ป. วนฺท).
  49. วับ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่าง ซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคําก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคําซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับ ไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
  50. วับ ๆ, วับวาบ, วับวาม, วับแวบ : ว. ระยับตา เป็นอาการของแสง หรือเงาที่ปรากฏแล้วหายลับไปทันทีทันใดต่อเนื่องกัน เช่น แสงเพชรเป็นประกายวับ ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | [1051-1100] | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.0705 sec)