Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 251-300
  1. คว้าง ๆ : ว. อาการที่ลอยหรือหมุนไปอย่างรวดเร็ว.
  2. คว้างเคว้ง : ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมและนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินคว้างเคว้งไม่รู้จะไปไหนดี, เคว้งคว้าง ก็ว่า.
  3. ความเครียด : น. (ฟิสิกส์) อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับ ขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain); ลักษณะอาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลาย เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป, ลักษณะอาการที่จิตใจมีอารมณ์ บางอย่างมากดดันความรู้สึกอย่างรุนแรง.
  4. ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
  5. ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  6. คว่ำ : [คฺวํ่า] ก. พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ; กิริยาที่เอาด้าน หน้าลง เช่น นอนคว่ำ, กิริยาที่เอาด้านบนลงล่าง เช่น คว่ำชาม, ตรงข้าม กับ หงาย; เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้า ขึ้นมองดูว่า หน้าคว่ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง พ่ายแพ้ เช่น คว่ำคู่ต่อสู้.
  7. คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
  8. ควิว ๆ : [คฺวิว–] (กลอน) ว. อาการที่ใจหวิว ๆ เช่น ควิวควิวอกควากคว้าง ลมลอยแลแม่. (นิ. นรินทร์).
  9. ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง : [-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจ รู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).
  10. คอแข็ง : ว. อาการที่นิ่งอั้นเพราะเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น; ทนต่อรสอันเข้ม หรือรุนแรงของเหล้าได้, ตรงข้ามกับ คออ่อน.
  11. คอตก : ว. อาการที่หัวงุดลงมาแสดงอาการผิดหวังเป็นต้น.
  12. คอตั้งบ่า : ว. อาการที่แหงนหน้าขึ้นสูง ๆ.
  13. คอพับ : น. เรียกเสื้อชั้นนอกที่คอพับลงมาว่า เสื้อคอพับ. ว. อาการที่ คอตกพับลงเพราะสิ้นกำลังทรงตัวเป็นต้น.
  14. คอหอยตีบ : ว. อาการที่รู้สึกตื้นตันใจพูดไม่ออก.
  15. คอแห้ง ๑ : ว. อาการที่คอไม่ชุ่มจนผากด้วยอยากดื่มน้ำเพราะต้องออกเสียงมาก หรือเพราะกระหายน้ำเนื่องจากเดินหรือวิ่งมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน.
  16. คออ่อนคอพับ : ว. อาการที่คอเอียงไปมาเพราะเมา ง่วง หรือเหนื่อย เป็นต้น.
  17. คะนอง : ก. แสดงอาการร่าเริง, คึก, ลําพอง; พูดหรือทําเกินขอบเขต เช่น คะนองปาก คะนองมือ; เรียกอาการของฟ้าที่มีเสียงลั่นเปรี้ยง ๆ ว่า ฟ้าคะนอง.
  18. คะมำ : ก. ล้มควํ่า, อาการที่หัวพุ่งไปเพราะสะดุด.
  19. คะเยอ : ว. อาการที่คันทําให้ต้องเการํ่าไป เรียกว่า เกาคะเยอ คันคะเยอ.
  20. คัดค้าน : ก. แสดงอาการไม่เห็นด้วย.
  21. คัน ๒ : ก. อาการที่รู้สึกให้อยากเกา, อาการที่มือหรือปากอยู่ไม่สุข คือ อยากทํา หรือพูดในสิ่งที่ไม่ควร เรียกว่า มือคัน ปากคัน, อาการที่ให้รู้สึกอยากด่า อยากตีเป็นต้น เรียกว่า คันปาก คันมือ คันเท้า.
  22. คาบ ๒ : ก. เอาปากหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างปากงับหนีบไว้, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คาบข่าวไปบอก.
  23. คาย ๑ : ก. ปล่อยของที่ไม่ต้องการจะกลืนหรือกลืนไม่ได้ออกจากปาก เช่น คายชานอ้อย; ปล่อยออกมา เช่น คายความร้อน; โดยปริยายใช้หมายถึง อาการของสิ่งที่ติดแน่นเลื่อนออกจากที่เดิม เช่น เรือคายหมัน ลูกประสัก คายตัว, เปิดเผย, แสดงออก, เช่น คายความลับ.
  24. คาย ๒ : น. ส่วนที่มีลักษณะเป็นผงหรือขนละเอียดแหลมคมของบางสิ่งบางอย่าง เวลากระทบผิวหนังทําให้รู้สึกระคายคัน เช่น คายข้าว คายอ้อย คายไผ่. ว. อาการที่รู้สึกว่าผงหรือขนเช่นนั้นกระทบตัวทําให้รู้สึกระคายคัน.
  25. เค้เก้ : (ปาก) ว. ไม่เป็นท่า (ใช้แก่อาการหกล้มหรือนอนเป็นต้น) เช่น หกล้มเค้เก้ นอนเค้เก้.
  26. เคร่งเครียด : ก. เคร่งมากไม่หย่อนคลาย, อาการที่สมองไม่ได้พักผ่อน เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป.
  27. เครียด : [เคฺรียด] ว. จัด เช่น ตึงเครียด, อาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลายเพราะ ครํ่าเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป เช่น หน้าเครียด อารมณ์เครียด.
  28. เคล็ด ๒ : [เคฺล็ด] ก. อาการที่กล้ามเนื้อแพลง เช่น ขาเคล็ด คอเคล็ด.
  29. เคว้งคว้าง : ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมกระแสนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินเคว้งคว้างไม่รู้จะไปไหนดี, คว้างเคว้ง ก็ว่า.
  30. เคารพ : ก. แสดงอาการนับถือ เช่น เคารพผู้ใหญ่ เคารพธงชาติ; ไม่ล่วงเกิน, ไม่ล่วงละเมิด, เช่น เคารพสิทธิของผู้อื่น. (ส. เคารว; ป. คารว).
  31. เคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคํา เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  32. เคี้ยวเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออกมา เคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า, บดเอื้อง ก็ว่า.
  33. แค้นคอ : ก. อาการที่คนหรือสัตว์กินอาหารแล้วติดคอหรือฝืดคอ กลืนไม่สะดวก.
  34. แคลง : [แคฺลง] ก. อาการที่เรือเอียงหรือตะแคง เรียกว่า เรือแคลง; กินแหนง, สงสัย.
  35. โคลงเคลง ๑ : ก. โคลงไปโคลงมา. ว. อาการที่รู้สึกวิงเวียนคล้าย อยู่ในเรือโคลง.
  36. งก ๑ : ก. แสดงอาการอยากได้หรือไม่อยากเสียจนเกินควร. ว. มีอาการสั่น อย่างคนแก่หรืออย่างกลัวหรืออย่างหนาวมาก.
  37. งก ๆ, ง่ก ๆ : ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก เช่น ทำงานง่ก ๆ ทั้งวันจนไม่มีเวลาหยุดพัก.
  38. งกเงิ่น, งก ๆ เงิ่น ๆ : ว. ตัวสั่น, มีอาการประหม่าตัวสั่นจนทําอะไรไม่ถูก.
  39. งง : ก. ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน, ทําอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้งสติ ไม่อยู่; อาการมึนเกิดเพราะหัวหรือบริเวณหน้าได้รับความกระทบ กระเทือนอย่างแรงเป็นต้น.
  40. ง่วง : ก. อาการที่ร่างกายอยากนอน.
  41. ง่วงเหงาหาวนอน : ก. มีอาการซึมเซาอยากนอนมาก.
  42. งอ : ว. ลักษณะที่มีส่วนปลายหักโค้งเข้าหาตัวมันเองเช่นรูปอย่างขอ; เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างอ. ก. ทําให้มีรูปหรือเป็นเช่นนั้น, เรียกอาการของ คนที่หัวเราะจนตัวงอว่า หัวเราะงอ.
  43. งอก ๑ : ก. อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก.
  44. งอก่อ, งอก่องอขิง : ว. อาการที่ตัวงอหรือทําตัวงอ เพราะร้อนหรือ หนาวมากเป็นต้น.
  45. งอขี้กล้อง : (ปาก) ว. อาการที่ถูกทำร้ายบริเวณท้องจนล้มลงกับพื้นใน ลักษณะตัวงอคล้ายคนนอนสูบฝิ่น.
  46. ง่องแง่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรงทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ กระง่องกระแง่ง ก็ว่า. ก. ทะเลาะเบาะแว้งกัน, ไม่ปรองดองกัน.
  47. งอน ๑ : น. ส่วนปลายแห่งของบางอย่างที่เป็นรูปยาวเรียวและช้อยขึ้น เช่น งอนไถ. ว. ช้อยขึ้น, โง้งขึ้น. ก. แสดงอาการโกรธเคืองหรือไม่พอใจ เพื่อให้เขาง้อ, ทําจริตสะบัดสะบิ้ง.
  48. งอนหง่อ : ว. คู้ตัวงอตัว เป็นอาการของคนที่กลัวมากหรือหนาวมากเป็นต้น.
  49. ง่อย : ว. อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปรกติ. ง่อยเปลี้ยเสียขา ว. มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปรกติ.
  50. งอหาย : ว. อาการที่ร้องไห้หรือหัวเราะจนเสียงเงียบหายไป.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.0536 sec)