Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 351-400
  1. จู๋ : ว. หดตัวเข้าไปมาก, สั้นมาก ในคําว่า สั้นจู๋, จุนจู๋ ก็ว่า; อาการที่ ห่อปากเข้ามา เช่น ทําปากจู๋.
  2. จูง : ก. พาไปด้วยอาการคล้ายดึงหรือฉุด เช่น จูงควาย จูงเด็ก. น. ชื่อวัย ของเด็กระหว่างวัยอุ้มกับวัยแล่น เรียกว่า วัยจูง.
  3. จูงจมูก : ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดย ปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนําไปโดยไม่ใช้ ความคิดของตน.
  4. จู๊ด : ว. อาการที่พุ่งตัวออกไปโดยเร็ว เช่น วิ่งจู๊ด พุ่งจู๊ด.
  5. เจ็บท้อง : ก. อาการเจ็บท้องเวลาจะคลอดลูก.
  6. เจลียง : [จะเลียง] น. ชื่อไข้ที่มีอาการจับวันเว้นวัน.
  7. เจ่อ : ก. อาการที่ปากบวมยื่นออกมาหรือมีลักษณะเช่นนั้น.
  8. เจ่า ๒ : ว. อาการที่เกาะ จับ หรือนั่งอย่างหงอยเหงา เช่น นกจับเจ่า นั่งเจ่า, อยู่ในที่จํากัดไปไหนมาไหนไม่ได้ เช่น นํ้าท่วมต้องนั่งเจ่าอยู่กับบ้าน.
  9. เจี๋ยมเจี้ยม : ว. วางหน้าไม่สนิทมีอาการเก้อเขิน.
  10. เจี๊ยว ๑ : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง หรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า; ก่อเรื่องวุ่นวาย, เอะอะอาละวาด. ว. อาการที่ ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า.
  11. เจี๊ยวจ๊าว : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมาก เป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อ ให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า.
  12. แจ ๑ : ว. กระชั้นชิด, ไม่คลาด, ไม่ห่าง, (ใช้ในอาการที่คุมหรือติดตาม) เช่น คุมแจ ตามแจ.
  13. โจน : ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว เช่น โจนนํ้า, เผ่นข้ามไป เช่น โจนท้องร่อง, กระโจน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นํ้าโจน.
  14. ใจหาย : ว. อาการที่ตกใจเสียวใจขึ้นทันที, ใช้ประกอบท้ายคําอื่นมี ความหมายว่า มาก เช่น ดีใจหาย แพงใจหาย.
  15. ฉวัดเฉวียน : [ฉะหฺวัดฉะเหฺวียน] ก. อาการที่บินวนเวียนไปมาอย่างผาดโผน เช่น บินฉวัดเฉวียน, แล่นเร็วอย่างผาดโผน เช่น ขับรถฉวัดเฉวียน. ว. วนเวียน. (ข. ฉฺวาต่เฉวียล).
  16. ฉอด ๆ : ว. อาการที่พูดหรือเถียงไม่หยุดปาก เช่น พูดฉอด ๆ เถียงฉอด ๆ.
  17. ฉะฉาน : ว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคํา, ฉาดฉาน ก็ใช้.
  18. ฉับ, ฉับ ๆ : ว. อาการที่พูดหรือฟันเป็นต้นอย่างเร็ว เช่น ฟันฉับ พูดฉับ ๆ; เสียงดัง เช่นนั้น.
  19. ฉาดฉาน : ว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคํา, ฉะฉาน ก็ใช้.
  20. ฉิบ : ว. อาการที่หายไปหรือจากไปเร็วเกินคาด.
  21. ฉุก : ก. อาการที่เกิดขึ้นโดยพลัน, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น ฉุกคิด ฉุกใจ.
  22. ฉุบ : ว. อาการที่แทงเข้าไปโดยเร็ว เช่น เขาใช้เหล็กแหลมแทงฉุบเข้าไป.
  23. ฉุย : ว. อาการที่กลิ่นโชยมากระทบจมูก; อาการของควันที่พลุ่งขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น ควันฉุย; คล่องแคล่ว เช่น เดินฉุย.
  24. ฉูด : ว. อาการที่พุ่งหรือไปโดยเร็ว เช่น น้ำพุ่งฉูด เรือแล่นฉูด.
  25. เฉย : ก. แสดงอาการเป็นปรกติไม่สนใจไยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ที่ประสบ เช่น ถูกด่าว่า ก็เฉย. ว. นิ่งอยู่ไม่แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา เช่น นอนเฉย.
  26. เฉิบ, เฉิบ ๆ : ว. คําร้องบอกจังหวะในการเต้นหรือรํา, มีท่าทางเนิบ ๆ เป็นจังหวะ เช่น รําเฉิบ ๆ เดินเฉิบ ๆ พายเรือเฉิบ ๆ, ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไป ในทางที่มีอาการประหนึ่งว่าเป็นเช่นนั้น เช่น นั่งสบายใจเฉิบ.
  27. เฉียบพลัน : ว. อาการที่เริ่มอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก (มักใช้แก่อาการ ของโรค) เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน.
  28. เฉี่ยว : ก. กิริยาของนกที่โฉบลงมาคว้าอาหารไปโดยเร็ว, อาการที่กระทบหรือ เสียดสีไปโดยเร็ว เช่น รถเฉี่ยวคน. (ปาก) ว. ล้ำยุค, นำสมัย, เช่น ผู้หญิง คนนี้แต่งตัวเฉี่ยว.
  29. แฉ่ง : ว. ใช้ประกอบอาการของยิ้มหรือหน้าที่ร่าเริงเบิกบาน เช่น ยิ้มแฉ่ง หน้าแฉ่ง. น. เครื่องตีประกอบจังหวะทําด้วยโลหะ รูปอย่างม้าล่อ.
  30. แฉลบ ๑ : [ฉะแหฺลบ] ก. อาการของสิ่งแบน ๆ เคลื่อนเฉไปเฉมาไม่ตรงแนวทาง เช่น ว่าวแฉลบร่อนกระเบื้องให้แฉลบไปตามผิวน้ำ. ว. อาการที่เคลื่อนเฉไป เฉมาไม่ตรงแนวทาง เช่น นกบินแฉลบ รถวิ่งแฉลบ.
  31. แฉะแบะ : ว. อาการที่นั่งเฉื่อยชาอยู่นาน ๆ, เฉื่อยชา, แบะแฉะ ก็ว่า.
  32. ชอน : ก. ไชคดเคี้ยวไปในดินหรือภายในสิ่งอื่นด้วยอาการเช่นนั้น เช่น รากไม้ชอนไปในดิน; พุ่งแยงออกมา (ใช้แก่แสงอย่าง แสงแดดแสงไฟ) เช่น แสงตะวันชอนตา.
  33. ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
  34. ชะ ๑ : ก. ทําให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไปหรือหมดไปด้วยนํ้า ในลักษณะ และ อาการอย่างชะแผล; ชําระล้างด้วยอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนชะลาน ฝนชะช่อมะม่วง.
  35. ชะงาบ : ว. อ้าปากงาบ ๆ ด้วยอาการชัก.
  36. ชะลอ : ก. อาการที่ลากเลื่อนสิ่งของที่หนักให้ค่อย ๆ เคลื่อนไปจากที่, พยุงไว้, ประคองไว้, ค่อย ๆ ประคองไป เช่น โคลงชะลอ พระพุทธไสยาสน์, ค่อย ๆ พยุงขึ้น; ทําให้ช้าลง, ทําให้ช้าลง เพื่อรอ เช่น ชะลอเวลา ชะลอการเกิด.
  37. ชัก ๒ : ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกอย่างกะทันหันและรุนแรง มักมีอาการมือเท้าเกร็ง.
  38. ชักรอก : ก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อน ผ่านร่องของรอกเพื่อยกลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและ สะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้ แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะ ว่า โขนชักรอก.
  39. ชา ๒ : ว. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับ ความรู้สึก ถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ เช่น มือชา เท้าชา; เรียกปลาที่จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา.
  40. ชาเย็น : ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้ เขาแสดงอาการชาเย็น, เย็นชา ก็ว่า.
  41. ช้ำรั่ว : น. ชื่ออาการของโรคอย่างหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของ กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะเป็นต้น ทําให้ไม่สามารถ กลั้นปัสสาวะได้เหมือนคนปรกติ นํ้าปัสสาวะอาจไหลออก เป็นครั้งคราวหรือตลอดเวลาก็ได้.
  42. ชิวหาสดมภ์ : น. ชื่อโรคลม ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการลิ้นกระด้างคางแข็ง.
  43. ชีพจร : [ชีบพะจอน] น. อาการที่เส้นเลือดเต้นอยู่ตาม ร่างกายเช่นที่ข้อมือ.
  44. ชุลมุน : [ชุนละ] ว. อาการที่เป็นไปอย่างสับสนวุ่นวายไม่เป็น ระเบียบ เช่น เดินกันชุลมุน ชกต่อยกันชุลมุน.
  45. ชูคอ : ก. ชะเง้อคอ, อาการที่นั่งยืดคอวางท่าภาคภูมิ.
  46. เชี่ยว : ว. อาการที่สายนํ้าไหลแรง เรียกว่า นํ้าไหลเชี่ยว.
  47. เชื่อม ๓ : ว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.
  48. แช่ : ก. จุ้มหรือใส่ลงไปในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่นชั่ว ระยะเวลาหนึ่ง เช่น แช่นํ้า แช่ข้าว แช่แป้ง, โดยปริยาย ใช้หมายถึงอาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดย ไม่จําเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้.
  49. แช่เบ้า : ว. อาการที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ ทําประโยชน์อะไร.
  50. โชน : ว. อาการที่ไหม้ทั่วเต็มที่ เช่น ไฟลุกโชน; แรง, เร็ว, เช่น ไหลโชน พุ่งโชน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.0868 sec)