Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 51-100
  1. กระดี่ได้น้ำ : (สำ) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจ ตื่นเต้นจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ.
  2. กระดืบ : ก. อาการที่ค่อย ๆ คืบไปอย่างหนอน.
  3. กระดุกกระดิก : ว. อาการที่ขยับไปขยับมาไม่อยู่นิ่ง ๆ, ยักไปยักมา, ดุกดิก ก็ว่า.
  4. กระดุบ ๆ : ว. อาการที่เต้นตุบ ๆ อย่างเนื้อเต้น, ดุบ ๆ ก็ว่า; อาการที่เคลื่อนที่ไป อย่างช้า ๆ เช่น เด็กคลานกระดุบ ๆ.
  5. กระดุบกระดิบ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวน้อย ๆ.
  6. กระแด็ก ๆ : ว. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ เช่น ดิ้นกระแด็ก ๆ ชักกระแด็ก ๆ ติดกระแด็ก ๆ, แด็ก ๆ ก็ว่า.
  7. กระแด่ว ๆ : ว. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ ในคําว่า ดิ้นกระแด่ว ๆ, แด่ว ๆ ก็ว่า.
  8. กระโดด : ก. ใช้กําลังเท้าถีบพื้นให้ตัวลอยสูงขึ้น, โดด ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลากระโดด ตัวพิมพ์กระโดด.
  9. กระโดดโลดเต้น : ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหน เพราะความดีอกดีใจเป็นต้น.
  10. กระต้วมกระเตี้ยม : ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี.
  11. กระต่องกระแต่ง : ว. อาการที่แขวนหรือห้อยแกว่งไปแกว่งมา, ต่องแต่ง ก็ว่า.
  12. กระต่ายตื่นตูม : (สํา) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการ ตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสํารวจให้ถ่องแท้ก่อน.
  13. กระตุก : ก. ชักเข้ามาโดยเร็วทันที, งอเข้ามาโดยเร็ว, เช่น ขากระตุก, อาการที่กล้ามเนื้อหดและยืดตัวขึ้นมาเองทันที.
  14. กระตุกกระติก : ว. ตุก ๆ ติก ๆ, อาการที่ห้อยแกว่งไปมา.
  15. กระเตง : ก. อาการที่อุ้มเด็กเข้าสะเอวหรือสะพายของโตงเตงไป.
  16. กระเตาะกระแตะ : ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; ป้อแป้, ไม่แข็งแรง, มักใช้แก่คนสูงอายุ เช่น คุณทวดเดินกระเตาะกระแตะ.
  17. กระเตื้อง : ก. เบาขึ้น, ทุเลาขึ้น, เช่น อาการไข้กระเตื้องขึ้น, เจริญขึ้น เช่น เดี๋ยวนี้ฐานะเขาค่อยกระเตื้องขึ้น; (โบ) พยุงยกให้เผยอขึ้น.
  18. กระทบกระแทก : ว. อาการที่กล่าวเปรย ๆ ให้กระทบไปถึงผู้ใด ผู้หนึ่งอย่างแรง.
  19. กระทืบธรณี : น. อาการที่เดินห่มตัว ถือกันว่าเป็นลักษณะไม่ดี เข้าในพวกว่า ยักหล่มถ่มร้าย กระทืบธรณี.
  20. กระเทือน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิด ทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
  21. กระปอดกระแปด : ว. อาการที่บ่นปอดแปด, อาการที่บ่นร่าไร.
  22. กระพือ : ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง แพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว.
  23. กระเพื่อม : ก. อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น น้ำกระเพื่อม.
  24. กระฟัดกระเฟียด : ว. อาการที่โกรธหรือแสร้งทําโกรธ.
  25. กระมิดกระเมี้ยน : ก. แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, มิดเมี้ยน ก็ว่า.
  26. กระย่องกระแย่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่เข็งแรง ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระง่องกระแง่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.
  27. กระย่อน : ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อนก็กระย่อนอยู่ยานโยน. (สมุทรโฆษ); ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. (สมุทรโฆษ).
  28. กระยิ้มกระย่อง : ก. แสดงอาการดีใจหรืออิ่มใจ, ยิ้มย่อง ก็ว่า.
  29. กระยึกกระหยัก : ว. อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, ยึกยัก ก็ว่า.
  30. กระวนกระวาย : ก. วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข.
  31. กระโวยกระวาย : ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความ ไม่พอใจเป็นต้น, โวยวาย ก็ว่า.
  32. กระษัย : [-ไส] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม).
  33. กระเสาะกระแสะ : ว. อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ, เสาะแสะ ก็ว่า.
  34. กระเสียน : ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับ ไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล).
  35. -กระเสียน : (โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).
  36. กระแส : ไม่ขาดสาย เช่น กระแสน้ำ กระแสลม, โดยปริยายหมายถึง อาการเช่นนั้น; เส้น, สาย, แนว, ทาง, เช่น กระแสความ กระแสความคิด; เส้นวัดที่ดินทำด้วยหวายหรือเหล็กเป็นต้น เรียกว่า เส้นกระแส. (เทียบ ข. แขฺส = เชือก).
  37. กระแสจิต : น. กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิด ที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกัน ระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้อง อาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต.
  38. กระหนาบ : ก. ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน. (พากย์); ดุดันเอา. (แผลงมาจากขนาบ).
  39. กระหมิบ : ก. ทําปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.
  40. กระหมุบกระหมิบ : ก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและ หุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบกระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. (แผลงมาจาก ขมุบขมิบ).
  41. กระหย่ง ๒ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  42. กระหย่อน : (โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่ แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.
  43. กระหาย : ก. รู้สึกคอแห้งด้วยอยากดื่มน้ำเพราะมีอาการร้อนในเป็นต้น; อยากเป็นกําลัง.
  44. กระหืดกระหอบ : ว. มีอาการรีบร้อนอย่างเหนื่อยหอบ เช่น วิ่งกระหืดกระหอบ.
  45. กระเหม่น : [-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก เขม่น).
  46. กระแหย่ง : [-แหฺย่ง] ว. อาการปีนขึ้นอย่างพลั้ง ๆ พลาด ๆ. ก. คะยั้นคะยอ เช่น มาหยักเหยาเซ้าซี้กระแหย่งชาย. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  47. กระโหย่ง ๒ : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  48. กระอ้อกระแอ้ : ว. อ้อแอ้, อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการที่พูดไม่ชัดอย่างคนเมา.
  49. กระออดกระแอด : ว. ออดแอด, อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ.
  50. กระอิดกระเอื้อน : ก. อิดเอื้อน, ไม่กล้าที่จะพูด, กล่าวไม่เต็มปาก; แสดงอาการไม่สู้เต็มใจ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.0777 sec)