Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 551-600
  1. โทกเทก : ว. อาการที่เดินโยกเยกไม่ตั้งตัวตรง.
  2. โทง ๆ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งโย่ง ๆ ไปในที่โล่ง (มักใช้แก่ผู้เปลือยกาย) เช่น เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ.
  3. โทงเทง ๒ : ว. อาการที่เคลื่อนไปมีลักษณะโย่งเย่งส่ายไปมา เช่น เดินโทงเทง.
  4. ธรณีสูบ : ก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลง หายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ.
  5. ธรรมดา : น. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้น ๆ, ปรกติ, เช่น เป็นเรื่อง ธรรมดา. (ส. ธรฺมตา; ป. ธมฺมตา).
  6. นอน : ก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อน เป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทําให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสา นอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบ ใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง เช่น แนวนอน แปนอน.
  7. นอนก้น : ก. อาการที่ผงหรือตะกอนเป็นต้นในของเหลวตกลงไปอยู่ก้น ที่รองรับของเหลวนั้น เช่น ตะกอนนอนก้น.
  8. นอบน้อม : ก. อาการแสดงความเคารพอย่างสูง เช่น นอบน้อม พระ รัตนตรัย, อาการที่ยอบตัวลงแสดงความเคารพอยู่ในที.
  9. นําเที่ยว นําไป นํามา. : ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว ในคําว่า ซักนํา ถามนํา.
  10. นั่ง : ก. อาการที่หย่อนก้นให้ติดกับพื้นหรือที่รองเช่นเก้าอี้.
  11. นั่งราว : ว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจําที่ บนราวที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก.
  12. น่าย : ว. อาการที่ของเหนียวของแข็งหรือของแห้งที่แช่นํ้าไว้แล้วเปื่อยหรือ อ่อนตัว เช่น แช่ข้าวไว้ให้น่ายแล้วจึงโม่.
  13. น้ำมันหม่อง : น. ยาที่ใช้ทาบรรเทาอาการขัดยอก หรือความเจ็บปวด เนื่องจากแมลงกัดต่อยเป็นต้น, ยาหม่อง ก็เรียก.
  14. น้ำลายสอ : (ปาก) ว. อาการที่อยากมาก ในความเช่น อยากกินจน นํ้าลายสอ.
  15. น้ำลายหก, น้ำลายไหล : (ปาก) ว. อาการที่อยากมาก ในความเช่น อยากได้จนนํ้าลายหก.
  16. น้ำหนวก : น. นํ้าที่อยู่ในช่องหูซึ่งมีอาการอักเสบ มีกลิ่นเหม็น อาจมี ลักษณะใส เป็นมูกข้นหรือเป็นหนอง.
  17. นิ่งแน่ : ว. อาการที่ไม่ไหวติงไปชั่วระยะหนึ่งเพราะเป็นลมเป็นต้น, แน่นิ่ง ก็ว่า.
  18. นิสัชชาการ : น. อาการนั่ง. (ป.), ในบทกลอนใช้ว่า นิสัชชนาการ ก็มี เช่น จึงเสด็จนิสัชชนาการนั่งในร่มไม้. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  19. นิสีทนาการ : น. อาการนั่ง. (ป.).
  20. เน่าไฟ : ว. อาการที่ของเสียเพราะต้มไม่ถูกวิธี เช่น ต้มข้าวต้มมัดไม่สุก.
  21. เนื้อร้าย ๒ : น. เนื้อเป็นโรค เกิดแก่ คน สัตว์ และต้นไม้ หรือแผลที่เป็น มะเร็ง มีอาการต่าง ๆ.
  22. แน่ ๒, แน่นิ่ง : ว. อาการที่ไม่ไหวติงไปชั่วระยะหนึ่งเพราะเป็นลมเป็นต้น, นิ่งแน่ ก็ว่า.
  23. แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
  24. แน่นหน้าอก : ว. มีอาการจุกเสียดบริเวณทรวงอกทําให้หายใจไม่สะดวก.
  25. แน่แน่ว : ว. อาการที่ใจมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตั้งใจแน่แน่ว, แน่วแน่ ก็ว่า.
  26. แน่บ : ว. อาการที่วิ่งอย่างรวดเร็วไม่เหลียวหลัง เช่น โกยแน่บ.
  27. แน่วแน่ : ว. อาการที่ใจมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตั้งใจแน่วแน่, แน่แน่ว ก็ว่า.
  28. บดเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออก มาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
  29. บ่มมัน : ก. อาการที่ช้างกําลังจะตกมัน.
  30. บรรเทา : [บัน-] ก. ทุเลาหรือทําให้ทุเลา, ผ่อนคลายหรือทําให้ผ่อนคลายลง, เบาบางหรือทําให้เบาบางลง, สงบหรือทําให้สงบ, เช่น บรรเทาทุกข์ อาการโรคบรรเทาลง, ประเทา ก็ใช้.
  31. บ้วนปาก : ก. ล้างปากด้วยอาการที่อมนํ้าแล้วบ้วนออกมา.
  32. บวม : ก. อาการที่เนื้ออูมหรือนูนขึ้นเพราะอักเสบหรือฟกชํ้าเป็นต้น.
  33. บอก ๒ : ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
  34. บอน : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae คือ ชนิด Colocasia esculenta (L.)Schott var. antiquorum (Schott) Hubb. et Rehder ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทําให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูก เป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [C. bicolor (Ait.) Vent.] บอนเสวก (C. argyrites Lem.). ว. อาการที่ปากหรือมืออยู่ไม่สุข เรียกว่า ปากบอน หรือ มือบอน เช่น ซนมือบุกซุกมือบอน ซนปากบุก ซุกปากบอน.
  35. บ้า ๑ : ว. เสียสติ, วิกลจริต, สติฟั่นเฟือน, หลงใหลหรือมัวเมาในสิ่งนั้น ๆ จนผิดปรกติ เช่น บ้ากาม บ้ายศ บ้าฟุตบอล; อาการที่สัตว์บางชนิด เช่นหมาเป็นโรคกลัวนํ้า เรียกว่า หมาบ้า.
  36. บ้า ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Leptobarbus hoevenii ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาว แต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลา ขนาดเล็กมีแถบสีดําคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้า ลําคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ใน ธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นําไปบริโภค ทําให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก.
  37. บ้าจี้ : ว. อาการที่พูดหรือแสดงโดยขาดสติเมื่อถูกจี้ทําให้ตกใจ, ทําตามโดยปราศจากการไตร่ตรองเมื่อถูกยุหรือแนะ.
  38. บาดทะจิต : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง มักกําเริบขึ้นเป็นครั้งคราว มีอาการหงุดหงิด จิตฟุ้งซ่าน.
  39. บาดทะยัก : น. โรคที่เกิดจากตัวเชื้อโรคบาดทะยัก (Clostridium tetani) เข้าสู่ แผล ทําให้มีอาการกระตุก และชักแข็ง หลังแอ่น โดยมาก ถึงตาย.
  40. บาดเสี้ยนบาดหนาม : น. แผลที่ถูกเสี้ยนหนามยอกแล้วกลายเป็นพิษ ทําให้มีอาการปวดผิดปรกติ.
  41. บ้าดีเดือด : ว. มีอาการคลุ้มคลั่งมุทะลุดุดันเป็นคราว ๆ, โดยปริยาย หมายความว่า มีอารมณ์หุนหันพลันแล่นชอบทําอะไรรุนแรง.
  42. บ้าย : ก. ป้าย, ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการ ประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการ คล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ใน ความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  43. บ้าร่าท่า : (ปาก) ว. อาการที่บานเต็มที่ เรียกว่า บานบ้าร่าท่า.
  44. บ้าลำโพ : ง ว. บ้าเพราะกินเมล็ดลําโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโห โกรธา เช่น พูดจาบ้าลําโพงโป้งไป. (คาวี), ทําโมโหโกรธาบ้า ลําโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์. (พิเภกสอนบุตร).
  45. บ้าหอบฟาง : (สํา) ว. บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง.
  46. บิ : ก. ทําให้แตกออกหรือหลุดออกเป็นชิ้น ๆ ด้วยนิ้ว เช่น บิขนมปัง, แตกออกหรือหลุดออกด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  47. บิด ๑ : ก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทําให้ผิดไป จาก สภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความ เกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่าง แรงทํานองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัด ปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา. น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปาก กัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.
  48. บิด ๒ : น. โรคลําไส้ใหญ่อักเสบ มีอาการปวดมวนและอุจจาระเป็น มูกเลือด.
  49. บิดขวา : ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันเข้าทางขวาว่า ห่มบิดขวา.
  50. บิดจะกูด, บิดตะกูด : ว. อาการที่บิดไปบิดมาไม่ยอมทําอะไรหรือ ไม่ยอมทําตามสั่ง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.0780 sec)