Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 601-650
  1. บิดซ้าย : ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันออกทางซ้ายว่า ห่มบิดซ้าย.
  2. บิดไส้ : ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้เกิดอาการเจ็บปวดในท้องคล้ายลําไส้ ถูกบิด.
  3. บึ้ง ๒ : ว. อาการที่หน้าตาไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส.
  4. บึ้งตึง : ว. อาการที่หน้าบึ้งเพราะโกรธหรือไม่พอใจเป็นต้น.
  5. บึ้งบูด : ว. อาการที่หน้าเง้าแสดงอาการไม่พอใจ.
  6. บุ้ง ๑ : น. ชื่อหนอนผีเสื้อหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Arctiidae, Lymantriidae, Lasiocampidae มีขนปกคลุมเต็มลําตัว เมื่อถูกเข้า จะปล่อยนํ้าพิษทําให้เกิดอาการแสบร้อนและคัน เมื่อเจริญวัยจะ เปลี่ยนเป็นดักแด้และฟักออกมาเป็นผีเสื้อกลางคืน, ร่าน ก็เรียก.
  7. บุบบิบ : ว. อาการที่ของบางอย่างเช่นไข่จะละเม็ดหรือของที่ทําด้วย อะลูมิเนียม บุบเข้าไปหลายแห่ง. บุบสลาย ว. ชํารุดแตกหัก.
  8. บูด : ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด; ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เรียกว่า ทํา หน้าบูด.
  9. บูดบึ้ง : ว. ทําหน้าบึ้งแสดงอาการไม่พอใจ.
  10. บูดเบี้ยว : ว. ทําหน้านิ่วแสดงอาการเจ็บปวดหรือไม่พอใจ.
  11. เบ้ : ว. บิด, ไม่ตรง, เช่น ทําปากเบ้; ทําหน้าแสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็น ด้วย ไม่พอใจ หรือเจ็บปวด เป็นต้น.
  12. เบาะ ๆ : ว. อาการที่ตี ฟัน หรือทุบเป็นต้นแต่เบา ๆ เช่น ตีเบาะ ๆ.
  13. แบ : ก. แผ่ให้แบนออก เช่น แบมือ, กางแผ่ออก เช่น แบหนังสือไว้. ว. อาการที่เปิดแผ่หรือวางทิ้งไว้อย่างไม่เอาใจใส่เป็นต้น เช่น นอนแบ เปิดแบไว้ ทิ้งแบไว้.
  14. แบ่งภาค : ก. แยกส่วนของร่างเดิมออกเป็นอีกร่างหนึ่งหรือหลาย ร่างโดยเอกเทศ เช่น พระนารายณ์แบ่งภาคมาเกิด, โดยปริยายเป็น คําเปรียบเทียบหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใครจะแบ่ง ภาคไปทําได้ ไม่สามารถแบ่งภาคไปทําได้.
  15. แบ็บ : ว. อาการที่นอนอยู่กับที่ ลุกไม่ไหว ในลักษณะที่หมดกําลังหรือ เจ็บป่วย มีอาการเพียบเป็นต้น ในคําว่า นอนแบ็บ.
  16. แบหลา : [แบหฺลา] (ปาก) ว. อาการที่นอนแผ่กางมือกางเท้า ในคําว่า นอน
  17. แบะแฉะ : ว. อาการที่นั่งเฉื่อยชาอยู่นาน ๆ, เฉื่อยชา, แฉะแบะ ก็ว่า.
  18. แบะปาก : ก. แสยะปากทําอาการรังเกียจเป็นต้น.
  19. ไบ่ ๆ : ว. อาการที่เคี้ยวสิ่งของทําปากเยื้องไปมา.
  20. ปรกติ : [ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ, ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
  21. ปร๋อ : [ปฺร๋อ] ว. อาการที่นกบินเร็ว, โดยปริยายหมายความว่า เร็ว, แคล่วคล่อง, ว่องไว, ไม่ติดขัด, เช่น วิ่งปร๋อ พูดไทยได้ปร๋อ.
  22. ปรอท : [ปะหฺรอด] น. ธาตุลําดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖?ซ. เดือดที่ ๓๕๗?ซ. ใช้ ประโยชน์นําไปทําเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทําเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury); (ปาก) เครื่องวัดอุณหภูมิ; โดยปริยายหมายถึงอาการ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วว่องไว เช่น ไวเป็นปรอท. (ป., ส. ปารท).
  23. ปรอย, ปรอย ๆ ๑ : [ปฺรอย] ว. ที่แสดงอาการเศร้า (ใช้แก่ตา) เช่น ทําตาปรอย.
  24. ประคอง : ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้ม เป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวัง ไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.
  25. ประจ๋อประแจ๋ : ว. กะหนอกะแหน, ฉอเลาะ, อาการที่พูดเอาอกเอาใจหรือ ประจบประแจง.
  26. ประชัน : ว. อาการที่แข่งขันเพื่อให้รู้ว่าใครจะแสดงได้ดีกว่าหรือเก่งกว่ากัน เช่น งิ้ว ๒ โรงประชันกัน อย่าเอาเป็ดขันประชันไก่, โดยปริยาย หมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เด็กร้องไห้ประชันกัน.
  27. ประดัก ๆ : ว. อาการแห่งคนที่ตกนํ้าแล้วสําลักนํ้า เรียกว่า สําลักประดัก ๆ, อาการที่ชักหงับ ๆ ใกล้จะตาย.
  28. ประสันนาการ : น. อาการเลื่อมใส. (ป. ปสนฺนาการ).
  29. ปราด : [ปฺราด] ก. แล่นอย่างฉับไว เช่น ปราดเข้าใส่. ว. อาการที่เป็นไป อย่างฉับไว เช่น วิ่งปราด.
  30. ปรำ : [ปฺรํา] ก. ทําอาการดุจกระทุ้ง; เจาะจง; เทลงไปเร็ว ๆ ให้ปนกับ ของอื่น; รุมกล่าวโทษ.
  31. ปรินิพพาน : [ปะรินิบพาน] น. การดับรอบ, การดับสนิท, การดับโดยไม่เหลือ; เรียกอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์. (ป.; ส. ปรินิรฺวาณ).
  32. ปริบ : [ปฺริบ] ว. อาการกะพริบบ่อย ๆ, อาการของหยาดนํ้าฝนที่หยดลงน้อย ๆ.
  33. ปริ่ม : [ปฺริ่ม] ว. เสมอขอบ, เสมอพื้น, (ในลักษณะอย่างนํ้าที่ขึ้นเสมอขอบ ตลิ่งหรือดอกบัวที่โผล่ขึ้นเสมอพื้นนํ้าเป็นต้น); อาการที่มีความยินดี ปลื้มใจ เช่น ปริ่มใจ ปริ่มยิ้ม ปริ่มเปรม.
  34. ปรื๋อ : [ปฺรื๋อ] ว. อาการที่นกบินพุ่งไปอย่างเร็ว, โดยปริยายหมายความว่า มีอาการรวดเร็วเช่นนั้น เช่น แล่นปรื๋อ วิ่งปรื๋อ.
  35. ปรือ ๒ : [ปฺรือ] ว. ลักษณะอาการของนัยน์ตาที่หรี่เพราะง่วงแต่ฝืนไว้, ลักษณะของนัยน์ตาที่มีอาการเช่นนั้น. ก. ฝึกหัด ในคําว่า ฝึกปรือ; เลี้ยงดูในคําว่า ปรนปรือ.
  36. ปรูดปราด, ปรู๊ดปร๊าด : ว. อาการที่เคลื่อนไหวอย่างว่องไว รวดเร็ว.
  37. ปลก : [ปะหฺลก] ว. อาการที่ยกมือไหว้ถี่ผงก ๆ (ใช้แก่กริยาไหว้ ว่า ไหว้ปลก ๆ).
  38. ปลาบ ๑ : [ปฺลาบ] ว. อาการที่รู้สึกแล่นวาบเข้าหัวใจ เช่น เจ็บปลาบ เสียวปลาบ, โดยปริยายใช้เรียกโรคที่มีอาการเช่นนั้น.
  39. ป่วง : น. โรคลงราก, โรคระบาดมีอาการให้ท้องร่วงและอาเจียน.
  40. ป่วน : ก. มวน, อลวน, อาการที่ปวดมวนอยู่ในท้องเพราะอาหารเป็นเหตุ.
  41. ปวัตนาการ : น. อาการที่เป็นไป.
  42. ปสันนาการ : น. อาการเลื่อมใส. (ป.).
  43. ป้อ : ว. อาการของไก่ที่คึกกรีดปีกไปมา, มีอาการกรีดกราย หยิบหย่ง; อ่อน เช่น ไข่ป้อ; ป๋อ.
  44. ป๋อ : ก. แสดงอาการโดยจงใจหรือไม่จงใจให้เห็นเด่น ผึ่งผาย องอาจ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  45. ป่อง ๓, ป่อง ๆ : ว. อาการของคนโกรธแกมงอน ในคําว่า โกรธป่อง ๆ.
  46. ป่องร่า : (โบ) น. อาการของคนคะนองไม่กลัวใคร ชวนวิวาทกับผู้อื่น. (ปรัดเล).
  47. ปอดแปด : ว. อ่อนน่วมอยู่ภายใน, มักใช้ประกอบกับคํา เหลว เป็น เหลวปอดแปด; อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, กระปอดกระแปด ก็ว่า.
  48. ป้อน : ก. เอาอาหารส่งให้ถึงปากหรือใส่ปากให้กิน, โดยปริยายหมายถึง กิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินป้อน; ส่งวัตถุดิบแก่ โรงงานเพื่อให้เครื่องจักรผลิตเป็นสิ่งสําเร็จรูปหรือทําให้เครื่องจักร เกิดพลังงาน.
  49. ป้อแป้ : ว. อาการที่อ่อนแรงลง, มีกำลังน้อย.
  50. ป๋อม : ว. เสียงดังอย่างของมีนํ้าหนักตกนํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ สูญหายไปอย่างของตกนํ้า เช่น หายป๋อมไปเลย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.0728 sec)