Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 701-750
  1. โปรย : [โปฺรย] ก. ตกลงมาเป็นเม็ด ๆ กระจายทั่วไป เช่น ฝนโปรย, ทําให้ ตกลงมาด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โปรยข้าวตอกดอกไม้.
  2. ผงก : [ผะหฺงก] ก. ยกหัวขึ้นน้อย ๆ, ก้มหัวลงแล้วเงยขึ้นโดยเร็วแสดง อาการยอมรับหรือเห็นด้วย.
  3. ผงะ : [ผะหฺงะ] ก. แสดงอาการชะงักงันหรือถอยไปข้างหลังเมื่อประสบ เหตุการณ์ประจันหน้าโดยกะทันหันไม่ทันรู้ตัวหรือคาดหมายมาก่อน.
  4. ผด : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ ตามผิวหนัง มักเกิดในเวลาที่มีอากาศร้อนอบอ้าว มีอาการคัน.
  5. ผล็อย, ผล็อย ๆ : [ผฺล็อย] ว. อาการที่ร่วงหรือหล่นไปโดยเร็ว เช่น ฝนตกผล็อย ๆ, อาการที่หลับไปโดยเร็ว เช่น หลับผล็อย, ผ็อย หรือ ผ็อย ๆ ก็ว่า.
  6. ผลัวะ : [ผฺลัวะ] ว. อาการที่ผลุนผลันเข้าไปหรือออกมาอย่างรวดเร็ว เช่น เปิดประตูผลัวะเข้าไป; เสียงดังอย่างเอาดินปาพุ่มไม้หรืออย่างเสียง นกเขาที่บินออกจากพุ่มไม้.
  7. ผลึ่ง : [ผฺลึ่ง] ก. บวมขึ้น, พองขึ้น. ว. เสียงดังอย่างเสียงของหนัก ๆ ตกลงที่พื้น, อาการที่ล้มหงายไปทันทีทันใด ในคําว่า ล้มผลึ่ง หงายผลึ่ง.
  8. ผลุง : [ผฺลุง] ว. อาการที่ทิ้งหรือปาสิ่งของไปโดยเร็ว เช่น ทิ้งผลุง, อาการที่กระโดดไปโดยเร็วในคำว่า โดดผลุง, เสียงอย่างเสียง ของหนักตกนํ้า.
  9. ผลุบโผล่, ผลุบ ๆ โผล่ ๆ : ว. อาการที่ผลุบลงแล้วผุดขึ้น, อาการที่ ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา, จม ๆ ลอย ๆ, เช่น ขอนลอยน้ำผลุบ ๆ โผล่ ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ทําบ้างไม่ทําบ้างไม่สมํ่าเสมอ, ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, กะผลุบกะโผล่ หรือ ผลุบโผล่ ๆ ก็ว่า.
  10. ผลุย : [ผฺลุย] ว. อาการที่เชือกหรือปมหลุดโดยเร็ว.
  11. ผวา : [ผะหฺวา] ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัว เข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น. ว. อาการที่หวาด สะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น, อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา, อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่.
  12. ผ็อย, ผ็อย ๆ : ว. อาการที่ร่วงหรือหล่นไปโดยเร็ว เช่น ฝนตกผ็อย ๆ, อาการที่ หลับไปโดยเร็ว เช่น หลับผ็อย, ผล็อย หรือ ผล็อย ๆ ก็ว่า.
  13. ผ่าน : ก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่าน ไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูง เกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลา
  14. ผ่าว : ว. อาการที่รู้สึกร้อนแรงเมื่อมีไอร้อนมากระทบ เช่นตัวร้อนผ่าว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่รู้สึกคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อกร้อนผ่าว หน้าร้อนผ่าว.
  15. ผ่าหมาก : ว. เรียกอาการเตะเข้าหว่างขาของคู่ต่อสู้ว่า เตะผ่าหมาก.
  16. ผ้ำ ๆ : ว. อาการเดินหรือวิ่งอย่างหนัก.
  17. ผิดน้ำ : ก. ดื่มนํ้าจากแหล่งที่ไม่เคยกินจนทำให้ไม่สบาย; ทำผิด จากคำปฏิญาณเมื่อดื่มน้ำสาบาน ทำให้ได้รับผลร้าย; อาการที่ ปลาหายใจไม่สะดวกเมื่อปล่อยลงไปในแหล่งน้ำที่แปลกไป ในคำว่า ปลาผิดน้ำ.
  18. ผีตายโหง : น. คนที่ตายผิดธรรมดาโดยอาการร้ายเช่นถูกฆ่าตาย ตกน้ำตาย.
  19. ผีอำ : ก. อาการที่ปรากฏเมื่อเวลานอนเคลิ้มไปว่ามีคนปลุกปลํ้า หรือยึดคร่าให้มีอาการเหนื่อยหอบจนตื่นขึ้น.
  20. ผึง : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เชือกขาดดังผึง; อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด เช่น ขาดผึง ดีดผึง; ใช้ประกอบคำ แห้ง ว่า แห้งผึง หมายความว่า แห้งสนิท เช่น ปลักควายแห้งผึง.
  21. เผ่น : ก. อาการที่กระโดดโจนไปโดยไม่รั้งรอ.
  22. เผยิบ, เผยิบ ๆ : [ผะเหฺยิบ] ว. อาการที่ของแบนบางกระพือขึ้นกระพือลงช้า ๆ เช่น นกกระพือปีกเผยิบ ๆ, พะเยิบ หรือ พะเยิบ ๆ ก็ว่า.
  23. เผล่ : [เผฺล่] ว. อาการที่ยิ้มอย่างกระหยิ่มอิ่มใจ.
  24. แผ่ : ก. คลี่ขยายกระจายออกไปให้มีลักษณะแบนราบหรือกว้างกว่าเดิม หรืออาการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แผ่อาณาเขต แผ่หาง; ให้ เช่น แผ่ส่วนบุญ.
  25. แผ่พังพาน, แผ่แม่เบี้ย : ก. อาการที่งูเห่าหรืองูจงอางเป็นต้นชูและ แผ่คอให้แบนเพื่อเตรียมฉกศัตรูเป็นต้น.
  26. แผ่สองสลึง : (ปาก) ว. อาการที่นอนหงายมือตีนเหยียดออกไปเต็มที่.
  27. แผ่หลา : (ปาก) ว. อาการที่นอนเหยียดแขนขาเต็มที่.
  28. โผ ๑ : ก. อ้าแขนโถมตัวเข้าหา, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น นกโผลงจับกิ่งไม้.
  29. โผง : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ไม้หักโผง ปลาฮุบโผง; โดยปริยายหมายความ ว่า ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม (ใช้ในลักษณะอาการที่นึกจะพูดก็พูดออกมา ตรง ๆ ไม่เกรงใจ), โผงผาง ก็ว่า.
  30. โผน : ก. ทําให้ตัวโลดลอยออกไป, อาการที่กระโดดเข้าไปทันที.
  31. ฝัง : ก. จมหรือทําให้จมลงไปจากระดับพื้นจนมิดทั้งหมดหรือมิดแต่ บางส่วน เช่น ฝังศพ ฝังทรัพย์ ฝังเสา, ทําให้จมติดแน่นอยู่ในสิ่งต่าง ๆ เช่น ฝังเพชร ฝังลาย, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝังใจ ฝังหัว.
  32. ฝัด : ก. อาการที่แยกของเบาออกจากของหนักโดยกระดกภาชนะเช่น กระด้งขึ้น ๆ ลง ๆ ค่อนข้างเร็ว เพื่อสะบัดแกลบ รำ หรือผงออก จากข้าวเป็นต้น. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้วว่า กุ้งฝัด, กุ้งฟัด ก็ว่า.
  33. ฝีดาษ : น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูง แล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็น เป็นรอยบุ๋ม, ไข้ทรพิษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว. (อ. smallpox, variola).
  34. ฝืด : ว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสี เป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณ เงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลงทำให้ราคา สินค้าตก ว่า เงินฝืด.
  35. ฝืนท้อง : ก. อาการที่หมอตําแยโกยลูกที่อยู่ในท้องซึ่งเลื่อนลงไป ข้างล่างให้กลับมาอยู่ที่เดิม, โกยท้อง.
  36. พ่น : ก. ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอยเป็นต้น, ที่อาการมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พ่นไฟ พ่นสี, (ปาก) พูดมาก เช่น รีบ ๆ เข้าเถอะ อย่ามัวพ่นอยู่เลย.
  37. พ้น : ก. อาการที่ผ่านหรือหลุดเป็นต้นออกไปอยู่นอกเขตหรือเลยที่กำหนด ไว้ เช่นพ้นอันตราย พ้นกิเลส พ้นทุกข์ พ้นเกณฑ์ พ้นตัว พ้นบ้าน. ว. นอกเขตออกไป เช่นข้ามพ้น บินพ้น ผ่านพ้น หลุดพ้น.
  38. พบ : ก. เห็น (ใช้แก่อาการเห็นซึ่งต่อเนื่องกับกิริยาอื่น เช่น ขุดพบ ค้นพบ ไปพบ หาพบ), ปะ, ประสบ, เจอะ, เจอ, เช่น พบเพื่อน พบอุปสรรค.
  39. พยศ : [พะยด] ก. แสดงอาการดื้อหรือถือตัวไม่ยอมทําตาม.
  40. พยัก : [พะยัก] ก. อาการที่ก้มหน้าลงเล็กน้อยแล้วเงยหน้าขึ้นโดยเร็วเป็นการ แสดงความรับรู้เรียกว่า พยักหน้า.
  41. พยักพเยิด : [พะเยิด] ก. แสดงกิริยาหน้าตาพลอยรับรู้เห็นกับเขาด้วย, ไม่แสดงอาการให้ชัดเจนเป็นแต่พยักหน้า หรือทําบุ้ยใบ้ไม้มือเพื่อให้รู้.
  42. พรวด ๑ : [พฺรวด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น เทพรวด; เสียงดังเช่น นั้น.
  43. พรวดพราด : [พฺราด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น วิ่งพรวดพราด เปิดประตูพรวดพราดเข้ามา.
  44. พราก ๒, พราก ๆ : [พฺราก] ว. อาการที่น้ำตาไหลออกมาก ๆ ในคำว่า น้ำตาไหลพราก.
  45. พราด, พราด ๆ : [พฺราด] ว. เสียงดังเช่นนั้น; อาการที่ดิ้นบิดตัวไปมา เช่น เด็กดิ้นพราด หัวปลาช่อนถูกทุบดิ้นพราด ๆ.
  46. พรายย้ำ : น. รอยดํา ๆ คล้ายถูกอะไรกัดเป็นรอยชํ้า ปรากฏตาม ร่างกายเป็นแห่ง ๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอย่างไร โบราณถือว่า ถูกผีพรายกัดยํ้าเอา แต่ไม่ถึงกับเข้าเป็นแผล.
  47. พราวตา : ว. อาการที่ทำให้เห็นพร่าไปหมด.
  48. พรู : ว. อาการที่เคลื่อนไหวมาพร้อม ๆ กันเป็นจํานวนมาก เช่น วิ่งพรูกัน เข้ามา, ร่วงลงมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ดอกพิกุลร่วงพรู.
  49. พฤติกรรม : น. การกระทําหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า.
  50. พลวก : [พฺลวก] ก. อาการที่ข้าวทะลักออกมาจากหม้อพร้อมกับน้ำข้าวใน เวลาเช็ดหม้อข้าว เรียกว่า ข้าวพลวกจากหม้อ, อาการที่ดินยุบลง เพราะไม่แน่น เช่น ดินพลวกลง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.0714 sec)