Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 801-850
  1. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  2. ภินทนาการ : น. อาการแตก. (ป.).
  3. มดแดง : น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina ในวงศ์ Formicidae ลูกรังลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอด รวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทํารังอยู่ตามต้นไม้โดยใช้ ใบไม้มาห่อกันเข้า เวลาถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยปล่อยกรดออก มาแล้วกัดให้เกิดแผลทําให้เกิดอาการแสบร้อน, มดส้ม ก็เรียก.
  4. มวน ๓ : ว. อาการที่ทำให้รู้สึกปั่นป่วนอยู่ในท้อง.
  5. ม้วนต้วน : ว. อาการที่แสดงท่าทางเอียงอาย. ก. กลิ้งหมุนไปรอบตัว.
  6. มองคร่อ : [-คฺร่อ] น. โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทําให้มีอาการไอเรื้อรัง ห้ามผู้ที่เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ. (อ. bronchiectasis); โรคทางเดินหายใจในสัตว์กีบเดียววงศ์ Equidae มีอาการไข้สูง เป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลืองใต้คางและบริเวณคอหอยอาจติดต่อถึงคนได้, เขียนเป็น มงคล่อ ก็มี. (อ. strangles).
  7. ม่อย : ก. เคลิ้มหลับไปชั่วครู่ เช่น ม่อยไปหน่อยหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มีสีหน้าสลดแสดงว่า เสียใจว่า หน้าม่อย.
  8. มะงุมมะงาหรา : [-หฺรา] ก. เที่ยวป่า เช่น ก็จะพาดวงใจไคลคลา ไปมะงุมมะงาหรา สำราญ. (อิเหนา). (ช.); (ปาก) ก. อาการที่ดั้นด้นไปโดยไม่รู้ทิศทาง, โดยปริยายหมายถึงงุ่มง่าม.
  9. มะเร็งกรามช้าง : น. โรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอก ขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทำให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา.
  10. มับ ๆ : ว. อาการของปากที่หุบเข้าแล้วอ้าออกอย่างเร็ว, หมับ ๆ ก็ว่า.
  11. มัวแต่ : ว. อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวแต่พูด มัวแต่คิด, มัว ก็ว่า.
  12. มัว, มัว ๆ : ว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้า เช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืด ไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว; อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวพูด มัวคิด, มัวแต่ ก็ว่า.
  13. มา ๒ : ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
  14. มานทะลุน : น. โรคที่มีอาการบวมคล้ายโรคมาน แต่บวมทั่วทั้งตัว.
  15. ม้ามืด : น. ม้าแข่งที่ชนะโดยไม่มีใครนึกคาดไว้, โดยปริยายหมายถึง เรื่องอื่นในอาการเช่นนั้น.
  16. ม่ายเมียง : ก. ทําอาการเมิน ๆ เมียง ๆ.
  17. มิด : ว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.
  18. มิดด้าม : ว. อาการที่ใช้มีดหรือของมีคมแทงเข้าไปจนจมถึงด้าม, สุดก้น สุดด้าม หรือ สุดลิ่ม ก็ว่า.
  19. มิดน้ำ : ว. อาการที่น้ำท่วมหัวเรือจนมิด เช่น หัวเรือมิดน้ำ.
  20. มิดเมี้ยน : ว. ลับจนมองไม่เห็น; แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, กระมิดกระเมี้ยน ก็ว่า.
  21. มิดหัว : ว. อาการที่หัวจมหายลงไปในน้ำ เช่น ดำน้ำจนมิดหัว.
  22. มิดีมิร้าย : ว. ชั่วร้าย, ไม่สมควร; อาการที่ล่วงเกินในเชิงชู้สาว.
  23. มึนชา : ก. แสดงอาการเฉยเมยไม่ใยดี.
  24. มึนซึม : ก. แสดงอาการเชื่อมซึมคล้ายเป็นไข้.
  25. มึนตึง : ก. แสดงอาการออกจะโกรธ ๆ ไม่พูดด้วย ไม่มองหน้า.
  26. มืดหน้า : ว. มีอาการเวียนหัวเห็นอะไรพร่าไปหมด เช่น อากาศร้อน มากจนรู้สึกมืดหน้า.
  27. มือบอน : ว. อาการที่มืออยู่ไม่สุข ชอบขีดเขียนตามกําแพง หรือชอบเด็ดดอกไม้ใบไม้เป็นต้น.
  28. มือเบา : ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างละมุนละไมหรือ ประณีตบรรจง, ตรงข้ามกับ มือหนัก.
  29. มือเป็นระวิง : (สำ) ว. อาการที่ใช้มือทำงานไม่ได้หยุด ในความว่า ทำงานมือเป็นระวิง.
  30. มือหนัก : ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างรุนแรงหรือไม่ประณีต บรรจง, ตรงข้ามกับ มือเบา; มากผิดปรกติ (มักใช้ในการเล่น การพนันหรือตกรางวัลเป็นต้น) เช่น เขาแทงโปมือหนัก เขาตกรางวัลนักร้องมือหนักไป.
  31. มืออ่อนตีนอ่อน : ว. มีอาการหมดแรงเพราะรู้สึกตกใจ เสียใจ หรือเสียกําลังใจ เป็นต้น อย่างแรงและทันทีทันใด.
  32. มุบ : ก. ยุบลง. ว. อาการที่ยอบตัวลงโดยเร็ว เช่น มุบหัวลง, อาการที่ของด้านใด ด้านหนึ่งจมลงจากระดับเดิม เช่น พอปลากินเบ็ด ทุ่นเบ็ดก็มุบลง แพด้าน หนึ่งมุบลง, อาการที่คว้าสิ่งของโดยเร็ว เช่น พอของตกก็เอามือคว้ามุบ, อาการที่สัตว์งับสิ่งของโดยเร็ว เช่น ปลาฮุบเหยื่อมุบ พอโยนขนมให้หมา ก็เอาปากรับมุบ.
  33. มุบ ๆ : ว. อาการของปากที่เผยอขึ้นลงอย่างเร็ว, อาการที่คนไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร เช่น คนแก่เคี้ยวข้าวทำปากมุบ ๆ.
  34. มุบมิบ : ว. ปิดบังไม่ให้คนอื่นรู้, อาการที่เถียงหรือบ่นโดยอ้าปากขึ้นลงเล็กน้อย ไม่ให้ได้ยิน.
  35. มุ่ย : ว. อาการที่ยิ้มไม่ออกเพราะไม่พอใจ (ใช้แก่หน้า) เช่น เขาถูกดุเลยทำหน้ามุ่ย.
  36. มูมมาม : ว. อาการที่กินอาหารอย่างตะกรุมตะกราม, อาการที่กินอาหารอย่างเปื้อนเปรอะ เลอะเทอะไม่เรียบร้อย, เช่น กินมูมมาม.
  37. เมา : ก. เอาไปวางสุมไว้. ก. อาการที่มึนจนลืมตัวขาดสติเพราะฤทธิ์เหล้าฤทธิ์ยาเป็นต้น เช่น เมาเหล้า เมากัญชา, มีอาการวิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียนเพราะโดยสารเรือ รถ เครื่องบิน เป็นต้น เช่น เมาเรือ เมารถ เมาเครื่องบิน, ลุ่มหลงจนลืมตัวเพราะมียศมีอำนาจ เป็นต้น เช่น เมายศ เมาอำนาจ.
  38. เมาคลื่น : ก. มีอาการวิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียนในเวลาที่เรือโดยสารถูกคลื่นในทะเล.
  39. เมาดิบ : (ปาก) ก. ทําอาการเหมือนคนเมาเหล้า.
  40. เมาหมัด : ก. มีอาการมึนงงเพราะเคยถูกชกหนัก ๆ มาแล้ว.
  41. เมียงม่าย : ก. ทําอาการประเดี๋ยวชําเลืองประเดี๋ยวเมิน.
  42. เมื่อย : ก. อาการเพลียของกล้ามเนื้อเมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ อยู่เป็นเวลานาน เช่น เดินอยู่นานจนเมื่อย เมื่อยมือเพราะเขียนหนังสือนาน.
  43. เมื่อยขบ : ก. อาการที่เมื่อยปวดเหมือนมีอะไรขบบีบ หรือกดอยู่ที่ตรงนั้น.
  44. เมื่อยปาก : ก. อาการที่พูดซ้ำ ๆ มาหลายครั้งหรือนานจนไม่อยากพูดอีก.
  45. เมื่อยล้า : ก. อาการที่เมื่อยมากทำให้เดินเคลื่อนไหวได้ช้าลง.
  46. แมงดา : น. ชื่อสัตว์ทะเลในวงศ์ Xiphosuridae รูปร่างคล้ายจานควํ่า หางยาวเป็นแท่ง ในน่านนํ้าไทยพบ ๒ ชนิด คือ แมงดาจาน (Tachypleus gigas) ความยาวลําตัว ถึงปลายหางยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร มีสันหางเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย หน้าตัด ของหางมีรูปคล้ายสามเหลี่ยม และ แมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เหรา หรือ แมงดาไฟ (Carcinoscorpius rotundicauda) ความยาวลําตัวถึงปลายหางยาว ได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร สันหางเรียบมน หน้าตัดของหางค่อนข้างกลม ในบางท้องถิ่น และบางฤดูกาล ถ้านํามากินอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ทั้ง ๒ ชนิด, แมงดาทะเล ก็เรียก; ชื่อตะเกียงอย่างโบราณ รูปคล้ายแมงดาทะเล ใช้แขวนจุดตามโรงหนัง โรงโขน; ชื่อนาฬิกาแขวนมีรูปเป็น ๒ ตอนคล้ายกับรูปแมงดาทะเล; (ปาก) ชายที่อาศัยนํ้าพักนํ้าแรงของผู้หญิงโสเภณีดํารงชีวิต.
  47. แมะ : ก. นั่งหรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น เอาไปแมะไว้, แหมะ ก็ว่า. ว. อาการที่นั่ง หรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น พอเหนื่อยก็นั่งแมะตรงนี้เอง, แหมะ ก็ว่า.
  48. โมเมนต์ : น. เรียกอาการที่วัตถุหมุนรอบจุดหนึ่งที่ตรึงอยู่กับที่ว่าเกิดโมเมนต์ขึ้นที่วัตถุนั้น, ทางวิทยาศาสตร์กําหนดว่า โมเมนต์ของแรงใดแรงหนึ่งรอบจุดใดจุดหนึ่งซึ่งตรึง อยู่กับที่ ก็คือผลคูณระหว่างแรงนั้นกับระยะทางที่ลากจากจุดนั้นไปตั้งฉาก กับแนวทิศของแรงนั้น. (อ. moment).
  49. ไม่หยุดหย่อน : ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
  50. ยวบ : ก. อาการที่ไหวจะยุบลง เช่น นอกชานยวบ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.0622 sec)