Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 901-950
  1. เยียบ : ก. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น, มักใช้ควบกับ คํา เย็น เป็น เย็นเยียบ หรือ เยียบเย็น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึก เย็นเยียบ.
  2. เยี่ยม ๆ มอง ๆ : ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา เยี่ยม ๆ มอง ๆ.
  3. เยี่ยวอูฐ : น. ยาดมชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบเป็นเม็ดแอมโมเนียม คาร์บอเนตผสมนํ้าแอมโมเนียและสารหอมบางอย่าง ใช้สูดดมแก้ อาการวิงเวียน.
  4. เยือก ๑ : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ, เย็นยะเยือก หรือ เย็นเยือก ก็ว่า.
  5. เยือก ๒ : ว. อาการที่ไหวน้อย ๆ เช่น พายุพัดเรือนไหวเยือก.
  6. เยื้อน : ก. เอื้อนกล่าวออกมาโดยมีอาการแช่มช้างดงาม.
  7. แย่ : ก. แบะขาและย่อลง, ย่อลง. ว. เต็มที, หนัก, เช่น ปลายเดือนการเงินแย่ อาการไข้แย่เพียบลงทุกวัน.
  8. แยกเขี้ยว : ก. เผยอริมฝีปากให้เห็นเขี้ยวด้วยอาการโกรธหรือขู่ เช่น เสือ แยกเขี้ยว, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงพูดด้วยความโกรธหรือขู่.
  9. แยงตา : ก. อาการที่แสงส่องสวนตรงมายังนัยน์ตา เช่น แสงอาทิตย์แยงตา.
  10. แยงแย่ : ว. อาการที่นั่งยอง ๆ แต่ถ่างขากว้าง เช่น นรสิงห์นั่งแยงแย่, อาการที่ยืน แบะขาและย่อเข่าลง เช่น ยักษ์วัดพระแก้วยืนแยงแย่.
  11. โยก : ก. คลอน เช่น ฟันโยก เก้าอี้โยก, เคลื่อนไหว เช่น กิ่งไม้โยก, ทําให้มี อาการเช่นนั้น เช่น โยกฟัน โยกกิ่งไม้; โดยปริยายหมายถึงอาการที่พูด หรือทำพิโยกพิเกน เช่น กว่าจะตกลงกันได้ พูดโยกอยู่นาน, โยกโย้ ก็ว่า.
  12. โยกโย้ : ก. อาการที่พูดหรือทำพิโยกพิเกน เช่น กว่าจะตกลงกันได้พูด โยกโย้อยู่นาน, โยก ก็ว่า.
  13. โยคนิทรา : น. การเข้าฌานแล้วไม่รู้สึกถึงสิ่งภายนอก, อาการที่แสร้งทํา เช่นนั้น. (ส. โยคนิทฺรา).
  14. โย่ง ๆ : ว. อาการที่คนผอมสูงเดินก้าวยาว ๆ เรียกว่า เดินโย่ง ๆ.
  15. โยง ๑ : ก. ผูกให้ติดกันเพื่อลากหรือจูงไป เช่น โยงเรือ, เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้การ โยงไปถึงอีกคนหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มัดมือ ๒ ข้างแขวนขึ้นไปให้เท้า พ้นพื้นหรือเรี่ย ๆ พื้นว่า มัดมือโยง, เรียกอาการที่อยู่ประจําแต่ผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องอยู่ว่า อยู่โยง, เรียกเรือสําหรับลากจูงเรืออื่นว่า เรือโยง และ เรียกเรือที่ถูกลากจูงไปนั้นว่า เรือพ่วง.
  16. โย่งเย่ง : ว. อาการที่คนสูงโย่งเดินโยกเยกไปมา; ไม่รัดกุม.
  17. โย้เย้ : ว. รวนหรือซวนเซมีอาการจะหลุดหรือทลายลง เช่น ฟันโย้เย้ เรือน โย้เย้, ไม่ตรงรูป เช่น เขียนหนังสือโย้เย้.
  18. รด : ก. เท ราด สาด ฉีด หรือโปรยน้ำหรือของเหลวไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้เปียกหรือให้เปียกชุ่ม เช่น รดน้ำต้นไม้ เอาน้ำรดตัว; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวรดที่นอนนกขี้รดหลังคา.
  19. ร่วน : ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลําคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตก ละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.
  20. รวบ : ก. อาการที่เอาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกันให้เป็นฟ่อน เป็นมัด เป็นกลุ่ม เป็นกอง เป็นต้น, เอามือทั้ง ๒ ข้างหรือวงแขนโอบรัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า หาตัว เช่น รวบตัว รวบเอว รวบขา; (ปาก) จับ เช่น ขโมยถูกตำรวจรวบ.
  21. ร่วมสังฆกรรม : ก. อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ปาก) ทำงาน ร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา.
  22. ร้องกระจองอแง : ก. อาการที่เด็กหลาย ๆ คนร้องไห้พร้อม ๆ กัน.
  23. รองพื้น ๑ : ก. อาการที่ทาสีชั้นต้นให้พื้นเรียบเสมอกันเพื่อรองรับสีที่จะ ระบายหรือทาทับลงไป, เรียกสีที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า สีรองพื้น; อาการที่เอาครีมหรือแป้ง; ป็นต้นทาหน้าเพื่อให้ผิวหน้าเรียบก่อนแต่งหน้า, เรียกครีมหรือแป้งเป็นต้นที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า ครีมรองพื้น แป้งรองพื้น.
  24. ร่องแร่ง : ว. อาการที่ห้อยติดอยู่จวนจะหลุด เช่น เขาถูกฟันแขนห้อยร่องแร่ง แมว คาบหนูห้อยร่องแร่ง, กะร่องกะแร่ง.
  25. รอน ๆ : ว. อ่อนแสง (ใช้แก่พระอาทิตย์เวลาใกล้คํ่า) เช่น แสงตะวัน รอน ๆ, อาการที่ใกล้จะขาดหรือสิ้นสุดลง ในความว่า ใจจะขาดอยู่ รอน ๆ.
  26. ร่อน : ก. อาการของสิ่งมีลักษณะแบนเลื่อนลอยไปหรือมาในอากาศ, ทำให้ สิ่งแบน ๆ เคลื่อนไปในอากาศหรือบนผิวน้ำ เช่น ร่อนรูป ร่อนกระเบื้อง ไปบนผิวน้ำ; กางปีกแผ่ถาไปมาหรือถาลง เช่น นกร่อน เครื่องบินร่อน ลง; แยกเอาของละเอียดออกจากของหยาบ โดยใช้เครื่องแยกมีแร่ง เป็นต้นแกว่งยักไปย้ายมา ให้ของที่ละเอียดหลุดลงไป เช่น ร่อนข้าว, แกว่งวนเวียนไปรอบตัว เช่น ร่อนดาบ; เอาคมมีดถูวนเบา ๆ ที่หิน ในคําว่า ร่อนมีด.
  27. ร้อนรน : ก. แสดงอาการกระวนกระวาย, ทุรนทุราย.
  28. ร้อน ๆ หนาว ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะ เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัว ว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, สะบัดร้อนสะบัดหนาว หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
  29. รอม ๑ : ว. อาการที่โค้งเข้าหากันเป็นวง เช่น ควายเขารอม, ลอม ก็ว่า.
  30. ร้อยลิ้น, ร้อยลิ้นกะลาวน : ว. อาการที่พูดกลับกลอกตลบตะแลง.
  31. ร่อแร่ : ว. อาการหนักจวนตาย เช่น อยู่ในอาการร่อแร่.
  32. ระด่าว : ว. อาการที่ดิ้นสั่นรัวไปทั้งตัว, เร่าร้อน.
  33. ระทึก : ก. อาการที่ใจเต้นตึก ๆ.
  34. ระนาด ๓ : ว. อาการที่ล้มทับกัน, อาการที่เรียงกันเป็นแถว, มักใช้เข้าคู่กับคำระเน และ ระเนน เป็น ระเนระนาด และ ระเนนระนาด.
  35. ระเนน : ว. อาการที่ล้มทับกัน, อาการที่เอนราบทับกัน.
  36. ระบม : ก. อาการเจ็บร้าวที่เกิดจากความเมื่อยขัดหรือบอบชํ้าเป็นต้น เช่น ฝีระบม จนเป็นไข้ ถูกตีระบมไปทั้งตัว, ชอกช้ำ เช่น อกระบม ระบมใจ.
  37. ระริก : ก. ไหวถี่ ๆ, สั่นเร็ว ๆ, เช่น ใจสั่นระริก ตัวสั่นระริก; อาการที่หัวเราะ กระซิกกระซี้ เช่น หัวเราะระริก.
  38. ระสะเก็ด : ว. เรียกอาการลงโทษเฆี่ยนหลังซํ้าแผลเก่าที่ตกสะเก็ดแล้วว่า เฆี่ยนระสะเก็ด, โดยปริยายหมายความว่า พูดตําหนิซํ้าแล้วซํ้าอีก.
  39. ระเหย : ก. อาการที่ของเหลวกลายเป็นไอ.
  40. ระเหิด : ก. พ้น เช่น ระเหิดจากบาป; (วิทยา) อาการที่ของแข็งกลายเป็นไอ เช่น การบูรระเหิด ลูกเหม็นระเหิด. ว. สูงตระหง่าน, ระเหิดระหง ก็ว่า.
  41. รัด : ก. โอบรอบหรือพันให้กระชับ เช่น กอดรัด งูเหลือมรัด เอายางรัด, คับ, ตึง, เช่น แขนเสื้อรัด กระโปรงรัดสะโพก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเม็ดต้อยติ่งพอกทําให้ฝีรัด.
  42. รั่ว ๑ : ก. อาการที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นไหลเข้าหรือออกทางรอยแตก หรือรูที่เกิดจากความชํารุด เช่น นํ้ารั่ว ฝนรั่ว. ว. มีรอยแตกหรือมีรูซึ่ง เกิดจากความชํารุดที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นเข้าออกได้ เช่น เรือรั่ว ท่อประปารั่ว หลังคารั่ว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ข่าวรั่ว ข้อสอบรั่ว.
  43. รั่ว ๒ : ว. อาการที่ไล่ไม้ตีระไปบนลูกระนาดโดยไม่ลงคู่ ทำให้เสียงเพี้ยนหรือ ไม่ชัดเจน เช่น เขาตีระนาดรั่ว ฟังไม่เป็นเพลง.
  44. รัว ๒, รัว ๆ : ก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทําให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลอง รัวปืนกล;อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว. ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ;ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพ รัว ๆ เห็นรัว ๆ.
  45. ร่า : ว. อาการที่แสดงให้เห็นว่าเบิกบานเต็มที่ เช่น หัวเราะร่า ยิ้มร่า; เปิด เต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่า หน้าต่างเปิดร่า.
  46. รากสาด : น. กลุ่มโรคที่มีอาการไข้สูงนานเป็นสัปดาห์ มีผื่นขึ้น แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ ไข้รากสาดน้อย และไข้รากสาดใหญ่.
  47. รากสาดน้อย : น. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ซึมและทําให้ลําไส้อักเสบและเป็นแผล ถ้าร้ายแรง ลําไส้จะ ทะลุและมีเลือดออกมากับอุจจาระ,เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าว นี้ว่า ไข้รากสาดน้อย, เรียกโรคที่คล้ายกันแต่อาการรุนแรงน้อยกว่า เกิด จากเชื้อ Salmonella paratyphi ว่า ไข้รากสาดเทียม.
  48. รากสาดใหญ่ : น. โรคติดเชื้อ Rickettsia มีอาการคล้ายไข้รากสาดน้อย แต่มักจะรุนแรงกว่ามีหลายชนิด ชนิดที่เป็นโรคระบาดเกิดจากเชื้อ Rickettsia prowaseki, เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวนี้ว่า ไข้รากสาดใหญ่.
  49. ราด : ก. เทของเหลว ๆ เช่นนํ้าให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรี่ยรายไปทั่ว เช่น ราดนํ้า ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ข้าวราดแกง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวราด ขี้ราด.
  50. ราบคาบ : ว. อาการที่ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ยอมแพ้อย่างราบคาบ; เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมือง สงบราบคาบตำรวจปราบโจรผู้ร้ายเสียราบคาบ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.0616 sec)