Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ช้างเท้าหลัง, เท้า, หลัง, ช้าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ช้างเท้าหลัง, 1413 found, display 251-300
  1. หนามหลัง : ดู ตามิน.
  2. ห่วงหน้าพะวงหลัง, ห่วงหน้าห่วงหลัง : ก. พะว้าพะวัง.
  3. หันหลังชนกัน : (สํา) ก. ร่วมมือร่วมใจกัน.
  4. หันหลังให้กัน : (สำ) ก. โกรธกัน, เลิกคบค้ากัน.
  5. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือ ประสานรัดก้น.
  6. เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
  7. เห็นหน้าเห็นหลัง : ก. เห็นผลงานที่ได้ลงทุนลงแรงไป.
  8. โหราตีนหมา, โหราเท้าสุนัข : น. ชื่อพืชเบียนชนิด Balanophora abbreviata Blume ในวงศ์ Balanophoraceae ใ ช้ทํายาได้.
  9. อ้อยเข้าปากช้าง : (สํา) น. สิ่งหรือประโยชน์ที่ตกอยู่ในมือแล้ว ไม่ยอมคืน.
  10. อ้อยช้าง : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Lannea coromandelica Merr. ในวงศ์ Anacardiaceae ขึ้นตามป่า ใช้ทํายาได้, กุ๊ก ก็เรียก. (๒) ดู กาซะลองคํา ที่ กาซะลอง.
  11. เอนกาย, เอนตัว, เอนหลัง : ก. นอน.
  12. เอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง : (สํา) ก. เอาทรัพย์หรือสิ่งของจากคน ที่มีน้อยไปให้แก่ผู้ที่มีมากกว่า.
  13. กรี ๑ : [กะรี] (แบบ) น. ช้าง เช่น ถัดนั้นพลนิกรพวกกรี. (ม. คําหลวง มหาราช).
  14. กเรณุ : [กะเรนุ] (แบบ) น. ช้าง เช่น ไร้เกวียนกาญจนยานสินธพแลสี- พิกากเรณุหัสดี ดำรง. (สรรพสิทธิ์).(ป.).
  15. กเรนทร, กเรนทร์ : (กลอน; แผลงมาจาก กรินทร์) น. ช้าง เช่น พลคชคณหาญหัก กเรนทรปรปักษ์ ปราบประลัย. (สมุทรโฆษ).
  16. กายาพยพ : [กายาพะยบ] น. ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า. (ป., ส. กาย + อวยว).
  17. กุญชร : [กุนชอน] (แบบ) น. ช้าง. (ป.).
  18. โกรย : [โกฺรย] น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า. (ยวนพ่าย), อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง. (ทวาทศมาส). (ข.).
  19. ขมิ้นเครือ : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในวงศ์ Menispermaceae เช่น ชนิด Arcangelisia flava (L.) Merr., Fibraurea tinctoria Lour. ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทํายาได้, ชนิด หลัง กําแพงเจ็ดชั้น ก็เรียก.
  20. ขยี้ : [ขะยี่] ก. ใช้มือ เท้า หรือเล็บเป็นต้นบี้ซํ้า ๆ ให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้พิมเสน, ขยี้ดิน, เอาวัตถุเช่นผ้าถูกับเนื้อของมันเองในการซักฟอก, เอาวัตถุเช่นกระดาษถูกับเนื้อของมันเองเพื่อให้นิ่ม, เอามือกดถูไปมา เช่น ขยี้ตา ขยี้ผม, โดยปริยายหมายความว่า ทําลายให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้ข้าศึก.
  21. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  22. ขึ้นระวาง : ก. เข้าทําเนียบ, เข้าประจําการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).
  23. คชสาร : น. ช้าง.
  24. คาราเต้ : น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดยการใช้อวัยวะต่าง ๆ เช่น มือ เท้า ศอก ศีรษะ ที่ฝึกจนแข็งแกร่งแล้ว มีแพร่หลายในญี่ปุ่นและเกาหลี. (ญิ.).
  25. คุ้ย : ก. ใช้มือ เท้า หรือสิ่งอื่นตะกุยขึ้นมา.
  26. จังหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับ หลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า; ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).
  27. จำห้าประการ : ว. มีเครื่องจองจําครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้า ติดขื่อไม้ ๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไป ในคาและไปติดกับขื่อทําด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จําครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).
  28. เจ่ง ๑ : (โบ) น. ช้าง.
  29. ชะโอน : น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Siluridae มีฟันเล็กแต่ แหลมคมลําตัวด้านหลังสีนํ้าตาลครีบต่าง ๆ มีจุดประสีเทาดํา เป็นพวกปลาเนื้ออ่อนมี ๒ ชนิด คือ ชนิด Ompok bimaculatus ซึ่งมีครีบหลัง ปากเชิดขึ้นเหนือครีบอกมีจุดกลมสีดํา ๑ จุด, เนื้ออ่อน โอน หน้าสั้น สยุมพรหรือ นาง ก็เรียก; และชนิด Kryptopterus apogon ไม่มีครีบ หลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดดําบนลําตัว, เนื้ออ่อน แดง นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก.
  30. เชือก : น. สิ่งที่ทําด้วยด้ายหรือป่านปอเป็นต้น มักฟั่นหรือตีเกลียว สําหรับผูกหรือมัด; ลักษณนามเรียกช้างบ้าน เช่น ช้าง เชือกหนึ่ง ช้าง ๒ เชือก.
  31. เซปักตะกร้อ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้ขา เท้า เข่า ลําตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตําแหน่ง ที่กําหนดไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ. (ม. sepak ว่า เตะ).
  32. ทนดี ๒ : (แบบ) น. ช้าง. (ป. ทนฺตี; ส. ทนฺตินฺ ว่า สัตว์มีงา).
  33. ทวิป : น. ช้าง. (ส. ทฺวิป ว่า ผู้ดื่ม ๒ หน คือ ด้วยงวงและด้วยปาก).
  34. ทันติน, ทันตี : (แบบ) น. ช้าง. (ส. ทนฺตินฺ; ป. ทนฺตี).
  35. ทุติยาสาฬหะ : [-สานหะ] (แบบ) น. เดือน ๘ ที่ ๒, เดือน ๘ หลัง. (ป.).
  36. นาค ๓, นาค : [นาก, นากคะ] (แบบ) น. ช้าง. (ป.).
  37. นาคี ๒ : (กลอน) น. ช้าง เช่น ขี่ยาตรานาคี. (ตะเลงพ่าย).
  38. บท ๒, บท- ๒ : (แบบ) เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคําอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทศรี บทเรศ, (ดูคําแปลที่คํานั้น ๆ). (ป. ปท).
  39. บทบงกช : [บดทะ-] (กลอน) น. บัวบาท, เท้า. (ส. ปทปงฺกช).
  40. บทเรศ : [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  41. บทวเรศ : [บดทะวะเรด] (แบบ) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณต บทวเรศราชชนนี. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).
  42. บทศรี : [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า (ใช้แก่เจ้านาย).
  43. ปศุ : [ปะสุ] น. สัตว์เลี้ยงสําหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู, มักใช้ประกอบคํา สัตว์ เป็น ปศุสัตว์. (ส.; ป. ปสุ).
  44. ปิฐิ : [ปิดถิ] (แบบ) น. หลัง. (ป. ปิฏฺ??; ส. ปฺฤษฺ?).
  45. แปด ๑ : น. จํานวนเจ็ดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่าเดือน ๘ ตก ในราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม, ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ แรก และ ๘ หลัง. แปดบท น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  46. พารณ, พารณะ : [พารน, พาระนะ] น. ช้าง. (ป., ส. วารณ).
  47. มงโกรย : น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด Hilsa kelee ในวงศ์ Clupeidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดใน แนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจํานวน มากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลําตัวสีเงิน หลัง สีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดํา ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ขมงโกรย หรือ ลินโกรย ก็เรียก. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tenualosa thibaudeaui ในวงศ์ Clupeidae ซึ่งพบเฉพาะในแม่นํ้าโขง ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลามงโกรย (๑) มาก แต่ลําตัวยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, หมากผาง ก็เรียก.
  48. มาตงค์ : น. ช้าง. (ป. มาตงฺค).
  49. มาตังคะ : [-ตังคะ] น. มาตงค์, ช้าง. (ป.).
  50. มุ้ง : น. ผ้าหรือสิ่งอื่นที่ทําขึ้นสําหรับกางกันยุงหรือป้องกันยุง, ลักษณนามว่า หลัง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1413

(0.1398 sec)