Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รูป , then รป, รุป, รูบ, รูป, รูปะ, รูปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รูป, 1511 found, display 1251-1300
  1. เลา ๆ : ว. พอเป็นรูปเค้า เช่น เขียนเป็นเลา ๆ.
  2. เลาความ : น. รูปความหรือราวความแต่ย่อ ๆ พอเป็นเค้าเรื่อง.
  3. เลียงผา ๑ : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Capricornis sumatraensis ในวงศ์ Bovidae รูปร่างคล้ายแพะ ขนสีดํา บางตัวมีสีขาวแซม ขายาวและแข็งแรง มีต่อมนํ้ามันตรงส่วนหน้าของตาทั้ง ๒ ข้าง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย พบอยู่ตามภูเขาหรือหน้าผาสูง ๆ, กูรํา โครํา เยือง หรือ เยียงผา ก็เรียก.
  4. เลียงฝ้าย : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Eriolaena candollei Wall. ในวงศ์ Sterculiaceae ใบรูปไข่ป้อม ปลายมี ๓ แฉก ดอกสีเหลือง ผลมีพูตามยาว ๗–๑๐ พู, ปอเลียงฝ้าย หรือ เลียงขาว ก็เรียก.
  5. เลื่อม : น. วัสดุสำหรับปักลวดลายลงบนผ้า มักมีลักษณะบางเป็นรูปกลม แบนเล็ก ๆ ตรงกลางมีรู เป็นเงามันสำหรับใช้ปักลวดลาย เช่นเสื้อ โขนตัวทศกัณฐ์ พระราม พระลักษมณ์ เป็นต้น. ว. เป็นเงามัน.
  6. เลื่อยฉลุ : น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิด หนึ่งมีคันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ? ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลาย ตอนล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบน ขนาดเล็ก.
  7. เลื่อยทำทอง : น. เครื่องมือช่างทอง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นเส้นลวด แบน ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็ก เป็นรูปอย่างนี้ ? คล้ายคันเลื่อยฉลุ แต่สั้นกว่าและทำด้วยเหล็ก แข็งกว่า.
  8. เลื่อยลอ : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายข้างหนึ่งมีด้ามสำหรับจับ.
  9. เลื่อยหางหนู : น. เครื่องมือสำหรับฉลุหรือโกรกไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาวปลายเรียวแหลมที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นรูปขอ สำหรับจับ.
  10. แล็กเกอร์ : น. น้ำมันชักเงาประเภทหนึ่งที่ใช้ทาหรือพ่นเคลือบผิววัตถุให้เป็นเงา มันและสวยงาม ประกอบด้วยตัวทำละลายที่ระเหยแห้งได้ง่าย เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) บิวทิลแอซิเทต (butyl acetate) และ ตัวถูกละลาย เช่น ไนโตรเซลลูโลส (nitrocellulose) ไวนิลเรซิน (vinyl resin) เมื่อนำไปทาหรือพ่นผิววัตถุ ตัวทำละลายจะระเหยแห้ง ไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งตัวถูกละลายให้เป็นของแข็งเคลือบผิววัตถุเป็น เงามัน มีหลายชนิด เช่น ชนิดใช้กับพื้นไม้ ชนิดใช้กับพื้นโลหะ ชนิดใช้พ่นเคลือบเส้นผมให้ทรงรูป ชนิดใช้ทาเคลือบเล็บ.
  11. โล่ ๒ : น. เครื่องปิดป้องศัตราวุธ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทําด้วยโลหะหรือหนังดิบ ด้านหลังมีที่จับ, มักใช้คู่กับดาบหรือหอก, โดยปริยายหมายถึงการเอา คนหรือสิ่งอื่นต่างโล่เพื่อกันความเสียหายแก่ตัว; สิ่งที่มีลักษณะคล้าย คลึงโล่สําหรับมอบแก่ผู้ชนะการแข่งขันกีฬาเป็นต้น.
  12. โลก, โลก– : [โลก, โลกะ–, โลกกะ–] น. แผ่นดิน, โดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ เช่น ให้โลกนิยม; ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก โลกพระอังคาร; (ภูมิ) ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ ๕ ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว ๑๒,๗๕๕ กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลกยาว ๑๒,๗๑๑ กิโลเมตร มี เนื้อที่บนผิวโลก ๕๑๐,๙๐๓,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร. (ป., ส.).
  13. โลน ๒ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กชนิด Pthirus pubis ในวงศ์ Pediculidae ตัวยาว ๑.๕–๒ มิลลิเมตร ลําตัวค่อนไปทางรูปไข่แบน สีขาว อมนํ้าตาลอ่อน ไม่มีปีก ปลายขางอแหลมเกือบเป็นง่ามเหมือน ก้ามปู อาศัยอยู่ตามบริเวณขนในที่ลับของคน กัดและดูดเลือด กินเป็นอาหาร ทําให้เกิดอาการคัน.
  14. ไล่ผม : ก. ตัดหรือเก็บเล็มผมให้เข้ารูปทรง.
  15. ฦ, ฦๅ ๑ : วิธีเขียนเสียง ลึ ลือ แต่บัญญัติเขียนเป็นอีกรูปหนึ่งต่างหาก อนุโลมตามอักขรวิธี ของสันสกฤต.
  16. วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  17. วงกลม : น. รูปวงที่กลม รอบมีรัศมีจากจุดศูนย์กลางไปถึงขอบมี ขนาดเท่ากันหมด; (คณิต) รูปที่เกิดจากเซตของจุดบนระนาบเซต หนึ่งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะเท่ากัน.
  18. วงรี : น. รูปวงที่กลมเรียวอย่างลูกสมอหรือเมล็ดข้าวสาร; (คณิต) รูปคล้ายรูปไข่ที่เกิดจากเซตของจุดบนระนาบเซตหนึ่ง โดยผลบวก ของระยะจากจุดแต่ละจุดไปยังจุดตรึงอยู่กับที่ ๒ จุด มีค่าคงตัว เสมอ.
  19. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  20. วงเล็บปีกกา : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควง คำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่ม เดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น (มีรูปภาพ) ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลข หรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x 5{7 (x 6) + 3x} 28 = 39.
  21. วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
  22. วงแหวน : [แหฺวน] น. โลหะหรือแผ่นหนังเป็นต้นที่ทําเป็นรูป แหวนสําหรับรองอย่างที่หัวสลักเกลียวหรือที่เพลา เพื่อกันสึกหรอ หรือเพื่อให้กระชับแน่น, มักเรียกว่า แหวน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่ง อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
  23. วอ : น. ยานที่มีลักษณะเป็นรูปเรือนหลังคาทรงจั่ว สําหรับเจ้านายหรือ ข้าราชการฝ่ายในนั่งมีคานรับอยู่ข้างใต้คู่หนึ่ง ใช้คนหาม, เรียก รถยนต์ที่มีวอสําหรับเชิญศพตั้งบนกระบะรถว่า รถวอ.
  24. วัตถุนิยม : น. ทฤษฎีหรือความเชื่อที่ว่าวัตถุเท่านั้นมีอยู่จริง; การให้ คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม, สสารนิยม ก็ว่า.
  25. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  26. วับ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่าง ซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคําก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคําซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับ ไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
  27. วัวเขาเกก : น. วัวที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึง คนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า.
  28. ว่าว ๑ : น. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสาย ซุงสําหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู.
  29. วิกล : [วิกน] ว. ไม่ปรกติ, แปลกไป, ไม่สมบูรณ์, อ่อนแอ, เช่น รูปร่าง วิกลหน้าตาวิกล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ วิการ เป็น วิกลวิการ เช่น รูปร่างวิกลวิการ. (ป., ส.).
  30. วิคหะ : [วิกคะ] น. การทะเลาะ, การโต้เถียง; ร่างกาย, รูปร่าง, ตัว; การแยกออกเป็นส่วน ๆ. (ป. วิคฺคห; ส. วิคฺรห).
  31. วิจิตรพิศวง : [จิดพิดสะหฺวง] ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลาย ชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
  32. วิทยุ : [วิดทะยุ] น. กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตาม อากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสู่อากาศว่า เครื่องส่งวิทยุ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียง ตามเดิมว่า เครื่องรับวิทยุ.
  33. วิศาขา ๒, วิสาขะ ๑ : น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนนาง หนองลาด เหมือง หรือไม้ฆ้อง, ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ ก็เรียก. (ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).
  34. วิสรรชนีย์ : [วิสันชะนี] น. เครื่องหมายสระรูปดังนี้ ะ ใช้ประหลังอักษร. (ส. วิสรฺชนีย).
  35. วิหารคด : น. วิหารที่มีลักษณะคดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม อาจมีหลัง เดียวก็ได้โดยมากจะมี ๔ มุม และประดิษฐานพระพุทธรูป, สิ่งก่อสร้างที่คดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม.
  36. วิหารยอด : น. วิหารที่มียอดเป็นรูปทรงต่าง ๆ, ถ้ายอดทรงเจดีย์ เรียกว่า วิหารยอดเจดีย์,''; ถ้ายอดทรงปรางค์ เรียกว่า วิหารยอดปรางค์.
  37. วิหาร, วิหาร : [วิหาน, วิหาระ] น. วัด, ที่อยู่ของพระสงฆ์; ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์; การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อน ในเวลากลางวัน. (ป., ส.).
  38. วุบ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งที่มีรูปร่าง ที่ปรากฏให้เห็นแล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น หายวุบ.
  39. เว้า ๒ : ว. มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งหรือบุ๋มเข้าไป เช่น เสื้อแขนเว้า.
  40. แว่นเวียนเทียน : น. แว่นสำหรับใช้ติดเทียนทำขวัญ ทำด้วยเงิน ทอง หรือทองเหลือง รูปแบน ๆ มีปลายแหลมเหมือนใบโพสำหรับติด เทียน มีด้ามถือ.
  41. ไวยากรณ์ : น. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคําและระเบียบในการประกอบรูปคําให้เป็น ประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตําราไวยากรณ์).
  42. ศก ๑ : น. ผม เช่น พระศกพระพุทธรูป. (ข.).
  43. ศตภิษัช, สตภิสชะ : [พิสัด, พิดสะชะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปทิมทองหรือมังกร, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์ ก็เรียก.
  44. ศรรกรา : [สักกะรา] น. ก้อนกรวด; นํ้าตาลกรวด. (ส. ศรฺกรา; ป. สกฺกร). [สะระวะนะ, สาวะนะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๒ มี ๓ ดวง เห็นเป็น รูปหามผีหรือโลง, ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี ก็เรียก. (ส.).
  45. ศศธร : น. ทรงไว้ซึ่งรูปกระต่าย คือ ดวงจันทร์. (ส.).
  46. ศัลยกรรมตกแต่ง : น. การผ่าตัดอวัยวะเพื่อรักษาหรือปรับปรุง รูปร่างของอวัยวะให้สวยงามและเหมาะสม โดยอวัยวะนั้น ๆ คงทำหน้าที่ได้ตามปรกติ รวมทั้งเป็นการบูรณะส่วนที่ผิดปรกติ ให้กลับสู่สภาพปรกติด้วย.
  47. ศาลพระภูมิ : น. ที่สถิตของเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่ ทำด้วยไม้เป็นเรือนหลังคาทรงไทยตั้งอยู่บนเสาเดียว ปัจจุบัน ทำด้วยปูนเป็นรูปปราสาทก็มี.
  48. ศาลาสรง : [สง] (ถิ่นพายัพ, อีสาน) น. ศาลาขนาดย่อมมุงหลังคา และมีฝากั้นมิดชิด ใช้เป็นที่สรงนํ้าพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ปฏิบัติ กันในเทศกาลสงกรานต์โดยทํารางนํ้ารูปนาคพาดเข้าไปในศาลา เวลาสรงนํ้าพระให้เทนํ้าลงบนรางนั้น.
  49. ศาสนวัตถุ : น. วัตถุที่เกี่ยวเนื่องทางศาสนา มักเป็นสิ่งที่เคารพบูชา เช่น พระพุทธรูปเป็นศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนา.
  50. ศิรประภา : น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ พระพุทธรูป. (ส.; ป. สิรปภา).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | [1251-1300] | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1511

(0.1234 sec)