Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เลิก , then ลก, เลิก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เลิก, 154 found, display 101-150
  1. ตัด : ก. ทําให้ขาดด้วยของมีคม เช่น ตัดกระดาษ ตัดผ้า; ทอน เช่น ตัดเงินเดือน, ลัด เช่น เดิน ตัดทาง; ตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําให้เป็นสิ่งสําเร็จรูป เช่น ตัดเสื้อ ตัดรองเท้า; โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตัดญาติ ตัดกิเลส. ตัดกัน ก. ขัดกัน, ไม่กินกัน, ไม่กลมกลืนกัน, (ใช้แก่สี); ตัดผ่านขวางกัน เช่น ถนนตัด กัน. ตัดขาด ก. เลิกติดต่อคบหากัน.
  2. ถอน : ก. ฉุดขึ้น, ดึงขึ้น, เช่น ถอนฟัน ถอนเสา ถอนหญ้า; บอกเลิก เช่น ถอนประกัน ถอนฟ้อง ถอนหมั้น; เอาตัวออกจากพันธะ เช่น ถอนตัว; ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ถอนฉุน.
  3. ถ่านไฟเก่า : (สํา) น. ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อน แม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ ง่ายขึ้น.
  4. เถลิก : [ถะเหฺลิก] ว. เถิก, เลิกขึ้นไป, เช่น ขากางเกงเถลิกขึ้นไป.
  5. ทิ้งทวน : (ปาก) ก. ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทํา อีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวย โอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ.
  6. นาย : น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้า ตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์ของ ข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  7. บ่อนแตก : ก. ก่อเรื่องทําให้คนที่มาชุมนุมกันต้องเลิกไปกลางคัน.
  8. บิณฑบาต : น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยาย หมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).
  9. ปิดฉาก : (ปาก) ก. เลิก, หยุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ปิดฉากแล้ว.
  10. เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
  11. เปลี่ยนใจ : ก. เลิกล้มความตั้งใจเดิม, เปลี่ยนความตั้งใจเดิมไปเป็น อย่างอื่น.
  12. เปิก : ว. ปอกหรือเลิกออก เช่น เล็บเปิก หนังเปิก.
  13. ผินหลังให้ : (สํา) ก. ไม่สนใจ, ไม่แยแส, ไม่ไยดี, เลิกคบกัน.
  14. พอกันที : (ปาก) ก. บอกเลิกกัน, ยุติกัน, ไม่เกี่ยวข้องกันอีกต่อไป.
  15. พ่อร้าง : (ถิ่น) น. ชายผู้เลิกกับเมีย.
  16. พับฐาน : (ปาก) ก. เลิกล้ม, ทําลายลงหมด; แพ้อย่างราบคาบ.
  17. ม้วนเสื่อ : (ปาก) ก. เสียการพนันจนหมดตัว; เลิกกิจการเพราะขาดทุนจนไม่สามารถดําเนิน กิจการนั้นต่อไปได้.
  18. มวยล้ม : น. การชกมวยบนเวทีที่คู่ต่อสู้ฝ่ายหนึ่งแกล้งยอมเป็นฝ่ายแพ้ เพื่อหวังผลในการพนัน, โดยปริยายหมายถึงการต่อสู้หรือเรื่องราวที่ดูเหมือนเอาจริงเอาจัง แต่กลับไม่จริงหรือเลิกล้มไป.
  19. ม่าย : ก. มองผ่านเลยไป. ว. ไร้คู่ครองเพราะผัวหรือเมียตายจากไปและยัง ไม่ได้แต่งงานใหม่ และหมายรวมถึงเพราะหย่าขาดจากกันด้วย, ถ้าเป็นชายเรียกว่า พ่อม่าย, ถ้าเป็นหญิงเรียกว่า แม่ม่าย, โดยปริยาย เรียกหญิงที่เลิกกับผัวว่า แม่ม่ายผัวร้าง หรือ แม่ร้าง, (โบ) ไร้คู่ผัวเมีย เช่น อนึ่งหญิงใดหาผัวมิได้เปนม่ายถือกำนัลอยู่ในวัง. (สามดวง), เขียนเป็น หม้าย ก็มี.
  20. มิอย่ารา : ว. ไม่เลิก, ไม่หยุด.
  21. มิอย่าเลย : ว. ไม่เลิกเลย, ไม่เป็นอย่างอื่นเลย.
  22. แม่ร้าง : น. หญิงที่เลิกกับผัว, บางทีเรียกว่า แม่ม่ายผัวร้าง.
  23. แยกย้าย : ก. แยกกันไปคนละทาง เช่น พองานเลิกต่างก็แยกย้ายกัน กลับบ้าน, แยกและย้ายไปอยู่คนละแห่ง เช่น เมื่อพ่อแม่ตายลูก ๆ ก็ แยกย้ายไปหาที่อยู่ใหม่.
  24. รา ๓ : ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป; น้อยลง, อ่อนลง, เช่น ไฟราดับไปเอง. (กลอน) ว. คําชวนอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทําตาม เช่น ไปเถิดรา.
  25. ราข้อ : ก. เลิกกันไปเอง เช่น ชกกันเหนื่อยก็ราข้อไปเอง.
  26. ร้างรา : ก. ค่อย ๆ เลิกร้างกันไปเอง เช่น ผัวเมียร้างรากัน.
  27. ราเริด : ก. เลิกร้างไป.
  28. เริดรา : ก. ค่อย ๆ เลิกกันไป.
  29. ลบศักราช : ก. เลิกใช้ศักราชเก่า ตั้งศักราชใหม่แทน.
  30. ล้มกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่น หมากรุก จึงพาลคว่ำกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุก บนกระดานเป็นต้น, คว่ำกระดาน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการ ที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานคุมเสียงสมาชิกไม่อยู่เลยล้มกระดานด้วยการเลิก ประชุม.
  31. ล้างมือ : ก. เลิกยุ่งเกี่ยวอีกต่อไป เช่น ล้างมือจากธุรกิจ ล้างมือจาก การเมือง.
  32. ลาโรง : ก. เลิกการแสดงมหรสพ เช่น โขน ละคร ลิเกครั้งหนึ่ง ๆ, (ปาก) เลิกกิจการหรืองานที่เคยทํามา เช่น เขาลาโรงจากการเมืองแล้ว.
  33. เลิกรา : ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น ร้านแถวนี้ขายไม่ดี จึงเลิกรากันไป เรื่อย ๆ บ้าน ๒ หลังนี้ทะเลาะกันเรื่อย หนักเข้าก็เลิกรากันไปเอง.
  34. แล้วก็แล้วกันไป, แล้วกันไป : ว. อาการที่พูดขอร้องให้เลิกแล้วต่อกัน เช่น เหตุการณ์ก็ผ่านพ้นไปแล้ว เรื่องนี้ขอให้แล้วกันไป.
  35. วันต์ : (แบบ) ก. คายแล้ว, ทิ้งหรือเลิกแล้ว. (ป.; ส. วานฺต).
  36. วางมือ : ก. ไม่เอาเป็นธุระ, หยุดหรือเลิกการงานที่ทําอยู่ชั่วคราว หรือตลอดไป เช่น วางมือจากทำสวนไปทำกับข้าว วางมือจากการเป็นครู.
  37. วิกขัมภนะ : [วิกขําพะ] น. การปลดเปลื้อง, การเลิกถอน; การข่มไว้. (ป.).
  38. ศาสนสมบัติกลาง : น. ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม ส่วนใหญ่ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และดอกผลที่เกิดขึ้นจากที่ดินและ อาคารนั้น ๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศ ยุบเลิกวัดแล้ว.
  39. หนาหู : ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหู ว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็น คำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.
  40. หย่านม : ก. เลิกกินนมแม่ (ใช้แก่เด็กและลูกสัตว์), อดนม ก็ว่า.
  41. หันหลังให้กัน : (สำ) ก. โกรธกัน, เลิกคบค้ากัน.
  42. ให้ออก : (กฎ) น. วิธีการสั่งให้พ้นจากราชการเพราะเหตุ (๑) ตาย (๒) พ้น จากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญ (๓) ลาออกจากราชการ และได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีใด กรณีหนึ่งตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น ให้ออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญ ให้ออก เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่ง ให้ออกเพื่อไปรับราชการทหาร.
  43. อดนม : ก. เลิกกินนมแม่ (ใช้แก่เด็กและลูกสัตว์), หย่านม ก็ว่า.
  44. อโหสิ : [อะ] ก. เลิกแล้วต่อกัน, ยกโทษให้.
  45. อโหสิกรรม : [อะ] น. กรรมที่เลิกให้ผล; การเลิกแล้วต่อกัน, การ ไม่เอาโทษแก่กัน. (ป. อโหสิกมฺม).
  46. ออกทุกข์ : ก. เลิกไว้ทุกข์.
  47. ออกบวช : ก. ไปถือเพศเป็นพระหรือนักพรตอื่น ๆ; ทางศาสนา อิสลาม หมายถึง เลิกถือศีลอด.
  48. ออกไฟ : ก. เลิกอยู่ไฟ.
  49. อารดี, อารติ : [อาระดี, ติ] น. การเว้น, การเลิก, การหยุด, อารัติ ก็ว่า. (ป. อารติ).
  50. อารัติ : [รัด] น. การเว้น, การเลิก, การหยุด, อารดี หรือ อารติ ก็ว่า. (ป., ส. อารติ).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-154

(0.0467 sec)