Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกีดขวาง, เครื่อง, กีดขวาง , then กีดขวาง, ครอง, ครองกดขวาง, เครื่อง, เครื่องกีดขวาง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกีดขวาง, 1596 found, display 1351-1400
  1. หมอน : [หฺมอน] น. เครื่องสําหรับหนุนศีรษะหรือหนุนสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น, เรียกตาม รูปทรงก็มี เช่น หมอนขวาน หมอนตะพาบ หมอนหน้าอิฐ, เรียกตามวัตถุ ประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หมอนหนุนศีรษะ หมอนหนุนเท้า หมอนหนุน รางรถไฟ, เรียกตามวัตถุที่ใช้ทำก็มี เช่น หมอนไม้ หมอนอิฐ; เครื่องสําหรับ อัดดินปืนในลํากล้องให้แน่น.
  2. หมากหอม : น. หมากแห้งที่ป่นเป็นผง ผสมกับเครื่องเทศบางอย่างที่มี กลิ่นหอม ใช้กินควบกับหมากและพลูที่บ้ายปูน หรืออมดับกลิ่นปาก.
  3. หมาย : น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมาย เกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงาน สั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัว กระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.
  4. หม้ำ, หม้ำตับ : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือและเครื่องหอมขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, นํ้าตับ ก็เรียก.
  5. หมุด : น. เครื่องสําหรับตรึงหรืออุดรู; เรียกเข็มที่หัวเป็นปุ่ม ใช้กลัดกระดาษหรือ ผ้าเป็นต้น ว่า เข็มหมุด; ผ้ากอซที่ใช้สอดเข้าไปในโพรงฝีเป็นต้นเพื่อซับ ของเหลวภายใน.
  6. หมูตั้ง : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้น เล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่น เป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.
  7. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  8. หมูยอ : น. ของกินทําด้วยเนื้อหมูผสมเครื่องปรุงบดแล้วอัดเป็นแท่งและ นึ่งให้สุก.
  9. หมูหัน : น. ลูกหมูผ่าเอาเครื่องในออก เสียบเหล็กหมุนย่างจนหนัง สุกกรอบ.
  10. หยก ๑ : น. หินแก้วมีลักษณะแข็งเป็นสีต่าง ๆ ใช้ทําเครื่องประดับและเครื่องใช้ เป็นต้น ถือว่าเป็นของมีราคา.
  11. หย่อง : น. สิ่งสําหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทําด้วย ทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบ ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียง กังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.
  12. หรุ่ม ๑ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ไส้ทําด้วยหมูหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผัดกับถั่วลิสง หัวหอม และเครื่องปรุง ห่อด้วยไข่โรยฝอยขนาดพอดีคํา.
  13. หลน : [หฺลน] ก. เคี่ยวของบางอย่างเช่นปลาร้าปลาเจ่าให้ละลายและงวดข้น เพื่อปรุงเป็นอาหาร. น. อาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย กะทิ หัวหอม หมูหรือกุ้งสับ เคี่ยวรวมกันแล้วใส่ปลาร้าหรือเต้าเจี้ยวแห้ง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกชื่อตามนั้น ปรุงรสให้เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น ปลาร้าหลน เต้าเจี้ยวหลน เต้าหู้ยี้หลน ปลากุเลาหลนรับประทานกับ ผักสด.
  14. หลอกล่อ : ก. หลอกให้เชื่อโดยมีเครื่องจูงใจ, ล่อหลอก ก็ว่า.
  15. หลัก ๑ : น. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดํารงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลัก กฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.
  16. หลักฐาน : น. พื้นเพมั่นคง เช่น พ่อแม่เขาเป็นคนมีหลักฐาน, ความมั่นคง อันเป็นพื้นที่ตั้ง เช่น เขามีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน; เครื่องแสดง ประกอบเพื่อยืนยัน เช่น เขาถูกกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน; (กฎ) สิ่งที่ใช้ พิสูจน์ความถูกต้องหรือความจริง. (อ. evidence).
  17. หลักพยาน : น. เครื่องประกอบการพิสูจน์ ได้แก่พยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานเอกสาร.
  18. หลีก : ก. หลบสิ่งที่กีดขวาง, เลี่ยง, ขยับไปให้พ้นที่เดิม, ให้ทาง.
  19. หลุมอากาศ : น. บริเวณอากาศบางเป็นเหตุให้เครื่องบินเสียระดับโดย กะทันหัน.
  20. ห่วง : น. เครื่องคล้อง เช่น ห่วงประตู, ของที่เป็นวง. ก. ผูกพัน, กังวลถึง, มีใจ พะวงอยู่.
  21. หวัด ๑ : น. อาการที่เยื่อของอวัยวะที่เป็นเครื่องหายใจอักเสบ มักทําให้เสียงแห้ง และนํ้ามูกไหล.
  22. หวีด : น. เครื่องสําหรับใช้เป่าให้มีเสียงดังเช่นนั้น เรียกว่า นกหวีด. ว. มีเสียงร้อง ดังเช่นนั้น โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง.
  23. หวูด : น. เครื่องเปิดไอนํ้าให้มีเสียงดังเช่นนั้น. ว. มีเสียงดังเช่นนั้น อย่างเสียงเปิดหวูด.
  24. หอน : ก. ร้องเสียงยาวโหยหวน (ใช้แก่หมา), (ปาก) เสียงวี้ดหรือกรี๊ดจากเครื่องยนต์ หรือเครื่องขยายเสียงเป็นต้น.
  25. หอมยับ : (โบ) ก. รวบเก็บไว้ เช่น ข้าแต่พระองค์ผู้เปนเครื่องประดับซึ่งให้ หอมยับทรัพย์หนใดฯ. (ม. คำหลวง หิมพานต์).
  26. หอยโข่ง : น. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้น ขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาหอยโข่ง.
  27. หักทองขวาง : น. วิธีปักไหมทอง หักเส้นไปตามขวางลาย ใช้ปักเครื่องสูง.
  28. หัวกุญแจ : น. เครื่องสับหลีกทางรถไฟ.
  29. หัวเทียน : น. เดือยหัวเสาสําหรับรับขื่อ; กลอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ซึ่งทํา หน้าที่ให้ประกายไฟฟ้าในการจุดระเบิด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ไอเชื้อเพลิง ผสมอากาศภายในกระบอกสูบ.
  30. หัวแร้ง : น. เหล็กที่ปลายมีลักษณะคล้ายหัวของนกแร้ง ใช้เผาไฟให้ร้อนจัด แล้วจี้ตะกั่วบัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ติดกัน, เครื่องมือไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เมื่อ ทำให้ปลายร้อนจัดด้วยกระแสไฟฟ้า ใช้จี้ตะกั่ว บัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ ติดกัน เรียกว่า หัวแร้งไฟฟ้า.
  31. ห่า ๒ : (โบ) น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาด กลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง; โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มา หรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน.
  32. หางเสือ : น. เครื่องถือท้ายเรือ, จะกูด จังกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก.
  33. หางหงส์ ๑ : น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรํา; เรียก เครื่องประดับที่ทําเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลาย ตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย.
  34. ห้ามสมุทร : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ข้างยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยา ห้าม ที่สร้างเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี.
  35. หินปากนก : น. หินเหล็กไฟที่ใช้ติดกับปลายเครื่องสับของปืนโบราณบาง ชนิดเพื่อสับแก๊ปปืนให้เกิดประกายไฟ, ศิลาปากนก ก็เรียก.
  36. หีบฝ้าย : ก. บีบเค้นเมล็ดออกจากปุยฝ้าย. น. เรียกเครื่องมือบีบเค้นเมล็ด ออกจากปุยฝ้ายว่า เครื่องหีบฝ้าย.
  37. หีบเพลง : น. เครื่องอัดลมทําด้วยไม้หุ้มกระดาษมีรู มีลิ้นใช้นิ้วปิดเปิดให้ เป็นเสียงเพลง.
  38. หีบเพลงชัก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ประกอบด้วยหีบ ๒ หีบ ส่วนใหญ่เป็นหีบสี่เหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยท่อลมพับ ๒ ด้าน ด้านขวามือ มีปุ่มกดหรือมีแผงแป้นนิ้ว ด้านซ้ายมือมีปุ่มกดบรรเลงเสียงตํ่าและเสียง ประสาน. (อ. accordion).
  39. หีบเพลงปาก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ใช้ปากเป่า ลักษณะแบน ยาวประกอบด้วยลิ้นเสียง ๒ แถว แถวหนึ่งดังเมื่อเป่าลมออก อีกแถวหนึ่ง ดังเมื่อดูดลมเข้า. (อ. harmonica, mouth organ).
  40. หีบเสียง : น. เครื่องทําให้จานเสียงหมุนแล้วมีเสียงออกมา.
  41. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  42. หุ้มแผลง : [-แผฺลง] น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือ แผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟัน ประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน.
  43. หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
  44. หูก : น. เครื่องทอแบบพื้นเมือง.
  45. หูกระต่าย : น. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย, เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูก เป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย; เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วย ผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดขอบหมวกสําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย; ไม้ขวางเรือ อันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, กระทงเหิน ก็เรียก. (ดู กระทงเหิน ที่ กระทง๑). (รูปภาพ เงื่อนหูกระต่าย) (รูปภาพ หมวกหูกระต่าย)
  46. หูกะพง : น. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก (?) ใช้ผูก ตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น.
  47. หูช้าง ๑ : น. แผ่นกระดานที่ทําเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสําหรับติดกับ มุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือ พลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สําหรับเปิดรับลมหรือระบายลม; ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับนํ้าตาลทำเป็นแผ่น ๆ.
  48. หูยาน : น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่ง มีติ่งหูยาวมากผิดปรกติ.
  49. หูไห : น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่งด้านหลังมีหูสําหรับร้อยเชือกผูกคอช้างศึก ม้าศึก.
  50. เหติ : น. อาวุธ, เครื่องรบ. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1596

(0.1065 sec)