Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องเซ่น, เครื่อง, เซ่น , then ครอง, ครองซน, เครื่อง, เครื่องเซ่น, ซน, เซ่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องเซ่น, 1619 found, display 1251-1300
  1. วาลวีชนี : [วาละวีชะนี] น. พัดกับแส้ขนจามรีถือเป็นเครื่อง ราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่งในเบญจราชกกุธภัณฑ์, วาลวิชนี ก็ว่า. (ป., ส.).
  2. ว่าว ๑ : น. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสาย ซุงสําหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู.
  3. วาสนะ ๑ : [วาสะ] น. การนุ่งห่ม, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
  4. วาสนะ ๒ : [วาสะ] น. การอบ, การทําให้หอม; เครื่องหอม, นํ้าหอม. (ป., ส.).
  5. วาสะ ๒ : น. ผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
  6. วาสะ ๓ : น. การอบ; เครื่องหอม, นํ้าหอม. (ป., ส.).
  7. วิฆนะ : [วิคะ] น. การขัดขวาง, เครื่องขัดขวาง, อุปสรรค, ความขัดข้อง. (ส.).
  8. วิด : ก. อาการที่ทําให้นํ้าพร่องหรือหมดไปด้วยวิธีวัก สาด หรือด้วย เครื่องวิดมีระหัดเป็นต้น เช่น วิดน้ำออกจากเรือ วิดน้ำออกจากบ้าน, ถ้าใช้วิธีอย่างเดียวกันนั้นถ่ายเทนํ้าจากที่หนึ่งเข้าสู่อีกที่หนึ่ง ใช้ว่า วิดเข้า เช่น วิดนํ้าเข้านา.
  9. วิทยุ : [วิดทะยุ] น. กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตาม อากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสู่อากาศว่า เครื่องส่งวิทยุ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียง ตามเดิมว่า เครื่องรับวิทยุ.
  10. วิทยุเฉพาะกิจ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะและไม่เปิดให้ประชาชน ทั่วไปสามารถใช้ได้เป็นการสาธารณะ.
  11. วิทยุติดตามตัว : น. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้ ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ.
  12. วิทยุมือถือ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุซึ่งมีน้ำหนักเบา สามารถใช้มือถือในขณะใช้งานได้.
  13. วิทยุสนาม : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ในงาน สนามหรือในราชการทหาร.
  14. วิทยุสาธารณะ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่จัดให้ ประชาชนโดยทั่วไปใช้บริการได้เป็นการสาธารณะ.
  15. วิภูษณะ : [วิพูสะ] น. เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสน).
  16. วิภูษา : น. เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสา).
  17. วิเลป, วิเลป, วิเลปนะ : [วิเลบ, วิเลปะ, วิเลปะนะ] น. การทา, การลูบไล้; เครื่องลูบไล้. (ป., ส.).
  18. เวชภัณฑ์ : [เวดชะพัน] น. สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับ การแพทย์.
  19. เวมะ : น. เครื่องทอผ้า. (ป.).
  20. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  21. แว่นตา : น. สิ่งที่ทําด้วยแก้วหรือวัสดุใส เป็นเครื่องสวมตาเพื่อช่วย ให้แลเห็นชัดขึ้นเป็นต้น.
  22. ศราวรณ์ : [สะราวอน] น. เครื่องกําบังลูกศร คือ โล่. (ส.).
  23. ศัสดร : [สัดดอน] น. ศัสตรา, ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง. (ส.).
  24. ศัสตร : [สัดตฺระ] น. ศัสตรา, ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง. (ส.).
  25. ศัสตรา, ศัสตราวุธ : [สัดตฺรา, สัดตฺราวุด] น. ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธ ต่าง ๆ. (ส.).
  26. ศิราภรณ์ : (ราชา) น. เครื่องประดับศีรษะ เช่น พระมาลา มงกุฎ กรอบหน้า ผ้าโพกหัว.
  27. ศิลปวัตถุ : น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูง ในทางศิลปะ.
  28. ศิลปะประยุกต์ : น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทาง ศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือ เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่างในการออกแบบ เครื่องแต่งกาย.
  29. ศิลาปากนก : น. หินเหล็กไฟที่ใช้ติดกับปลายเครื่องสับของปืน โบราณบางชนิดเพื่อสับแก๊ปปืนให้เกิดประกายไฟ, หินปากนก ก็เรียก.
  30. ศุกลัม : [กฺลํา] น. เครื่องขาวแต่งศพ. (ส. ว่า สีขาว).
  31. ศุษิระ, ศุษิร : [สุสิน] น. เครื่องดนตรีที่ใช้เป่ามีขลุ่ย ปี่ เป็นต้น, เขียนเป็น สุษิร ก็มี. (ส. ศุษิร, สุษิร).
  32. เศร้าหมอง : ว. หมองมัว, ไม่ผ่องใส, เช่น ผิวพรรณเศร้าหมอง หน้าตาเศร้าหมอง เครื่องนุ่งห่มเศร้าหมอง.
  33. เศวตัมพร, เศวตามพร : [สะเหฺวตําพอน, ตามพอน] น. ชื่อนิกาย ในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตนเป็นผู้นุ่งห่ม ผ้าขาว, คู่กับ นิกายทิคัมพร. [ส. เศฺวต (ขาว) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม)].
  34. ษมา : [สะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ. น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอม รับผิด, ขมา ก็ว่า. (ส. กษมา; ป. ขมา). ษมายุมแปลง น. เครื่องขมาโทษที่ชายนําไปคํานับพ่อแม่หญิงเพื่อ ขอโทษในการที่ลักพาลูกสาวท่านไป.
  35. สกา : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่งใช้ลูกบาศก์ทอดแล้วเดินตัวสกาตาม แต้มลูกบาศก์. (เทียบทมิฬ บาสกา).
  36. สตัมภ์ : [สะ] (แบบ) น. เสา, หลัก; เครื่องคํ้าจุน. (ส. สฺตมฺภ, สฺตมฺพ; ป. ถมฺภ).
  37. สเต๊ก : [สะ] น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยเนื้อสัน หรือปลาเป็นต้น หั่นชิ้นใหญ่ ๆ มักปรุงรส แล้วนำไปย่างหรือทอด กินกับมันฝรั่งทอด บด หรือต้ม และผักบางชนิด ใส่เครื่องปรุงรส ตามชอบ. (อ. steak).
  38. สถานบริการ : (กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ ในการค้า ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและ ประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอสำหรับ ปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการ นวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง.
  39. สนม ๒ : [สะหฺนม] น. ข้าราชการในพระราชสํานักทําหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทําสุกําศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานสนมพลเรือน. (ข. สฺนุํ).
  40. สนะ : [สะหฺนะ] น. เสื้อ; เครื่องสอบสวน; หนัง. ก. เย็บ, ชุน, ปัก.
  41. สนับ ๑ : [สะหฺนับ] น. เสื้อ; เครื่องสวม; เครื่องรองอย่างเครื่องรองมือของ ช่างเย็บเพื่อกันเข็มแทงมือเป็นต้น. ก. ทาบ, ซ้อน, เช่นหญ้าที่โทรม ทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก เรียกว่า ตกสนับ.
  42. สนับแข้ง : น. เครื่องสวมแข้ง.
  43. สนับมือ : น. เครื่องรองใบลานเพื่อจารหนังสือได้ถนัด; เครื่องสวมมือ มักทําด้วยทองเหลืองเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสําหรับสวม นิ้วมือเวลาชก.
  44. สนิม ๒ : [สะหฺนิม] น. ถนิม, เครื่องประดับ ในคำว่า สนิมพิมพาภรณ์. (ข. ธฺนิม).
  45. สปริงตัว : ก. ดีดตัวออก เช่น นักบินสปริงตัวออกจากเครื่องบิน.
  46. สเปกโทรสโกป : น. เครื่องมือที่ใช้ศึกษาการวิเคราะห์สเปกตรัม. (อ. spectroscope).
  47. สมณบริขาร : น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), อัฐบริขาร ก็เรียก. (ป.).
  48. สมณศักดิ์ : น. ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้น มีพัดยศเป็นเครื่องกําหนด.
  49. ส้มตำ : น. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตําประสม กับเครื่องปรุงมีกระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตําส้ม.
  50. สมรด : น. เครื่องตกแต่งขอบต้นแขน และปลายแขนเสื้อครุย ปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ; ผ้าคาดเอวปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สํารด หรือ ผ้าแฝง ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | [1251-1300] | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1619

(0.1188 sec)