Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องเซ่น, เครื่อง, เซ่น , then ครอง, ครองซน, เครื่อง, เครื่องเซ่น, ซน, เซ่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องเซ่น, 1619 found, display 751-800
  1. น้ำกระสาย : น. นํ้าใช้เป็นเครื่องแทรกยาไทย เช่น นํ้าเหล้า นํ้าซาวข้าว.
  2. น้ำแข็งไส : น. น้ำแข็งที่ได้จากการไสก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไส มีลักษณะเป็นเกล็ดฝอย.
  3. น้ำเงี้ยว : (ถิ่น–พายัพ) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับผัดกับเครื่องแกง มีหอม กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง ถั่วเน่า เป็นต้น ต้มกับน้ำต้มกระดูก หมู ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ เลือดหมู น้ำแกงมีรสเค็ม เผ็ดน้อย กินกับ ขนมจีน.
  4. น้ำจิ้ม : น. นํ้าผสมเครื่องเทศบางอย่าง โดยมากมีรสเปรี้ยวเค็มหวาน เช่น นํ้าจิ้มทอดมัน.
  5. น้ำตับ : (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดใน ไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
  6. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  7. น้ำมันหล่อลื่น : น. นํ้ามันเครื่อง. น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
  8. น้ำยา ๑ : น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง ทําด้วยปลาโขลก กับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่าง เช่น ถั่วงอก ใบแมงลัก ใช้คลุกกิน กับขนมจีน, คู่กับ นํ้าพริก; สิ่งที่ประสมเป็นนํ้าสําหรับจิตรกรรมหรือ ระบายภาพ; นํ้าที่ผสมสารเคมีเพื่อใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น นํ้ายา ล้างรูป.
  9. น้ำส้ม : น. นํ้าคั้นจากผลส้ม ใช้เป็นเครื่องดื่ม; นํ้าส้มสายชู.
  10. น้ำหอม : น. นํ้าที่กลั่นจากเครื่องหอม, นํ้าอบฝรั่ง ก็เรียก.
  11. น้ำอบ : น. นํ้าที่อบด้วยควันกํายานหรือเทียนอบ และปรุงด้วยเครื่องหอม.
  12. น้ำอ้อย : น. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทําเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ, ถ้าทําเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสําหรับต้มกลั่นสุรา หรือใช้ผสมปูนสอสําหรับการก่อสร้าง.
  13. น้ำอัดลม : น. นํ้าที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่โดยใช้ความดัน อาจผสมนํ้าตาลหรือนํ้าผลไม้ ใช้เป็นเครื่องดื่ม.
  14. นิครนถ์ : [คฺรน] น. นักบวชนอกพระพุทธศาสนา. (ส. นิรฺคฺรนฺถ; ป. นิคณฺ? ว่า ผู้ปราศจากเครื่องผูกหรือเครื่องร้อยรัดทั้งมวล).
  15. นิติ : [นิติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบ ธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  16. นิรามิษ : [มิด] (แบบ) ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน; ปราศจากความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. (ส.).
  17. นิราศรพ : [สบ] (แบบ) ว. ไม่มีเครื่องหมักหมมในสันดาน, หมดมลทิน, หมายถึงพระอรหันต์. (ส. นิราศรฺว).
  18. นีติ : (แบบ; เลิก) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส.).
  19. เนติ : [เนติ] (แบบ) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  20. เนียน ๓ : น. เครื่องมือสําหรับกวดลวดเลี่ยมภาชนะ เช่นปากป้านปากถ้วยให้เรียบ.
  21. เนื่อง : ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี. (ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์). เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิด เนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
  22. โน้ต ๑, โน้ตเพลง : น. เครื่องหมายกําหนดเสียงดนตรี. (อ. note).
  23. ไน ๑ : น. เครื่องปั่นด้ายด้วยมือ และใช้ถ่ายด้ายที่ทําเป็นไจหรือเข็ดแล้วเข้าหลอด.
  24. ไนต์คลับ : น. สถานเริงรมย์ที่เปิดเวลากลางคืน ขายอาหาร เครื่องดื่ม มีดนตรี และมักจัดให้มีการแสดงด้วย. (อ. nightclub).
  25. บงสุกูลิก : น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของ ภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทําเป็นเครื่อง นุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
  26. บรรจถรณ์ : [บันจะถอน] (แบบ) น. เครื่องลาด, เครื่องปู, ที่นอน. (ป. ปจฺจตฺถรณ).
  27. บรรถร : [บันถอน] (แบบ) น. ที่นอน, เครื่องปูลาด. (ป. ปตฺถร; ส. ปฺรสฺตร).
  28. บรรทัดฐาน : น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า.
  29. บรรเลง : [บัน-] ก. ทําเพลงด้วยเครื่องดุริยางค์ให้เป็นที่เจริญใจ.
  30. บรัด : [บะหฺรัด] ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ, เช่น อันควรบรัด แห่งพระองค์. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  31. บราลี : [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด.
  32. บริขาร : [บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
  33. บริภัณฑ์ ๒ : [บอริพัน] น. ของใช้, เครื่องใช้, เครื่องเรือน. (ป. ปริภณฺฑ).
  34. บริโภคเจดีย์ : [บอริโพกคะ-] น. เจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริขารของ พระพุทธเจ้า.
  35. บริสุทธิ์ : [บอริสุด] ว. แท้, ไม่มีอะไรเจือปน, เช่น ทองบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน, ปราศจากความผิด, เช่น เป็นผู้บริสุทธิ์, หมดจดไม่มีตําหนิ เช่น เพชรบริสุทธิ์ เครื่องแก้วบริสุทธิ์; เรียกสาวพรหมจารีว่า สาวบริสุทธิ์. น. แร่ชนิดหนึ่ง ในจําพวกนวโลหะ. (ป. ปริสุทฺธิ).
  36. บวงสรวง : [-สวง] ก. บูชาเทวดาด้วยเครื่องสังเวยและดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น.
  37. บวน : น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มีเครื่องในหมูต้มผัดกับเครื่องแกง มีหอมเผา กระเทียมเผา ข่า ตะไคร้ พริกไทย เป็นต้น ต้มกับนํ้าคั้นจากใบไม้
  38. บะหมี่ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งสาลี เป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเหลือง ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.).
  39. บั้ง : ก. เชือดหรือฟันให้เป็นแผลตามขวาง เช่น บั้งปลา. น. รอยเชือดเป็น แผลตามขวาง เช่น กรีดยางเป็นบั้ง ๆ; เครื่องมือสําหรับถูไม้ คล้ายบุ้ง แต่มีฟันเป็นแถว ๆ, สิ่งที่เป็นแถบ ๆ อย่างเครื่องหมายยศทหารหรือ ตํารวจชั้นประทวนเป็นต้น; กระบอกไม้ไผ่.
  40. บังโกลน, บังโคลน : [-โกฺลน, -โคฺลน] น. เครื่องบังเหนือล้อรถ ป้องกัน โคลนมิให้กระเด็นขึ้นมาเปื้อนรถ.
  41. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  42. บังตะวัน : น. เครื่องบังแดดเช่นเดียวกับบังสูรย์. (สิบสองเดือน).
  43. บังตา : น. เครื่องบังประตูทําด้วยไม้หรือกระจกเป็นต้นติดอยู่กับกรอบ ประตูเหนือระดับตาเล็กน้อย ผลักเปิดปิดได้, ถ้าเป็นเครื่องบังหน้าต่าง ในระดับตา มักทําด้วยผ้า เรียกว่า ม่านบังตา; เครื่องบังตาม้าเพื่อไม่ให้ เห็นข้าง ๆ.
  44. บังแทรก : [-แซก] น. เครื่องสูงอย่างหนึ่งสําหรับใช้ในริ้วขบวนพิธีแห่, คู่กับ ทานตะวัน อยู่ระหว่างฉัตร. (รูปภาพ บังแทรก)
  45. บังเพลิง : น. เครื่องส่องแสงไฟที่มีกําบังไม่ให้เห็นผู้ส่อง.
  46. บังสุกูลิก : (แบบ) น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุ ผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทําเครื่องนุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
  47. บังสูรย์ : น. เครื่องสูงอย่างหนึ่ง สําหรับใช้บังแดดในการพิธีแห่ รูปคล้าย บังแทรก. (รูปภาพ บังสูรย์)
  48. บังเหียน : น. เครื่องบังคับม้าให้ไปในทางที่ต้องการ ทําด้วยเหล็กหรือไม้ใส่ ผ่าปากม้า ที่ปลายมีห่วง ๒ ข้างสําหรับผูกสายบังเหียนโยงไว้ให้ ผู้ขี่ถือ, โดยปริยายหมายความว่า อํานาจบังคับบัญชาให้เป็นไปใน ทางที่ต้องการ เช่น ถือบังเหียนการปกครองบ้านเมือง กุมบังเหียน.
  49. บัตรเทวดา : น. เรียกสิ่งที่ประกอบด้วยก้านกล้วย ๔ ก้านตั้งเป็นเสา ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียวตรงขึ้นไปแล้วรวบยอดปักแผ่นรูปเทวดาที่ จะสังเวย ระหว่างร่วมในเสาทํากระบะกาบกล้วยเรียงขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ สําหรับวางเครื่องสังเวยเทวดา, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตร ก็มี.
  50. บัวกลุ่ม : น. ลายปูนหรือลายแกะไม้ที่ทําเป็นรูปดอกบัวที่เริ่มแย้ม ร้อยกันเป็นเถา อยู่ระหว่างบัลลังก์กับปลียอดของเจดีย์หรือปลาย เครื่องบนของปราสาท.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1619

(0.1066 sec)