Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คุ้น , then คน, คุ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คุ้น, 1661 found, display 1001-1050
  1. ย่าน ๑ : น. แถว, ถิ่น, เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลำพู ย่านสำเพ็ง, ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตําบลหนึ่งไปยังอีกตําบลหนึ่ง; ของที่ตรง และยาว.
  2. ยาแฝด : น. ยาหรือสิ่งที่ผู้หญิงให้ผัวกินเพื่อให้หลงรักตัวคนเดียว.
  3. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  4. ยามิก : น. คนเฝ้ายาม, คนเฝ้ายามเวลากลางคืน. (ส.).
  5. ย้าย : ก. เปลี่ยนที่ เช่น ย้ายเก้าอี้ไปไว้มุมห้อง. ว. อาการที่ร่างกายบางส่วนเช่น พุง เอว เคลื่อนไหวไปมาข้างโน้นทีข้างนี้ทีตามจังหวะขณะเดินเป็นต้น (มักใช้แก่คนอ้วน) เช่น เดินย้ายพุง เดินย้ายเอว.
  6. ยี่ห้อ : น. เครื่องหมายสําหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอก ยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.).
  7. ยื่นแก้วให้วานร : (สํา) ก. เอาของมีค่าให้แก่คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น.
  8. ยืมชื่อ : ก. อาศัยชื่อผู้อื่นไปเป็นประโยชน์ตน เช่น ยืมชื่อคนมีชื่อเสียง ไปอ้างเพื่อให้คนเชื่อถือ.
  9. ยุ่บ, ยุ่บยั่บ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวกระดุบกระดิบของสัตว์เล็ก ๆ อย่างหนอน มด ปลวก จำนวนมาก ๆ เช่น มดขึ้นยุ่บ หนอนไต่ยุ่บยั่บ, โดยปริยายใช้แก่ คนจำนวนมาก ๆ เช่น ที่สนามหลวงคนเดินขวักไขว่ยุ่บยั่บไปหมด.
  10. ยุ่มย่าม : ว. ยุ่ง, เกะกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย, เช่น หนวดเครายุ่มย่าม; อาการ ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบเข้าไปยุ่มย่าม ในเรื่องของคนอื่น, อาการที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หวงห้ามหรือในที่ ที่ตนไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น ห้ามเข้าไปยุ่มย่ามในเขตหวงห้าม เขา ชอบเข้าไปยุ่มย่ามในสถานที่ราชการ.
  11. เย็นเฉื่อย : ว. เย็นเพราะลมพัดมาเรื่อย ๆ เช่น ตรงนี้ลมพัดเย็นเฉื่อย; มี อารมณ์เรื่อย ๆ ช้า ๆ เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เย็นเฉื่อย.
  12. เยภุยนัย : น. วิธีที่คนส่วนมากใช้. (ป. เยภุยฺยนย).
  13. เยี่ยม ๆ มอง ๆ : ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา เยี่ยม ๆ มอง ๆ.
  14. เยียมั่ง : ก. ทําเป็นคนมั่งมี.
  15. เยียใหญ่ : ก. ทําเป็นคนใหญ่โต, มักใหญ่ใฝ่สูง.
  16. เยือกเย็น : ว. มีจิตใจหนักแน่น ไม่ฉุนเฉียวโกรธง่าย เช่น สำคัญที่เป็นคน เยือกเย็น จึงจะตัดสินปัญหาได้อย่างรอบคอบ.
  17. เยื้องกราย : ก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ; เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายใน การตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้).
  18. โย่ง ๆ : ว. อาการที่คนผอมสูงเดินก้าวยาว ๆ เรียกว่า เดินโย่ง ๆ.
  19. โยง ๑ : ก. ผูกให้ติดกันเพื่อลากหรือจูงไป เช่น โยงเรือ, เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้การ โยงไปถึงอีกคนหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มัดมือ ๒ ข้างแขวนขึ้นไปให้เท้า พ้นพื้นหรือเรี่ย ๆ พื้นว่า มัดมือโยง, เรียกอาการที่อยู่ประจําแต่ผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องอยู่ว่า อยู่โยง, เรียกเรือสําหรับลากจูงเรืออื่นว่า เรือโยง และ เรียกเรือที่ถูกลากจูงไปนั้นว่า เรือพ่วง.
  20. โย่งเย่ง : ว. อาการที่คนสูงโย่งเดินโยกเยกไปมา; ไม่รัดกุม.
  21. โยนกลอง : ก. ปัดภาระหรือความรับผิดชอบไปให้คนอื่น.
  22. โยนกลอน : ก. ขึ้นต้นกลอนแล้วโยนให้คนอื่นแต่งต่อ.
  23. โยพนมัท : [โยบพะนะมัด] น. ความมัวเมาในความเป็นคนหนุ่มสาว, ความพลาดพลั้งเพราะความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพนมท).
  24. รชกะ : [ระชะกะ] น. คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).
  25. รณรงค์ : น. การรบ; สนามรบ. ก. ต่อสู้, โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เช่น รณรงค์ หาเสียงในการเลือกตั้งรณรงค์ให้คนไทยใช้ของไทย. (ส.).
  26. รถเข็น : น. รถที่ไม่มีเครื่อง ต้องใช้คนเข็นหรือดันไป เช่น รถเข็นคนไข้.
  27. รถเจ๊ก : (ปาก) น. รถลากสำหรับให้ผู้โดยสารนั่ง มีล้อขนาดใหญ่ ๒ ล้อ มีคนจีนเป็นผู้ลาก.
  28. รถโดยสารประจำทาง : (กฎ) น. รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่ กําหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคนตามอัตราที่วางไว้เป็น ระยะทางหรือตลอดทาง.
  29. รถลาก : น. ยานพาหนะชนิดหนึ่ง มี ๒ ล้อ ใช้คนลาก.
  30. รถแวน : น. รถยนต์ส่วนบุคคล มีที่นั่งมากกว่า ๒ ตอน ตอนท้ายมีประตู ข้างหลังสำหรับบรรทุกคนหรือของ.
  31. รวบอำนาจ : ก. รวมอำนาจ เช่น รวบอำนาจมาไว้ส่วนกลาง รวบอำนาจ มาไว้ที่คนคนเดียว.
  32. รวมพวก : ก. รวมคนจำนวนมากเข้าด้วยกัน.
  33. ร่วมสมัย : ว. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ศิลปะร่วมสมัย; รุ่นราวคราวเดียวกัน, สมัยเดียวกัน, เช่น ลุงกับพ่อเป็นคนร่วมสมัยกัน.
  34. รสก : [ระสก] น. คนครัว, พ่อครัว. (ป.).
  35. ร้องกระจองอแง : ก. อาการที่เด็กหลาย ๆ คนร้องไห้พร้อม ๆ กัน.
  36. รองคอ : ก. ถัดคนแรก (ใช้เรียกคนเล่นการพนันอย่างหยอดหลุม).
  37. ระงม : ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม.
  38. ระดม : ก. ทำพร้อม ๆ กัน เช่น ระดมยิง; รวบรวม, รวมเข้าด้วยกัน, เช่น ระดมทุน ระดมคนช่วยกันทำงาน.
  39. ระแด : น. คนชาติข่าพวกหนึ่ง ในตระกูลชวา-มลายู อยู่ทางฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง.
  40. ระบำ : น. การแสดงที่ใช้ท่าฟ้อนรำ ไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความ บันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกอย ระบำฉุยฉาย. ก. ฟ้อนรำที่แสดงไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือ ความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้.
  41. ระยำ : ว. ชั่วช้า, ตํ่าช้า, เลวทราม, อัปมงคล, เช่น คนระยำ เรื่องระยำ ทำระยำ; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ยับเยิน, แหลก, เช่น ดังดวงแก้วตกต้องแผ่นผา ร้าวระยำ ช้ำจิตเจ็บอุรา. (อิเหนา).
  42. รังกา : น. ที่สําหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์บนยอดเสากระโดงเรือ มักทําเป็นแป้นกลมมีรั้วล้อมรอบ.
  43. รังควาน : ก. รบกวนทําให้รําคาญหรือเดือดร้อน เช่น คนพาลชอบรังควานคนอื่น. น. ผีที่ประจําช้างป่า, ผีตายร้ายที่สิงอยู่ในกายคนได้.
  44. รังแต่ : สัน. มีแต่, ล้วนแต่, เป็นที่, (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น รังแต่คนจะนินทา รังแต่เขาจะหัวเราะเยาะ.
  45. รังหยาว : ก. รบกวนให้โกรธ เช่น ลางคนจับตะขาบมาเด็ดเขี้ยว เที่ยวทิ้งโรงหนัง ทํารังหยาว. (อิเหนา), (ถิ่น–ปักษ์ใต้) โมโห, โกรธ.
  46. รัชกะ : น. รชกะ, คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).
  47. รัดก้น : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลัง ทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง.
  48. รัตคน : [รัดตะ–] น. รัดประคน.
  49. รั้น : ก. ร่นเข้าไป, ท้นเข้าไป, เช่น จมูกรั้น. ว. ดื้อดันทุรัง เช่น เด็กคนนี้ รั้นจริง.
  50. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.0837 sec)