Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คุ้น , then คน, คุ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คุ้น, 1661 found, display 1601-1650
  1. อัฐ ๑ : [อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสํานวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.
  2. อัฐิ : [อัดถิ] น. กระดูกคนที่เผาแล้ว. (ป. อฏฺ??; ส. อสฺถิ).
  3. อัตคัด : [อัดตะ] ว. ขัดสน, ฝืดเคือง, ยากจน, เช่น เขาเป็นคนอัตคัด. ก. มีน้อย, ขาดแคลน, เช่น อัตคัดผม อัตคัดน้ำ.
  4. อัทธคต : น. ผู้ที่ได้ผ่านทางไกลหรืออยู่มานาน, คนแก่. (ป.).
  5. อัธยาศัย : [อัดทะยาไส] น. นิสัยใจคอ เช่น เขาเป็นคนมีอัธยาศัยดี; ความพอใจ, ความประสงค์, เช่น ไปพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย. (ส. อธฺยาศย; ป. อชฺฌาสย).
  6. อันตชาติ : น. คนตํ่าช้า, คนไม่มีตระกูล. (ส.).
  7. อันโตชน : น. ''คนภายใน'' หมายถึง คนในตระกูล เช่น บุตร ภรรยา คนใช้. (ป.).
  8. อันธพาล : น. คนเกะกะระราน. (ป.).
  9. อันเป็น, อันเป็นไป : น. ผลร้ายที่เกิดขึ้น, เหตุร้ายที่เกิดขึ้น, เช่น เขาแช่ง คนชั่วให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา
  10. อันโยนย, อันโยนยะ : [โยนยะ] (โบ) ว. ''กันและกัน''. (ส. อนฺโยนฺย; ป. อ?ฺ?ม?ฺ?); ในไวยากรณ์ใช้เรียกสรรพนามพวกหนึ่ง ซึ่งแทนชื่อคน สัตว์ หรือสิ่งของที่รวมกัน ได้แก่คําว่า ''กัน'' เช่น คนตีกัน เรียกว่า อันโยนยสรรพนาม.
  11. อัปราชัย : [อับปะราไช] น. ความไม่แพ้, ความชนะ, คู่กับ ปราชัย คือ ความแพ้; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคน ชั่วอัปราชัย; อปราชัย ก็ว่า. (ป., ส.).
  12. อัศวิน : [อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่อง ว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนําหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อน เวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).
  13. อาการนาม : [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือ ความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา ''การ'' หรือ ''ความ'' นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
  14. อาฆาตนะ : [ตะนะ] น. การฆ่า, การตี; สถานที่ฆ่าคน. (ป., ส.).
  15. อาจม : น. ขี้ (ของคน). (ป., ส. อาจม ว่า สิ่งที่ควรล้าง, สิ่งที่ควรชําระ).
  16. อาชาไนย : ว. กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็น ม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. (ป. อาชาเนยฺย; ส. อาชาเนย).
  17. อาเทสนาปาฏิหาริย์ : น. การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่า อัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
  18. อานะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู), อะนะ หรือ อะหนะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  19. อาภัพเหมือนปูน : (สำ) ทำดีแต่มักถูกมองข้ามไปหรือไม่มีใคร มองเห็น คล้ายในการกินหมาก จะต้องมีหมาก พลู ปูน ๓ อย่าง ประกอบกัน แต่คนมักพูดว่า กินหมากกินพลู โดยมิได้พูดถึง ปูนเลย จะพูดถึงบ้างก็เป็นไปในทางที่ไม่ดีว่า ปูนกัดปาก.
  20. อาม ๒ : (โบ) น. เรียกลูกสาวคนที่ ๓ ว่า ลูกอาม.
  21. อ้าย ๑ : (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย. (สามดวง); โดยปริยาย อนุโลมเรียกพี่ชายคนโตว่า พี่อ้าย. ว. ต้น, หนึ่ง, ในคำว่า เดือนอ้าย.
  22. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  23. อ้าว ๒ : ว. อาการที่เรือหรือรถแล่น หรือคนวิ่งโดยเร็ว เรียกว่า แล่นอ้าว วิ่งอ้าว.
  24. อาสัตย์ : ว. ไม่ซื่อสัตย์, ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก, เช่น คนอาสัตย์, อสัตย์ ก็ว่า. (ส. อสตฺย).
  25. อาฬาริก : น. คนครัว. (ป.; ส. อาราลิก).
  26. อี่ : (โบ) น. เรียกลูกสาวคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่, เรียกลูกสาวคนที่ ๑ ว่า ลูกเอื้อย, คู่กับ คําที่เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย, เรียกลูกชาย คนที่ ๒ ว่า ลูกยี่.
  27. อีหลัดถัดทา : น. ส่วนหนึ่งแห่งคําร้องในการเล่นโมงครุ่มซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ของหลวง โดยคนตีฆ้องจะร้องว่า ''อีหลัดถัดทา''.
  28. อึ้ดทึ่ด : ว. อาการที่พองขึ้นเต็มที่ (ใช้แก่ศพคนหรือสัตว์บางชนิดที่ตายแล้ว), โดยปริยายหมายถึงอาการที่นอนหรือนั่งตามสบาย มีลักษณะไปใน ทางเกียจคร้านเป็นต้น เช่น นอนอึ้ดทึ่ด นั่งอึ้ดทึ่ด.
  29. อุทลุม : [อุดทะ] ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียก ลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใด เปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมา ฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวน มันด้วยลวดหนังโดยฉกัน. (สามดวง).
  30. อุปนิกขิต, อุปนิกษิต : [อุปะนิกขิด, อุปะนิกสิด] ก. เก็บไว้, รักษาไว้. น. คนสอดแนม, จารชน. (ป. อุปนิกฺขิตฺต; ส. อุปนิกฺษิปฺต).
  31. อุปนิสัย : [อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาใน สันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้อง ทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจน เกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).
  32. อุ้ยอ้าย : ว. ไม่คล่องแคล่ว, เคลื่อนตัวยากอย่างคนอ้วน.
  33. อุรังอุตัง : น. ชื่อลิงขนาดใหญ่ชนิด Pongo pygmaeus ในวงศ์ Pongidae รูปร่างคล้ายคน ขนตามลําตัวยาวสีนํ้าตาลแดง แขนยาว ขาสั้น และค่อนข้างเล็ก ใบหูเล็กมาก ตัวผู้มีถุงลมขนาดใหญ่ตรงคอหอย และกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้างพองห้อย นิ้วตีนนิ้วแรกไม่มีเล็บ อาศัย อยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ยอดและหน่อของต้นไม้ มี ๒ พันธุ์ย่อย คือ พันธุ์สุมาตรา (Pongo pygmaeus abeli) และพันธุ์บอร์เนียว (P.pygmaeus pygmaeus) มีถิ่นกําเนิดเฉพาะในเกาะสุมาตราและ เกาะบอร์เนียวเท่านั้น.
  34. อุแว้ : ก. ร้อง (ใช้แก่เด็กแดง ๆ) เช่น เด็กคนนี้ พออุแว้ออกมาก็มีเงิน เป็นล้านแล้ว, แว้ ก็ว่า. ว. เสียงอย่างเสียงเด็กแดง ๆ ร้อง เช่น เสียงลูกร้องอุแว้, แว้ ก็ว่า.
  35. อู้อี้ : ว. มีเสียงไม่ชัดเจนอย่างเสียงคนจมูกบี้หรือคนบ่น.
  36. เอกชน : [เอกกะ] น. บุคคลคนหนึ่ง ๆ. ว. ส่วนบุคคล, ไม่ใช่ ของรัฐ, เช่น โรงพยาบาลเอกชน.
  37. เอกบุคคล, เอกบุรุษ : [เอกกะบุกคน, เอกะบุกคน, เอกกะบุหฺรุด, เอกบุหฺรุด] น. คนเยี่ยมยอด, คนประเสริฐ.
  38. เอกภักดิ์ : [เอกกะ] ว. จงรักต่อคนคนเดียว, ซื่อตรง.
  39. เอก, เอก : [เอกะ, เอกกะ] ว. หนึ่ง (จํานวน); ชั้นที่ ๑ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้น หรือขั้นของยศ ตําแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท) เช่น ร้อยเอก ข้าราชการชั้นเอก ปริญญาเอก; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ? ว่า ไม้เอก; ดีเลิศ เช่น กวีเอก, สําคัญ เช่น ตัวเอก; เรียก ระนาดที่มีเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง ๒ อันสําหรับตี ว่า ระนาดเอก. (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (กฎ.). (ป., ส.).
  40. เอกาธิปไตย : [ทิปะไต, ทิบปะไต] น. ระบอบการปกครอง โดยคนคนเดียว. (อ. monocracy).
  41. เอกา, เอ้กา : ว. หนึ่ง, คนเดียว, โดดเดี่ยว; ถือกินข้าวหนเดียวในเวลาระหว่างเช้า ถึงเที่ยงเป็นกิจวัตร เรียกว่า ถือเอ้กา.
  42. เอา ๒ : (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๙ ว่า ลูกเอา, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๙ ว่า ลูกเจา. (กฎ.).
  43. เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ : (สํา) ก. อาศัยผู้อื่นมักไม่สะดวก, พึ่งจมูก คนอื่นหายใจ หรือ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ ก็ว่า.
  44. เอาดีเอาเด่น : ก. พยายามทําตัวให้คนเห็นว่าตนดีเด่นกว่าเพื่อน.
  45. เอาเถิด ๒, เอาเถิดเจ้าล่อ ๑ : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่งไม่จำกัด จำนวนผู้เล่น โดยจะต้องมีคนหนึ่งอยู่โยง ณ หลักที่กำหนดไว้ มี หน้าที่ไล่จับผู้อื่นให้ได้ ถ้าจับใครไม่ได้เลยก็ต้องอยู่โยงต่อ ถ้าจับผู้ใด ได้ผู้นั้นต้องอยู่โยงแทน มีบทร้องประกอบว่า 'เอาเถิดเจ้าล่อ ข้าวเหนียวสองห่อไม่พอกันกิน'.
  46. เอาทองไปรู่กระเบื้อง : (สํา) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะตํ่ากว่า เป็นการไม่สมควร, เอาพิมเสนไปแลก กับเกลือ ก็ว่า.
  47. เอาทารย์ : [ทาน] น. ความมีใจโอบอ้อม, ความเป็นคนใจบุญ, ความเผื่อแผ่. (ส. เอาทารฺย).
  48. เอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง : (สํา) ก. เอาทรัพย์หรือสิ่งของจากคน ที่มีน้อยไปให้แก่ผู้ที่มีมากกว่า.
  49. เอาเป็นเอาตาย : ว. ตั้งใจทําอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย หรือความยากลําบาก เช่น ทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย; เอาจริงเอาจัง อย่างรุนแรง เช่น เรื่องเล็ก ๆ แค่นี้ เถียงกันเอาเป็นเอาตายไปได้.
  50. เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ : (สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร, บางทีใช้เข้าคู่กับ เอา เนื้อไปแลกกับหนัง ว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลก กับหนัง, เอาทองไปรู่กระเบื้อง ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | [1601-1650] | 1651-1661

(0.0615 sec)