Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คุ้น , then คน, คุ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คุ้น, 1661 found, display 301-350
  1. ขึ้นชื่อว่า : ใช้เป็นคําประกอบหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้น ข้อความ เช่น ขึ้นชื่อว่าคนพาลละก็ต้องหลีกให้ห่างไกล.
  2. ขุนทอง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลือง ติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียน เสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
  3. ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย : (สำ) ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, ทํานองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
  4. เข็น : ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้น บรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทน อย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
  5. เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
  6. เขยก : [ขะเหฺยก] ก. อาการที่เดินหรือวิ่งด้วยปลายเท้าอย่างคนเท้าเจ็บ, อาการ ที่เดินหรือวิ่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการ.
  7. เข้าปีก : ก. อาการที่เอาต้นแขนของคนเมาเป็นต้นขึ้นพาดบ่าพยุงไป.
  8. เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม : (สํา) ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน.
  9. เข้าสิง : ก. อาการที่เชื่อกันว่าผีเข้าแทรกอยู่ในตัวคน เช่น เขาถูกผีเข้าสิง, โดยปริยายหมายความว่าครอบงำ เช่น เขาถูกผีการพนันเข้าสิง.
  10. เขิน ๑ : น. ชื่อคนไทยใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า; เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วย รักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทยเขิน ซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
  11. แขก ๑ : น. ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น, ผู้ที่มาร่วมงานพิธีของเจ้าภาพ, บางทีเรียกว่า แขกเหรื่อ; คนบ้านอื่นที่มาช่วยทํางาน.
  12. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  13. แขกไม่ได้รับเชิญ : (สำ) น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำ ให้เกิดความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์ บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้ รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญ จะเข้ามา.
  14. แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
  15. แขนทุกข์ : น. ปลอกแขนสีดําสําหรับสวมติดแขนเสื้อข้างซ้าย เป็นการแสดงความไว้อาลัยต่อคนตาย.
  16. แขม ๒ : [ขะแม] น. คนเขมร, เขียนเป็น แขมร์ ก็มี.
  17. โขมด ๑ : [ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืน ทําให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า ได้แก่ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้ว ติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).
  18. ไขมัน : น. สารประกอบอินทรีย์จำพวกหนึ่งมีทั้งในสัตว์และพืช ไม่ ละลายน้ำ, ถ้าเป็นของเหลวในอุณหภูมิปรกติเรียก น้ำมัน, ถ้าเป็น ของแข็งในอุณหภูมิปรกติเรียก ไข. (อ. fat); (ปาก) เรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ชนิดหนึ่งในคนและสัตว์บางชนิดซึ่งสะสมสารประกอบอินทรีย์ดังกล่าว ไว้มากโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องหรือในผนังหน้าท้อง มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ, มัน ก็ว่า.
  19. ไขว้ : [ไขฺว้] ก. ขัด เช่น ไขว้เฉลว, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่ง ไปส่งคืนให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา; กิริยาที่เตะตะกร้อด้วย บิดเท้าไปอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า เตะไขว้.
  20. คชาชีพ : น. คนเลี้ยงช้าง, หมอช้าง, ควาญช้าง. (ป. คช + อาชีว).
  21. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  22. คณนะ, คณนา : [คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).
  23. คณะรัฐมนตรี : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบ ด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน.
  24. คดีอนาถา : (กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสีย ค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสีย ค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา ได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาล ด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกาศาลเห็นว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.
  25. คนจร : น. คนแปลกหน้า, คนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
  26. คนจริง : น. ผู้ที่ทําอะไรทําจริงโดยไม่ท้อถอย, คนที่พูดจริงทําจริง.
  27. คนใช้ : น. คนที่มีหน้าที่คอยรับใช้, ลูกจ้างที่รับใช้ทำงานบ้าน.
  28. คนร้าย : น. คนที่ไม่มีคุณธรรม; คนทําผิดอาญา, อาชญากร.
  29. คนร้ายตายขุม : (สำ) น. คนทำชั่วย่อมตกนรก, มักใช้เข้าคู่กับ คนดีผีคุ้ม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
  30. คนละ : ว. คนหนึ่ง ๆ, แต่ละคน, เช่น เก็บเงินคนละ ๕ บาท; ต่างหากจากกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน เช่น ผ้าคนละชนิด หนังสือคนละเล่ม.
  31. คนละไม้คนละมือ : (สํา) ต่างคนต่างช่วยกันทํา.
  32. คมกริบ : ว. คมมาก; ฉลาดทันคน, เฉียบแหลม, ไหวทัน.
  33. คมคาย : ว. ฉลาด, ไหวพริบดี, ทันคน, เช่น วาจาคมคาย พูดจาคมคาย สำนวนภาษาคมคาย, มีแววฉลาด เช่น หน้าตาคมคาย.
  34. ครบมือ : ว. มีอยู่ครบในครอบครอง (ใช้แก่อาวุธและคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มีอาวุธครบมือ; มีเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง พร้อมเพรียง เช่น ช่างไม้มีอุปกรณ์ครบมือ.
  35. ครอก ๓ : [คฺรอก] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงกรนของคนที่หลับ.
  36. ครัว ๒ : [คฺรัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ของ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เช่น พ่อค้าแม่ค้าขายครัว; ทรัพย์มรดก เช่น ลูกหล้าครัวรอม คือ ลูกคนสุดท้องจะได้รับทรัพย์มรดก มากกว่าผู้อื่น, ขายครัวมายาตัว คือ ขายทรัพย์มรดกเพื่อมารักษาตัว.
  37. คราบ : [คฺราบ] น. หนังหรือเปลือกนอกของสัตว์บางชนิดที่ลอกออกได้ เช่น คราบงู คราบกุ้ง, โดยปริยายหมายถึงลักษณาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คนบาปในคราบของนักบุญ; รอยเปื้อนติดกรังอยู่ เช่น คราบนํ้า คราบนํ้ามัน.
  38. คราว ๑ : [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้ อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.
  39. ครึ่งชาติ : น. ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน, ลูกครึ่ง ก็ว่า.
  40. ครึ่ด : [คฺรึ่ด] ว. ดาษไป, เกลื่อนไป, เช่น คนมากันครึ่ด สีแดงครึ่ด, ครืด ก็ว่า.
  41. ครืด ๑ : [คฺรืด] ว. ดาษไป, เกลื่อนไป, เช่น คนมากันครืด สีแดงครืด, ครึ่ด ก็ว่า.
  42. ครื้นเครง : [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
  43. ครือ ๒, ครือ ๆ : [คฺรือ] ว. ไม่คับไม่หลวม เช่น เสื้อครือตัว, พอ ๆ กัน เช่น เด็ก ๒ คนนี้ ขยันครือ ๆ กัน.
  44. คล่อง : [คฺล่อง] ว. สะดวก เช่น หายใจได้คล่องขึ้น, ว่องไว เช่น เด็กคนนี้ใช้คล่อง, ไม่ฝืด เช่น คล่องคอ, ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง.
  45. คลัก ๑, คลั่ก ๑ : [คฺลัก, คฺลั่ก] ว. ยัดเยียด, ออกันอยู่, รวมกันอยู่มาก ๆ, เช่น หนอนคลัก คนคลั่ก, มาก ๆ เช่น น้ำยาหม้อนี้ข้นคลั่ก.
  46. คลั่ง ๑ : [คฺลั่ง] ก. แสดงอาการผิดปรกติอย่างคนบ้า, เสียสติ; โดยปริยายหมายความ ว่า หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งดารา, หมกมุ่นอยู่กับงาน หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งอำนาจ คลั่งเล่นกล้วยไม้, คลั่งไคล้ ก็ว่า.
  47. คลับคล้าย, คลับคล้ายคลับคลา : [คฺลับคฺล้าย, -คฺลับคฺลา] ก. จำได้แต่ไม่แน่ใจ, จำได้อย่างเลือนลาง, ไม่แน่ใจว่าใช่, เช่น คลับคล้ายว่าเป็นคนคนเดียวกัน, ฉันคลับคล้าย คลับคลาว่าจะเคยพบเขามาก่อน.
  48. คลิง : [คฺลิง] (โบ; กลอน) ก. คลึง เช่น นกปลิงคลิงคน- ธบุษปรัตนบังอร. (สมุทรโฆษ).
  49. คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  50. คลุ้มคลั่ง : ก. กลัดกลุ้มในใจจนแสดงอาการอย่างคนบ้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.0669 sec)