Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คุ้น , then คน, คุ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คุ้น, 1661 found, display 401-450
  1. งอนหง่อ : ว. คู้ตัวงอตัว เป็นอาการของคนที่กลัวมากหรือหนาวมากเป็นต้น.
  2. งอม : ว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลม ใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดย ปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทํางานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม.
  3. งัว ๒, งั่ว ๑ : (โบ) น. ลูกชายคนที่ ๕.
  4. งัวเงีย : ก. อาการที่คนแรกตื่นยังง่วงอยู่.
  5. งาน ๑ : น. สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคำ การ เช่น การงาน เป็นการ เป็นงาน ได้การได้งาน; การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวช งานปีใหม่.
  6. งาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ไทยขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก (เพื่อหายใจ)].
  7. เงาะ ๑ : น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดํา ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มี รูปร่างเช่นนั้น.
  8. เงินแดง : (โบ) น. เงินปลอม แต่เดิมใช้เงินหุ้มทองแดงไว้ข้างใน ต่อมา หมายถึงเงินปลอมที่มีทองแดงผสมปนมากเกินส่วน, โดยปริยายหมายถึง คนที่ใช้งานใช้การไม่ได้.
  9. เงินปากผี : น. เงินที่ใส่ไว้ในปากคนตายตามประเพณี.
  10. เงียบ ๆ : ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
  11. เงียบเหงา : ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, อ้างว้าง; มีคนน้อย, มีคนไปมาหาสู่น้อย.
  12. เงือก ๒ : น. สัตว์นํ้าในนิยาย เล่ากันว่าท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา.
  13. โง่ง ๆ, โง่งเง่ง : ว. โย่ง ๆ, อาการเดินก้าวยาว ๆ ของคนผอมสูง.
  14. โงเง : ว. อาการที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนโงกเงกของคนที่มึนงงหรือเพิ่งตื่นนอนใหม่, ยังงัวเงียอยู่.
  15. จ๋ง : (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑๐ ว่า ลูกจ๋ง, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๑๐ ว่า ลูกอัง. (กฎ. ๒).
  16. จมไม่ลง : (สํา) ก. เคยทําตัวใหญ่มาแล้วทําให้เล็กลงไม่ได้ (มักใช้แก่คนที่เคย มั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทําตัวเหมือนเดิม).
  17. จรรจา : [จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
  18. จรลาด, จรหลาด : [จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).
  19. จ้อกแจ้ก : ว. เสียงดังเช่นนั้น, เสียงของคนมาก ๆ ที่ต่างคนต่างพูดกันจนฟังไม่ได้ศัพท์.
  20. จอมปลอม : ว. ที่หลอกลวงให้คนเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นจริง เช่น ของจอมปลอม ผู้ดีจอมปลอม บัณฑิตจอมปลอม.
  21. จ๊ะจ๋า : ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูด จ๊ะจ๋าแล้ว. ก. อาการที่คู่รักพูดคุยกันอย่างมีความสุข เช่น สองคนนั้นเขา กำลังจ๊ะจ๋ากันอยู่อย่าไปกวนเขา.
  22. จักรยาน : น. รถถีบ, ยานพาหนะประเภทรถที่มีล้อ ๒ ล้อ ล้อหนึ่งอยู่ข้างหน้า และอีกล้อหนึ่งอยู่ข้างหลัง มีโครงเหล็กเชื่อมล้อหน้ากับล้อหลัง มีคันบังคับ ด้วยมือติดตั้งอยู่บนล้อหน้า ขับเคลื่อนด้วยกำลังคนผู้ขี่ซึ่งใช้เท้าถีบบันไดรถ ให้วิ่ง เรียกว่า จักรยานสองล้อ, ถ้ามี ๓ ล้อ เรียกว่า จักรยานสามล้อ.
  23. จัณฑาล : [จันทาน] ว. ตํ่าช้า. น. ลูกคนต่างวรรณะ. (ส. จณฺฑาล ว่า ลูกที่บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์).
  24. จันทรคราส : [-คฺราด] (ปาก) น. ''การกลืนดวงจันทร์'' ตามความเข้าใจ ของคนโบราณที่เชื่อว่าพระราหูอมดวงจันทร์, จันทรุปราคา ก็เรียก. (ส.). จันทรพิมพ์ น. ดวงเดือน, รูปที่แลดูแบนแห่งดวงจันทร์, จันทรมณฑล ก็ว่า. (ส.).
  25. จั่นห้าว : น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียว กับหน้าไม้ก็ได้.
  26. จับลิงหัวค่ำ : น. การเล่นเรื่องเบ็ดเตล็ดก่อนจะเล่นเรื่องที่แสดงจริงเพื่อ เรียกคนดู เช่นในการเล่นหนังตะลุง หนังใหญ่ หรือโขน.
  27. จับหืด : ก. อาการที่คนกำลังหอบหายใจไม่ทันเนื่องจากหืดกำเริบ.
  28. จำนอง : ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กําหนด, จําไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล คนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ ผู้รับจํานอง. (แผลงมาจาก จอง).
  29. จำนำ : ก. ประจํา, เรียกผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจำว่า เจ้าจํานํา. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานํา ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกัน การชําระหนี้. (แผลงมาจาก จํา).
  30. จีนเต็ง : น. หัวหน้าคนงานที่เป็นชาวจีน (ใช้เฉพาะในสถานที่ทําการร่วม กันมาก ๆ เช่น บ่อนหรือโรงสุรายาฝิ่น). (จ.).
  31. จุกจิก : ก. รบกวน, กวนใจ, เช่น อย่าจุกจิกนักเลย. ว. จู้จี้ เช่น เขาเป็นคนจุกจิก; เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่ของจุกจิก, กระจุกกระจิก ก็ว่า.
  32. จุกช่องล้อมวง : (โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาส หรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทางเช่นตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือจัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).
  33. จุดรวม : น. จุดกลางซึ่งเป็นที่รวมของคน สิ่งของ หรือความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น, จุดศูนย์กลาง ก็ว่า.
  34. จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง : น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมาย ที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
  35. จุนสี : [จุนนะสี] น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อ คิวปริกซัลเฟต (CuSO4) เมื่อ เป็นผลึก มีสูตร CuSO4•5H2O ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ใช้ประโยชน์ ในการชุบทองแดงด้วยไฟฟ้า ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าลูกนํ้า, คนทั่วไป เข้าใจว่าเกิดจากสนิมทองแดง.
  36. จูงจมูก : ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดย ปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนําไปโดยไม่ใช้ ความคิดของตน.
  37. จู้จี้ ๑ : ก. งอแง เช่น เด็กจู้จี้, บ่นจุกจิกรํ่าไร เช่น คนแก่จู้จี้; พิถีพิถันเกินไป เช่น ซื้อของเลือกแล้วเลือกอีกจู้จี้มาก.
  38. เจ๊ก : (ปาก) น. คําเรียกคนจีน.
  39. เจ็ด : น. จํานวนหกบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๗ ตกในราว เดือนมิถุนายน; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด, คู่กับ ลูกหญิง คนที่ ๗ ว่า ลูกเอก. (กฎ. ๒/๒๖).
  40. เจตภูต : [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษา สันสกฤตว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า ''อัตตา'' ก็มี ''ชีโว'' ก็มี, มีอยู่ ในลัทธิว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิด อื่นสืบไป ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็น ว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าว กันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
  41. เจ๊สัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ้าขรัว หรือ เจ้าสัว ก็เรียก.
  42. เจา : (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๙ ว่า ลูกเจา, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๙ ว่า ลูกเอา. (กฎ. ๒/๒๖).
  43. เจ้ากี้เจ้าการ : น. ผู้ที่ชอบเข้าไปวุ่นในธุระของคนอื่นซึ่งมิใช่หน้าที่ของตน จนน่ารำคาญ.
  44. เจ้าขรัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าสัว ก็เรียก.
  45. เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
  46. เจ้าทุกข์ : น. ผู้ที่เสียหายได้รับทุกข์หรือเดือดร้อน, ผู้ที่ไม่มีความสุขใจ. ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์.
  47. เจ้าปู่ : น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, ปู่เจ้า ก็ว่า.
  48. เจ้าสัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าขรัว ก็เรียก.
  49. เจ้าหน้า, เจ้าหน้าเจ้าตา : น. ผู้ชอบทําเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไป ทําธุระให้คนอื่นโดยเขาไม่ได้ขอร้อง.
  50. เจ้าหนี้ : น. เจ้าของหนี้; ผู้ขายเชื่อหรือให้กู้ยืมทรัพย์แก่บุคคลซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้; (กฎ) บุคคลซึ่งมีมูลหนี้เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าลูกหนี้ และมีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ได้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.0516 sec)