Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คุ้น , then คน, คุ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คุ้น, 1661 found, display 651-700
  1. นานาจิตตัง : ว. ต่างจิตต่างใจ, ต่างคนก็ต่างความคิดเช่นคนหนึ่งถูกกับ อากาศเย็น แต่อีกคนหนึ่งถูกกับอากาศร้อน.
  2. นาม, นาม : [นามมะ] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สําหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).
  3. นายจ้าง : ( น. ผู้จ้างทําการงาน, คู่กับ ลูกจ้าง; (กฎ) บุคคลซึ่งตกลงว่าจ้าง บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ให้ทำงานให้และจะให้สินจ้าง ตลอดเวลาที่ทำงานให้นั้น.
  4. นายธง : ( น. นายทหารเรือคนสนิทของผู้บัญชาการทหารเรือหรือแม่ทัพเรือ เป็นต้น.
  5. นาวิก, นาวิก : [นาวิก, นาวิกกะ] น. คนเรือ. ว. เกี่ยวกับเรือ. (ป., ส.).
  6. นาวิน : น. คนเรือ, ทหารเรือที่ประจําการพลรบในกองทัพเรือ. (ส.).
  7. น้ำนม : น. ของเหลวสีขาวออกมาจากนมคนและสัตว์ สําหรับเลี้ยงลูก.
  8. น้ำนิ่งไหลลึก : (สํา) น. คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง.
  9. น้ำมือ : น. มือของตัวแท้ ๆ; รสมือ; ความสามารถในการทํา เช่น บํารุง สินค้าให้เกิดมีขึ้นในประเทศโดยนํ้ามือของคนไทยเรา.
  10. น้ำใสใจคอ : น. น้ำใจที่แท้จริง (มักใช้ในทางดี) เช่น เขาเป็นคนมี น้ำใสใจคอโอบอ้อมอารี.
  11. นิง : (โบ) น. ลูกชายคนที่ ๑๑, นึง ก็ว่า.
  12. นิทรรศการ : [นิทัดสะกาน] น. การแสดงผลงาน สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรม ให้คนทั่วไปชม. (อ. exhibition).
  13. นิรุตติปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
  14. นิ้ว : น. ส่วนสุดของมือหรือเท้า แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลําดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ; มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ นิ้ว เท่ากับ ๔ กระเบียด, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ; มาตราวัดของอังกฤษ ๑ นิ้ว เท่ากับ ๒.๕ เซนติเมตร, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ ฟุต. นิ้วไหนร้ายก็ตัดนิ้วนั้น (สํา) น. คนใดไม่ดี ก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ.
  15. นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
  16. นี้ : ว. คําใช้ประกอบนามหรือข้อความที่อยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น ทุกวันนี้ ชายคนนี้.
  17. นึง : (โบ) น. ลูกชายคนที่ ๑๑, นิง ก็ว่า.
  18. เนรเทศ : [ระเทด] ก. บังคับให้ออกไปเสียจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่ของตน; (กฎ) ขับคนต่างด้าวให้ออกไปนอกราชอาณาจักร; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง การออกจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่เดิมด้วยความสมัครใจ เช่น เนรเทศ ตัวเอง. (แผลงมาจาก นิรเทศ).
  19. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  20. แน่ ๑ : ว. แท้, จริง, ไม่เป็นอื่น, เช่น ทําแน่ ไปแน่; เก่ง, มีฝีมือดี, เช่น คนนี้ มือแน่มาก.
  21. แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
  22. บรรณานุกรม : [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบ การค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใด ยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือ บทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.
  23. บริคณห์ : [บอริคน] (แบบ) น. เรือน; คําที่แน่นอน, สิ่งที่ถูกต้องแล้ว; ความ กําหนดถือเอา, ความยึดถือ, การจับ. ก. นับคะเน, ประมวล. (ป. ปริคฺคหณ).
  24. บริคณห์สนธิ : (กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัท จํานวนตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของ กฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจํากัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.
  25. บริชน : [บอริชน] (แบบ) น. คนผู้แวดล้อม, บริวาร. (ป., ส. ปริชน).
  26. บริษัทบริวาร : ( น. คนแวดล้อม เช่น เขามีบริษัทบริวารมาก.
  27. บอกบท : ก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือ สั่งให้ทําสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.
  28. บ่อนแตก : ก. ก่อเรื่องทําให้คนที่มาชุมนุมกันต้องเลิกไปกลางคัน.
  29. บังไพร : ก. เสกกิ่งไม้ถือบังตัวให้สัตว์เห็นเป็นป่าไม่เห็นตัวคน ใช้ใน การคล้องช้างเป็นต้น.
  30. บัญชีเดินสะพัด : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล ๒ คนตกลงกันว่าสืบ แต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากําหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้ง ๒ นั้น หักกลบลบกัน และคงชําระแต่ส่วนที่เป็นจํานวนคงเหลือโดยดุลภาค.
  31. บัณฑิต : [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
  32. บาง ๑ : น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้าม กับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็ก เอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลําบากไม่ได้ เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
  33. บาง ๒ : ว. ใช้ประกอบหน้านามหมายความว่า ไม่ใช่ทั้งหมด คือ เป็นส่วน ย่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนรวม เช่น บางคน บางพวก บางถิ่น บางสิ่ง, ลาง ก็ใช้.
  34. บ่างช่างยุ : (สํา) น. คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน.
  35. บาแดง : (โบ) น. คนเดินหมาย, คนนําข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงาน ตามคน, ตําแหน่งข้าราชการในสํานักพระราชวัง, ประแดง ก็ใช้.
  36. บาทมูลิกากร : [บาดทะมูลิกากอน] น. หมู่คนที่อยู่แทบบาทมูล คือ ข้าราชการในพระองค์. (ป.).
  37. บาทยุคล : [บาดทะยุคน, บาดยุคน] น. เท้าทั้งคู่. (ป. ปาทยุคล).
  38. บ้านนอกขอกนา : (สํา) น. เรียกคนที่เป็นชาวไร่ชาวนาอยู่นอกกรุง หรือเมืองหลวงว่า คนบ้านนอกขอกนา, บ้านนอก หรือ บ้านนอก คอกนา ก็ว่า.
  39. บานมงคล : [ [บานนะมงคน] น. ชุมนุมดื่ม. (ส.).
  40. บาบี : (แบบ) น. คนมีบาป, คนมีความชั่ว, เช่น ชนะแต่บาบีพรรค์ พรั่งพร้อม. (ตะเลงพ่าย). ( ป. ปาปี; ส. ปาปินฺ).
  41. บาป, บาป- : [บาบ, บาบปะ-] น. การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามใน ศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).
  42. บาปหนา : [บาบหฺนา] น. บาปมาก. ว. มีบาปมาก, มีบาปสั่งสม ไว้มาก, มีกรรมมาก, เช่น คนบาปหนา.
  43. บึ่ง ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายสกุลในหลายวงศ์ ขนาดเท่าแมลงหวี่ หรือโตกว่าเล็กน้อย มีปีกคู่เดียว ปากแบบดูดกิน เจาะดูดเลือด คนและสัตว์กินเป็นอาหาร มีอยู่ชุกชุมตามบริเวณชายนํ้า ชายทะเล และในป่าทึบ ที่สําคัญได้แก่ สกุล Phlebotomus วงศ์ Psychodidae, สกุล Simulium วงศ์ Simuliidae, สกุล Lepto conops และ Culicoides วงศ์ Ceratopogonidae เป็นต้น, ปึ่ง หรือ คุ่น ก็เรียก.
  44. บึ้ง ๑ : น. ชื่อแมงมุมขนาดใหญ่ที่มีลําตัวยาวกว่า ๓ เซนติเมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นประเภทไม่ถักใยดักสัตว์ ตัวสีนํ้าตาลหรือนํ้าตาลแก่ มีขนรุงรังสีเดียวกัน ขุดรูอยู่ คอยจับสัตว์เล็ก ๆ กิน บึ้งชนิดที่คน นํามากิน เช่น ชนิด Melopoeus albostriatus, Nephila maculata, กํ่าบึ้ง หรือ อีบึ้ง ก็เรียก.
  45. บุกเบิก : ก. ถางป่าเข้าไปให้เป็นไร่นา, โดยปริยายหมายความว่า ริเริ่มทําเป็นคนแรกหรือพวกแรก.
  46. บุคคลธรรมดา : [บุกคน-] น. คน, มนุษย์ปุถุชน.
  47. บุคคลนิติสมมติ : [บุกคนนิติสมมด] (กฎ; เลิก) น. นิติบุคคล.
  48. บุคคลผู้ไร้ความสามารถ : [บุกคน-] (กฎ) น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มี ความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจํากัดโดยบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
  49. บุคคลสิทธิ : [บุกคะละสิด, บุกคนละสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้.
  50. บุคลาธิษฐาน : [บุกคะลาทิดถาน, บุกคะลาทิดสะถาน] ว. มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, ที่ยก คนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น เปรียบกิเลสเหมือนพญามาร, คู่กับ ธรรมาธิษฐาน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.0520 sec)