Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คุ้น , then คน, คุ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คุ้น, 1661 found, display 701-750
  1. บุคลิกทาน : [บุกคะลิกกะทาน] น. ทานที่ทายกให้จําเพาะตัวคน, คู่กับ สังฆทาน คือ ทานที่ให้แก่สงฆ์. (ตัดมาจาก ป. ปาฏิปุคฺคลิก ทาน).
  2. บุคลิก, บุคลิก- : [บุกคะลิก, บุกคะลิกกะ-] ว. จําเพาะคน. (ป. ปุคฺคลิก).
  3. บุคลิกภาพ : [บุกคะลิกกะพาบ] น. สภาพนิสัยจําเพาะคน.
  4. บุคลิกลักษณะ : [บุกคะลิกกะลักสะหฺนะ, บุกคะลิกลักสะหฺนะ] น. ลักษณะจําเพาะตัวของแต่ละคน, บุคลิก ก็ว่า.
  5. บุญทำกรรมแต่ง : (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทํา ให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
  6. บุญธรรม : น. เรียกลูกของคนอื่นซึ่งเอามาเลี้ยงเป็นลูกของตัวว่า ลูกบุญธรรม, ถ้าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เรียกว่า บุตร บุญธรรม.
  7. บุญ, บุญ- : [บุน, บุนยะ-] น. การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺ?; ส. ปุณฺย).
  8. บุถุชน : น. ปุถุชน, คนที่ยังมีกิเลสหนา, สามัญชน, ผู้ที่มิได้เป็นพระ อริยบุคคล. (ป. ปุถุชฺชน; ส. ปฺฤถคฺชน).
  9. บุรุษโทษ : [บุหฺรุดสะโทด] น. ลักษณะชั่วของคน.
  10. บูชายัญ : น. การบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่ง, การเซ่นสรวงด้วย วิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา. ก. เซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคน หรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา.
  11. เบะ : ว. ทําหน้าเหมือนจะร้องไห้; มักใช้ประกอบคํา เหลือ เป็น เหลือเบะ คือ เหลือมาก เช่นในกรณีที่เตรียมของไว้มาก แต่คนมาน้อย.
  12. เบี้ย ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปาก ยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลําราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสําหรับซื้อ ขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับ สตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคําว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
  13. เบื้อ ๒ : น. สัตว์ในนิยายเล่ากันว่ามีรูปร่างคล้ายคน แต่ไม่มีสะบ้าหัวเข่า พูดไม่ได้, โดยปริยายเรียกผู้ที่นิ่งเฉยไม่พูดไม่จาเหมือนตัวเบื้อว่า เป็นเบื้อ เช่น นั่งเป็นเบื้อ.
  14. แบบ : น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น ดอกไม้ประดิษฐ์.
  15. โบราณ, โบราณ- : [โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษร โบราณหนังสือเก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).
  16. ใบ้ : ว. ไม่สามารถจะพูดเป็นถ้อยคําที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจได้, โดยปริยาย หมายความว่า นิ่งไม่พูด เช่น นั่งเป็นใบ้. ก. แสดงกิริยาท่าทางแทน ถ้อยคํา เช่น ภาษาใบ้; แนะด้วยอุบาย เช่น บอกใบ้, บอกเลศนัย เช่น ใบ้หวย.
  17. ใบสำคัญประจำตัว : (กฎ) น. หนังสือประจำตัวของคนต่างด้าวซึ่ง นายทะเบียนได้ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว.
  18. ใบอนุญาตขับขี่ : (กฎ) น. ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วย รถยนต์ ใบอนุญาตสําหรับคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และใบอนุญาต ผู้ประจําเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง, (ปาก) ใบขับขี่.
  19. ประกันชีวิต : (กฎ) น. ชื่อสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคล คนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่ ผู้รับประโยชน์โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และในการนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย, สัญญาประกันชีวิต ก็เรียก. (ปาก) ก. ทําสัญญา ประกันชีวิต.
  20. ประกันภัย : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ ประกันภัย ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจํานวนหนึ่ง ให้ในกรณีที่หากมีวินาศภัยขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดัง ได้ระบุไว้ในสัญญา และการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอา ประกันภัย ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย, สัญญา ประกันภัย ก็เรียก.
  21. ประคอง : ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้ม เป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวัง ไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.
  22. ประเจิดประเจ้อ : ว. อาการกระทําที่ถือกันว่าน่าละอายหรือ ไม่บังควรให้คนอื่นเห็น.
  23. ประชา : น. หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส.; ป. ปชา).
  24. ประชากร : น. หมู่คน, หมู่พลเมือง (เกี่ยวกับจํานวน).
  25. ประณาม ๒ : ก. กล่าวร้ายให้เขาเสียหาย เช่น ถูกประณามว่าเป็นคนโกง; ขับไล่. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม).
  26. ประดัก ๆ : ว. อาการแห่งคนที่ตกนํ้าแล้วสําลักนํ้า เรียกว่า สําลักประดัก ๆ, อาการที่ชักหงับ ๆ ใกล้จะตาย.
  27. ประดัง : ว. ยัดเยียดกันเข้ามา เช่น คนประดังกันเข้ามา, มาติด ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น งานประดังเข้ามา; ดังขึ้นพร้อมกัน, แซ่ซ้อง, (หมายเอาเสียง).
  28. ประแดง : (โบ) น. คนเดินหมาย, คนนําข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงาน ตามคน, ตําแหน่งข้าราชการในสํานักพระราชวัง, บาแดง ก็ใช้.
  29. ประพิมพ์ประพาย : น. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่ คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ.
  30. ประมง : น. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทําประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดํานํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดํานํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).
  31. ประโมง : น. การจับสัตว์นํ้า; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า; โดยทั่วไปใช้ ประมง.
  32. ประวัติ, ประวัติ- : [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติ วัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
  33. ประสก : (ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คําที่บรรพชิต เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก).
  34. ประสมโรง : ก. เอาคนที่เป็นลิเกหรือละครเป็นต้นต่างโรงมาเล่น รวมกัน; พลอยเข้าด้วย.
  35. ประสาทหลอน : น. ความผิดปรกติของการรับรู้ เช่น เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงคนพูดโดยไม่มีคนพูดจริง ได้กลิ่นที่ไม่มีอยู่จริง. (อ. hallucination).
  36. ปริคณห์ : [ปะริคน] น. บริคณห์. (ป. ปริคหณ).
  37. ปล้นทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ชิงทรัพย์ร่วม กระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป เรียกว่า ความผิดฐาน ปล้นทรัพย์.
  38. ปลอด : [ปฺลอด] ก. พ้นจาก, ปราศจาก, เช่น ปลอดคน ปลอดภัย; ล้วน, แท้ ๆ, เช่น ขาวปลอด ดําปลอด.
  39. ปลอม : [ปฺลอม] ก. ทําให้เหมือนคนอื่นหรือสิ่งอื่น เพื่อให้หลงผิดว่าเป็น คนนั้นหรือสิ่งนั้น เช่น ปลอมตัว. ว. ไม่แท้หรือไม่จริงตามสภาพ ของสิ่งนั้น เช่น ฟันปลอม ผมปลอม.
  40. ปลาข้องเดียวกัน : (สํา) น. คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน.
  41. ปลาติดหลังแห : (สํา) น. คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย, ปลาติดร่างแห ก็ว่า.ปลาตู้ น. ปลา ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นในตู้กระจก มักเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมีสีสันต่าง ๆ.
  42. ปลายแถว : น. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย, ผู้ที่มีความสำคัญน้อย, หางแถว ก็ว่า.
  43. ปลาหน้าดิน : น. ปลาที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ปลาเห็ดโคน ปลาเก๋า.
  44. ปลาหมอตายเพราะปาก : (สํา) น. คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย. ปลาหมอแถกเหงือก
  45. ปลาใหญ่กินปลาเล็ก : (สํา) น. ประเทศหรือคนที่มีอํานาจหรือผู้ใหญ่ ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย.
  46. ปลิง ๑ : [ปฺลิง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในวงศ์ Hirudinidae ตัว ยืดหดได้คล้ายทาก เกาะคนหรือสัตว์เลือดอุ่นเพื่อดูดกินเลือด อาศัยอยู่ในน้ำจืด มีหลายชนิด เช่น ชนิด Hirudo medicinalis, Hirudinaria manillensis; เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับ ตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ตัวปลิง ก็เรียก.
  47. ป่อง ๓, ป่อง ๆ : ว. อาการของคนโกรธแกมงอน ในคําว่า โกรธป่อง ๆ.
  48. ป่องร่า : (โบ) น. อาการของคนคะนองไม่กลัวใคร ชวนวิวาทกับผู้อื่น. (ปรัดเล).
  49. ปอด ๑ : (สรีร) น. อวัยวะทําหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกาย ของคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก; ตัวสกาที่ข้าม เขตไปไม่ได้. ว. กลัวจนไม่กล้าทำอะไร.
  50. ปอบ : น. ผีชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าสิงอยู่ในตัวคน กินตับไตไส้พุงจนหมด แล้วออกไป คนนั้นก็ตาย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.1282 sec)