Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คุ้น , then คน, คุ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คุ้น, 1661 found, display 851-900
  1. พอมีพอกิน : ว. มีฐานะปานกลาง เช่น เขาเป็นคนมีฐานะพอมีพอกิน.
  2. พอมีอันจะกิน : ว. ค่อนข้างรวย, มีฐานะค่อนข้างดี, เช่น เขาเป็นคน พอมีอันจะกิน.
  3. พ่อลิ้นทอง : (ปาก) น. คนที่พูดดี พูดเก่ง หรือพูดคล่องน่าฟัง.
  4. พะงาบ, พะงาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), ปะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ งาบ ๆ ก็ว่า.
  5. พะยุพยุง : [พะยุง] ก. ช่วยกันพยุง เช่น ช่วยพะยุพยุงคนเจ็บ, พะยุพยุงจูงจับ หิ้วปากคนละข้าง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  6. พัลลภ : [พันลบ] น. คนสนิท, คนโปรด. (ป., ส. วลฺลภ).
  7. พาน ๕ : ก. พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคํา พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ, เช่น ไม่ได้พบพานเสียนาน; ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง, เช่น เอาเชือกมา พานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง, กั้นไว้ เช่น พานคนข้างหลังไว้, ระให้หมดไป เช่น เอาไม้กวาดพานหยากไย่.
  8. พาล ๒, พาลา : (กลอน) ว. อ่อน, เด็ก, รุ่น. (ส., ป.); ชั่วร้าย, เกเร, เกะกะ, เช่น คนพาล. ก. หาเรื่องทำให้วุ่นวาย, หาเรื่องทำให้เดือดร้อน, เช่น พาลหาเรื่อง พาลหาเหตุ. น. คนชั่วร้าย, คนเกเร, เช่น คบคนพาล พาลพาไปหาผิด. (ป.).
  9. พาโล : ก. แสร้งพูดใส่ความไม่จริงให้คนอื่น, กล่าวหาความ, บางทีก็ใช้มี สร้อยว่า พาโลโสเก หรือ พาโลโฉเก. (ป., ส. พาล).
  10. พาหะ ๓ : น. ตัวนํา เช่น ยุงก้นปล่องเป็นพาหะไข้มาลาเรีย; (กฎ) คนหรือสัตว์ ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฏ แต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้นซึ่งอาจ ติดต่อถึงผู้อื่นได้.
  11. พำพึม, พำ ๆ, พึม ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงคนพูดหรือบ่นค่อย ๆ, พึมพํา ก็ว่า.
  12. พิชญ์ : น. นักปราชญ์, คนมีความรู้สูง. (ส. วิชฺ?).
  13. พิถีพิถัน : ว. ละเอียดลออมาก เช่น เขาเป็นคนพิถีพิถันในการเลือกเสื้อผ้า.
  14. พิริย, พิริยะ : [พิริยะ] น. ความหมั่น, ความกล้า; คนกล้า, คนแข็งแรง, นักรบ. (ป. วิริย; ส. วีรฺย ว่า ความหมั่น, ความกล้า).
  15. พิเรนทร์ : [พิเรน] ว. อุตรินอกลู่นอกทาง เช่น เล่นพิเรนทร์ คนพิเรนทร์.
  16. พิเศษ : ว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษเขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติ ธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่ง ต่างหากเช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศ เป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษพระครูสัญญาบัตรชั้น พิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).
  17. พี่ : น. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดก่อน, ผู้ที่มีศักดิ์เสมอพี่; คํานําหน้าชื่อคนที่มีอายุคราวพี่หรือมีศักดิ์เสมอพี่ เช่น พี่นั่น พี่นี่.
  18. พึ่ง ๑ : ก. อาศัย เช่น พึ่งบารมีคนอื่น, พักพิง เช่น ไปพึ่งเขาอยู่, ขอความ ช่วยเหลือ เช่น หนีร้อนมาพึ่งเย็น.
  19. พึมพำ : ก. พูดค่อย ๆ จับความไม่ได้ เช่น เขาพึมพำอยู่คนเดียว.
  20. พื้น : น. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็น แผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทํา สวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มี ดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
  21. พื้นเดิม : น. รกรากเดิม เช่น พื้นเดิมเป็นคนมั่งมี.
  22. พื้นเพ : น. หลักแหล่ง เช่น พื้นเพเป็นคนนครปฐม, อาชีพของ วงศ์ตระกูล เช่น พื้นเพเป็นพ่อค้า.
  23. พื้นเมือง : ว. เฉพาะเมือง, เฉพาะท้องที่, เช่น ของพื้นเมือง คนพื้นเมือง นิทานพื้นเมือง.
  24. เพชรตัดเพชร : (สํา) น. คนเก่งต่อเก่งมาสู้กัน.
  25. เพ้ย : ว. คําขับไล่ที่เปล่งเสียงแรง ๆ ให้สัตว์เช่นไก่หนีไป; คํารับในเวลา พากย์โขน คนรับร้องเพ้ย. ก. ตะเพิด เช่น ถูกเพ้ย.
  26. เพี้ยน : ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย เช่น หน้าเพี้ยน, คลาดเคลื่อน เช่น พูดเพี้ยน เสียงเพี้ยน, ผิดเพี้ยน ก็ว่า, โบราณใช้ เพียน ก็มี; (ปาก) ไม่ค่อยปรกติ (มักใช้แก่คน) เช่น เขามีท่าทางเพี้ยน ๆ.
  27. แพขนานยนต์ : (ปาก) น. เรือบรรทุกคนโดยสาร รถยนต์ หรือ สิ่งของข้ามฟาก มีลักษณะคล้ายแพขนาดใหญ่.
  28. แพ้ผัว : ว. มีผัวกี่คน ๆ ก็ตายจากไปก่อนหมด.
  29. แพ้เมีย : ว. มีเมียกี่คน ๆ ก็ตายจากไปก่อนหมด.
  30. แพะรับบาป : (สํา) น. คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทํากรรมนั้น.
  31. โพชฌงค์ : [โพดชง] น. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ; ชื่อพระ ปริตรที่พระสงฆ์สวดให้คนเจ็บหนักฟัง เรียกว่า สวดโพชฌงค์. (ป.).
  32. ไพชน : น. ที่เงียบ, ที่สงัด, ที่ปราศจากคน. (ป., ส. วิชน).
  33. ไพ่ตาย : น. ไพ่ในมือที่รอเข้าตองเข้าเศียรอยู่แต่ไม่มีใครทิ้งให้หรือ เขาทิ้งให้คนอื่นซึ่งตนไม่มีสิทธิ์เก็บมาใช้ได้ เช่น ไพ่ตายคามือ, โดยปริยายหมายถึงเรื่องสำคัญที่สามารถให้คุณให้โทษได้ซึ่งอีกฝ่าย หนึ่งกำเป็นความลับไว้ เช่น เขากำไพ่ตายของคนนั้นไว้ จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด.
  34. ไพ่ป๊อก : น. ชื่อไพ่ชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชุดหนึ่งมี ๕๒ ใบ ใช้เล่นการพนันได้หลายอย่าง เช่น บริดจ์ โป๊กเกอร์ หรือใช้ทํานาย โชคชะตาได้ด้วย; การพนันชนิดหนึ่งเจ้ามือแจกไพ่ให้คนละ ๒ ใบ แล้วเรียกไพ่ได้อีก รวมแล้วไม่เกิน ๕ ใบ และจะจ่ายเงินให้คนที่ได้ แต้มสูงกว่า และกินเงินคนที่ได้แต้มตํ่ากว่าตามกติกา.
  35. ไพร่ : [ไพฺร่] (โบ) น. ชาวเมือง, พลเมืองสามัญ; คนเลว. ว. สามัญ.
  36. ไพร่พล : น. กําลังทหาร, กําลังคน.
  37. ภควัม : [พะคะ–] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียก คนที่ทําหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทําหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็น ภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.
  38. ภักษการ : น. คนทําอาหาร, คนครัว. (ส.).
  39. ภัจ : น. ภฤตย์, คนรับใช้, คนใช้. (ป. ภจฺจ; ส. ภฺฤตฺย).
  40. ภาณี : น. ผู้สวด, ผู้กล่าว, ผู้บอก, คนช่างพูด, เพศหญิง ใช้ว่า ภาณินี.
  41. ภารต, ภารต– : [พารด, พาระตะ–] น. ชาวอินเดีย; คนแสดงละคร. (ส.).
  42. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  43. ภูมิแพ้ : [พูม–] น. สภาพที่ร่างกายมีปฏิกิริยาผิดปรกติต่อสิ่งที่ตามธรรมดาเมื่อเข้าสู่ ร่างกายคนทั่ว ๆ ไปแล้วจะไม่มีอันตรายใด ๆ จะมีอันตรายก็เฉพาะในคน บางคนที่แพ้สิ่งนั้นเท่านั้น.
  44. โภคิน, โภคี : น. ผู้บริโภค; งู, นาค; คนมั่งมี, คนมีสมบัติ; นายบ้าน. (ป., ส.).
  45. มงคลแฝด : [มงคน-] (ปาก) น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวม ศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลจักร ก็เรียก.
  46. มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
  47. มงคลสมรส : [มงคน-] น. งานแต่งงาน.
  48. มตกภัต : [มะตะกะพัด] น. ข้าวที่ทําบุญอุทิศให้คนตาย. (ป. มตกภตฺต).
  49. มตกะ : [มะตะกะ] น. คนตายแล้ว, ผู้ตายแล้ว. ว. ของผู้ตายแล้ว. (ป.; ส. มฺฤตก).
  50. มนุษย์กบ : น. คนที่ฝึกดํานํ้าได้นาน ๆ จนชํานาญโดยอาศัยหน้ากาก รองเท้าคล้ายตีนกบ และอุปกรณ์ช่วยการหายใจใต้นํ้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.0717 sec)