Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้อความ , then ขอความ, ข้อความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้อความ, 174 found, display 101-150
  1. ประกาศ : ก. ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. น. ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของ บริษัท; (กฎ) ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือ วางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศ กระทรวง ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี. (ส. ปฺรกาศ; ป. ปกาส).
  2. ประจักษ์พยาน : (กฎ) น. พยานบุคคลที่เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความเกี่ยวในเรื่องที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง.
  3. ประพจน์ : น. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือ ประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น จะมีความหมายกํากวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).
  4. ประพันธ์ : ก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคําเป็นข้อความเชิงวรรณคดี. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
  5. ประโยค : [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
  6. ปริศนาลายแทง : น. ข้อความที่เป็นปริศนาเป็นเครื่องแสดงขุมทรัพย์ที่ ฝังอยู่ในดินเป็นต้น.
  7. ปีกกา : น. รูปกองทัพที่ตั้งมีกองขวากองซ้ายคล้ายปีกกา; เครื่องหมาย รูปดังนี้ { } สําหรับควงข้อความเข้าด้วยกัน เรียกว่า วงเล็บปีกกา.
  8. เป็นต้น ๒ : (ไว) คําที่ใช้แทนเครื่องหมาย ฯลฯ เพื่อละคําหรือข้อความ ตอนปลายซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับคําหรือข้อความที่ยกขึ้น กล่าวเป็นตัวอย่างตอนต้น เช่น อริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น.
  9. แปลงสาร : ก. สั่งอย่างหนึ่งไปทำเสียอีกอย่างหนึ่ง, แก้สาระสำคัญ หรือข้อความในหนังสือจากอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
  10. โปสต์การ์ด : น. แผ่นกระดาษหนาพอประมาณด้านหนึ่งมักเป็นภาพ อีกด้านหนึ่ง สำหรับเขียนข้อความ และติดไปรษณียากรเพื่อส่งทางไปรษณีย์ โดยไม่ต้องบรรจุซอง. ว. เรียกขนาดภาพถ่ายเป็นต้น ที่มีความ กว้างยาวประมาณ ๓''x๕'' ว่า ขนาดโปสต์การ์ด. (อ. postcard).
  11. ไปยาล : น. เครื่องหมายละคํา รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สําหรับละคํา ที่ประกอบคําหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สําหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่า มีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า ''ละ'', หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า ''ละถึง'', เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).
  12. ผู้เชี่ยวชาญ : (กฎ) น. ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในทางศิลปะ วิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้าหรือการงานที่ทํา หรือในกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาด ข้อความในประเด็นแห่งคดีแพ่ง ไม่ว่าผู้นั้นจะมีอาชีพในการนั้น หรือไม่ก็ตาม.
  13. เฝือ ๒ : ว. รก, ยุ่ง, เรื้อ; เคลือบคลุม, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความยังเฝืออยู่, หมดความสำคัญ เช่น มากเสียจนเฝือ, บ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนทำให้หมดความสำคัญหรือหมดความสนใจ เช่น เรื่องนี้พูดกัน จนเฝือ.
  14. พลความ : [พนละ] น. ข้อความที่ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่อง, ตรงข้าม กับ ใจความ.
  15. พังเพย : น. ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าว เป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง เช่น กระต่ายตื่นตูม.
  16. เพลงยาว : น. หนังสือหรือจดหมายถึงคู่รัก แต่งเป็นกลอนแสดง ข้อความรักหรือตัดพ้อเป็นต้น. (ตัดมาจาก กลอนเพลงยาว).
  17. ฟ้อง : ก. กล่าวหาหรือกล่าวโทษต่อผู้ใหญ่หรือต่อศาล เช่น ฟ้องครู ฟ้องศาล, แสดงให้รู้ เช่น มีหลักฐานฟ้องอยู่ในตัว; โดยปริยาย หมายความว่า ขัดกัน, ไม่ตรงกัน, เช่น ข้อความข้างต้นกับข้าง ปลายฟ้องกันเอง. น. คําฟ้อง.
  18. ภาษิต : น. ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็น คติ เช่น กงเกวียนกําเกวียน. (ส.).
  19. มัว, มัว ๆ : ว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้า เช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืด ไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว; อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวพูด มัวคิด, มัวแต่ ก็ว่า.
  20. เมื่อนั้น : ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่เป็นตัวเจ้าหรือ เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
  21. ย่อหน้า : ก. เขียนหรือพิมพ์หนังสือขึ้นบรรทัดใหม่และร่นจากแนวซ้าย สุดเข้าไปพอสมควร เพื่อแสดงว่าขึ้นความตอนใหม่. น. ข้อความตอน ย่อย ๆ ที่แยกออกจากกันด้วยวิธีเขียนย่อหน้า; ในกฎหมายเรียกย่อหน้า ว่า วรรค เช่น มาตรา ๕ วรรค ๒.
  22. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  23. ยาวยืด : ว. อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้ จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืด เล่าไม่รู้จักจบ.
  24. ยุบล : น. ข้อความ, เรื่องราว.
  25. แย้ง : ก. ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน เช่น ความเห็นแย้งกัน ข้อความแย้งกัน; ต้านไว้, ทานไว้.
  26. รหัส : [–หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้ข้อความ ที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษร ของข้อความนั้นหรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง กุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).
  27. รัว ๒, รัว ๆ : ก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทําให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลอง รัวปืนกล;อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว. ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ;ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพ รัว ๆ เห็นรัว ๆ.
  28. เรียงความ : ก. นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเป็นราว, แต่งหนังสือในลักษณะที่ใช้พูดหรือเขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะ ที่แต่งเป็นร้อยกรอง. น. เรื่องที่นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงขึ้น.
  29. เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
  30. ฤๅษีแปลงสาร : น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษร ข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มี ความหมายตรงกันข้าม.
  31. ลงท้าย : ก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้าย ก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควร มิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย.
  32. ล้อ ๒ : ก. แสดงกิริยาวาจาหยอกเย้า เย้าแหย่ให้เขาเกิดรําคาญให้อายหรือ ให้โกรธเป็นต้น; ทำให้คล้ายคลึงแบบ เช่น เขียนข้อความให้ล้อกัน.
  33. ล่ะ : ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า.
  34. ละ ๑ : ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐาน ที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดย ใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ … หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมาย ดังนี้ – ''– แสดงว่ามีคําหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คําประกอบ คํานามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจํานวนรวม ซึ่งกําหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คําประกอบกริยาเพื่อ เน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
  35. ลายแทง : น. ข้อความที่เป็นปริศนาแฝงคำตอบชี้แหล่งขุมทรัพย์.
  36. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  37. ลูกน้ำ : น. ลูกอ่อนของยุงที่ยังอาศัยอยู่ในนํ้า เมื่อแก่เข้าหลุดจาก ปลอกเป็นยุง; ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรค ตอนของข้อความ เรียกว่า จุดลูกนํ้า หรือ จุลภาค.
  38. เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
  39. แล ๒ : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
  40. แล้วกัน : (ปาก) ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวัง เป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน ไป เมื่อไรก็ไม่บอก; คำที่ใช้ลงท้ายข้อความแสดงว่าเป็นอันยุติกัน เช่น ขอโทษเขาเสียหน่อยก็แล้วกัน วันนี้ยังเขียนไม่เสร็จ เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน.
  41. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  42. วงเล็บปีกกา : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควง คำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่ม เดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น (มีรูปภาพ) ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลข หรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x 5{7 (x 6) + 3x} 28 = 39.
  43. วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
  44. วรรค : [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  45. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  46. ว่ากลอนสด : ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิด มาก่อน; โดยปริยายหมายถึงกล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน, พูดกลอนสด ก็ว่า.
  47. สมการ : [สะมะกาน, สมมะกาน] (คณิต) น. ข้อความที่แสดงความ เท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ เฉพาะบางค่าของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏ ในนิพจน์นั้น ๆ หรือการเหมือนกันของข้อความย่อย ๒ ข้อความที่ ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของเครื่องหมาย =. (อ. equation).
  48. สมัต : [สะมัด] ก. จบแล้ว, จบข้อความ, สําเร็จแล้ว; เต็ม, บริบูรณ์. (ป. สมตฺต).
  49. สรรพนาม : (ไว) น. คําที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.
  50. สลักหลัง : (กฎ) ก. เขียนข้อความลงในด้านหลังตราสาร เพื่อโอนไป ซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตราสารนั้น เช่น สลักหลังตั๋วแลกเงิน; เขียนลงข้างหลังเอกสารเป็นต้น เช่น สลักหลังเช็ค สลักหลังรูปให้ไว้ เป็นที่ระลึก.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-174

(0.0339 sec)