Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้อความ , then ขอความ, ข้อความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้อความ, 174 found, display 51-100
  1. โฆษณา : [โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทําการไม่ว่าโดยวิธี ใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการ ค้า. (ส.; ป. โฆสนา).
  2. เงื่อนไข : น. ข้อแม้; (กฎ) ข้อความอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล หรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ในอนาคต.
  3. เงื่อนงำ : น. เรื่องราวหรือข้อความที่ซ่อนอยู่ไม่เปิดเผย.
  4. จดทะเบียน : (กฎ) ก. ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกําหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท.
  5. จดหมายเวียน : น. (ปาก) หนังสือเวียน; หนังสือที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงคนจํานวนมาก.
  6. จริงอยู่แต่, จริงอยู่...แต่ : สัน. ใช้แสดงความยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้ว ข้างหน้าและแสดงว่ามีข้อความขัดแย้งตามมาข้างหลัง.
  7. จันทรภิม : (โบ) น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำนาย จันทรุปราคาได้ถูกต้องว่า เงินจันทรภิม ในข้อความว่า เมื่อจันทรุปราค ได้เงีนจันทรภิม. (สามดวง).
  8. จุดลูกน้ำ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรคตอนของ ข้อความ, จุลภาค ก็เรียก.
  9. จุลภาค : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรคตอนของ ข้อความ, จุดลูกนํ้า ก็เรียก; ภาคเล็ก.
  10. ฉลาก : [ฉะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็น เครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น; ป้ายบอก ชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า ฉลากยา; สลาก ก็ว่า; (กฎ) รูป รอย ประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อ บรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง.
  11. ฉ้อโกง : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือ บุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือ ทําลายเอกสารสิทธิ เรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.
  12. เฉย ๆ : ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคําอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทําอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ ทํามาหากินอะไร; ไม่ยินดียินร้ายเช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่.
  13. เช็คขีดคร่อมทั่วไป : (กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ ข้างด้านหน้า กับมีหรือไม่มีคำว่า ''และบริษัท'' หรือคำย่อ อย่างใด ๆ แห่งข้อความนี้อยู่ในระหว่างเส้นทั้งสองนั้น และจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารเท่านั้น.
  14. ซิ, ซี : คําประกอบท้ายคําอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือ ให้สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ หรือ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า.
  15. ซึ่ง : ส. คําใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น บ้านของเขา อยู่ในป่าซึ่งห่างจากชุมชน. บ. คําสําหรับนําหน้านามที่เป็น ผู้ถูกกระทํา เช่น รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม.
  16. ดูกร : [ดูกะระ, ดูกอน], ดูก่อน, ดูรา คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วย ให้สนใจฟัง.
  17. โดนดี : (ปาก) คําพูดเชิงประชดประชัน มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ระวังเถอะเดี๋ยวโดนดีดอก.
  18. ต่อเติม : ก. ขยายหรือเพิ่มให้มากหรือใหญ่ขึ้น เช่น ต่อเติมข้อความ ต่อเติมบ้าน. ว่า แก้มตอบ. มีแต้มตั้งแต่ ๑ ถึง ๖; การเล่นไพ่ป๊อกฝรั่งระหว่าง ๒ หรือ ๔ คน โดยเรียงแต้ม ไพ่จากรูป ๗ แล้วต่อแต้มสูงขึ้นไปหรือต่อแต้มตํ่าลงมา.
  19. ถลุง : [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อ โลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความ แวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุง เสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  20. ถ่ายสำเนา : ก. ถ่ายข้อความหรือภาพเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับ ด้วยเครื่องถ่ายเอกสาร.
  21. แถลงการณ์ : (กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความ เข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบ ชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ.
  22. ทฤษฎีบท : น. ข้อความที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง และใช้ในการอ้างอิง เพื่อพิสูจน์ข้อความอื่นได้. (อ. theorem).
  23. ทัฬหิกรณ์ : [ทันหิกอน] น. เครื่องทําให้มั่น ได้แก่ข้อความที่ชัก มาอ้างเพื่อให้คําพูดของตนมั่นคง. (ป. ทฬฺหีกรณ).
  24. ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  25. ที่จริง : ว. จริง, แท้, แน่นอน. สัน. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความ แสดงถึงความที่ถูกที่ควร, อันที่จริง หรือ ตามที่จริง ก็ว่า.
  26. ที่ไหน : น. แห่งใด, แห่งใดแห่งหนึ่ง, แห่งใดก็ตาม, เช่น ไปที่ไหน ก็ได้; คําใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มี ความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น เขาก็เห็นว่าที่ไหนเราจะได้.
  27. ทูต : น. ผู้นําข้อความไปแจ้งทั้ง ๒ ฝ่าย, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยังต่างประเทศ เพื่อเจรจาหรือ เจริญสันถวไมตรีเป็นทางราชการ. (ป.).
  28. เทอญ : [เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคําลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็น ดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).
  29. แท้ที่จริง : ว. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร มีความหมายอย่างเดียวกับ ที่จริง อันที่จริง ตามที่จริง.
  30. โทรเลข : น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งรหัส สัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยสายตัวนําที่โยงติดต่อ ถึงกัน และอาศัยอํานาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ. (อ. telegraph). (ปาก) ก. ส่งข้อความไปยังอีกบุคคลหนึ่งทางโทรเลข.
  31. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  32. นั้น : ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมาย ฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกล กว่า นี้ เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคําอื่นคู่กับคํา ใด แสดงความ แน่นอน เช่น คนใดคนนั้น เมื่อใดเมื่อนั้น. นั้นแล คําลงท้ายบอกว่าจบเรื่อง.
  33. นิทานวจนะ : [นิทานนะวะจะนะ] น. คําแถลงเรื่องเดิม, ข้อความเบื้องต้น. (ป.).
  34. นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
  35. นี้ : ว. คําใช้ประกอบนามหรือข้อความที่อยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น ทุกวันนี้ ชายคนนี้.
  36. เนื้อความ : น. ข้อความทั่ว ๆ ไป.
  37. บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  38. บทคัดย่อ : น. ข้อความที่ย่อแต่ใจความสําคัญ, ข้อคัดย่อ ก็ว่า. (อ. abstract).
  39. บรรทัด : [บัน-] น. ข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นต้นต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็น แนวแต่ละแนว เช่น ตัดบรรทัดที่ ๒๐ ออก, ลักษณนามว่า บรรทัด เช่น ให้เขียนเรียงความอย่างน้อย ๕๐ บรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่ เขียนเต็มช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวเต็มบรรทัด, เรียก ตัวหนังสือที่เขียนเพียงครึ่งหนึ่งของช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้น ว่า ตัวครึ่งบรรทัด, เรียกอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับทาบเป็นแนวเพื่อขีดเส้นให้ตรง ว่า ไม้บรรทัด, เรียกเส้นที่ตี หรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น ใต้เส้นหรือระหว่างเส้น ว่า เส้นบรรทัด.
  40. บริเฉท, บริเฉท- : [บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-] น. การกําหนด; ข้อความที่ รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กําหนดไว้เป็นหมวด ๆ. (ป. ปริจฺเฉท).
  41. บริบท : [บอริบด] (ไว) น. คําหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า.
  42. บอกบท : ก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือ สั่งให้ทําสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.
  43. บัญญัติ : [บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ
  44. บัดนั้น : ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่ไม่ใช่ ตัวเจ้าหรือมิได้เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
  45. บันทึก : ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้ เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
  46. บิด ๑ : ก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทําให้ผิดไป จาก สภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความ เกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่าง แรงทํานองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัด ปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา. น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปาก กัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.
  47. เบาความ : ว. ไม่พินิจพิเคราะห์ในข้อความให้ถี่ถ้วน, หย่อนความคิด, เชื่อง่ายโดยมิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน.
  48. แบบพิมพ์ : น. กระดาษพิมพ์ที่เป็นแบบสําหรับกรอกข้อความ หรือ ทําเครื่องหมายตามที่กําหนดหรือที่ต้องการ เช่น แบบพิมพ์คําร้อง.
  49. ใบแทรก : น. แผ่นกระดาษมีข้อความประกาศหรือโฆษณาเป็นต้น ที่แทรกอยู่ในหนังสือพิมพ์.
  50. ใบปลิว : น. แผ่นกระดาษมีข้อความประกาศหรือโฆษณาเป็นต้น เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่ว ๆ ไป.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-174

(0.0457 sec)