Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนประกอบ, ประกอบ, ส่วน , then ประกอบ, สวน, ส่วน, สวนปรกอบ, ส่วนประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนประกอบ, 1860 found, display 101-150
  1. ห้องแถว : น. อาคารไม้ที่สร้างเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันเป็นแถว, ถ้าก่อด้วยอิฐฉาบปูนหรือคอนกรีตเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันไปเรียกว่า ตึกแถว; (กฎ) อาคารที่พักอาศัยหรืออาคารพาณิชย์ซึ่งปลูกสร้างติดต่อ กันเป็นแถวเกิน ๒ ห้อง และประกอบด้วยวัตถุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่.
  2. หีบเพลงชัก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ประกอบด้วยหีบ ๒ หีบ ส่วนใหญ่เป็นหีบสี่เหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยท่อลมพับ ๒ ด้าน ด้านขวามือ มีปุ่มกดหรือมีแผงแป้นนิ้ว ด้านซ้ายมือมีปุ่มกดบรรเลงเสียงตํ่าและเสียง ประสาน. (อ. accordion).
  3. แหยม : [แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า หนวดแหยม.
  4. องค์กร : น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะ รัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กร ของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
  5. องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  6. อณู ๒ : น. ส่วนของสารที่ประกอบด้วยปรมาณู. (ป., ส. อณุ).
  7. อเส : [อะ] น. ตัวไม้ซึ่งประกอบยึดเสาส่วนบนของเรือน; ไม้ยึดหัวกงเรือ.
  8. อะตอม : น. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทําปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอม ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สําคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลาง และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู. (อ. atom).
  9. อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
  10. อาคารชุด : (กฎ) น. อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง. (อ. condominium).
  11. อุปรากร : [อุปะรากอน, อุบปะรากอน] น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็น ส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์. (อ. opera).
  12. กระแบ่ : (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
  13. กระแบะ ๑ : น. แผ่น, ชิ้น, ส่วน, กระแบ่ ก็ว่า.
  14. กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
  15. ขัณฑ- : [ขันทะ-] น. ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น. (ป., ส. ขณฺฑ).
  16. แขวง : [แขฺวง] น. เขต, แดน, ส่วน, ฝ่าย, อาณาบริเวณที่กําหนดไว้เพื่อสะดวก ในการปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  17. ซีก : น. ส่วนที่ผ่าครึ่ง, ส่วนของสิ่งบางอย่างเช่นไม้ไผ่หรือแตงโมที่ผ่าออก โดยปรกติตามยาว, โดยปริยายหมายความว่า ด้าน, ส่วน, เช่น ร่างกาย ตายไปซีกหนึ่ง ปลาทูซีกนี้; ลักษณนามเรียกส่วนที่แยกออกนั้น เช่น มะม่วงซีกหนึ่ง แตงโม ๒ ซีก; ใช้สําหรับมาตราเงินโบราณเท่ากับ (เศษ ๑ ส่วน ๒) ของเฟื้อง.
  18. ด้าน ๑ : น. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.
  19. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  20. เภท : น. การแบ่ง, การแตกแยก, การทำลาย, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส, เช่น สามัคคีเภท สังฆเภท; ส่วน, ภาค; ความแตกต่าง, ความแปลก; ชนิด, อย่าง. ก. แตก, หัก, ทําลาย, พัง. (ป., ส.).
  21. วิภาค : น. การแบ่ง, การจําแนก; ส่วน, ตอน. (ป., ส.).
  22. อวยวะ, อวัยวะ : [อะวะยะวะ, อะไวยะวะ] น. ชิ้น, ส่วน, ส่วนของร่างกาย, ใน บทกลอนใช้ว่า อพยพ ก็มี. (ป., ส. อวยว).
  23. อังส, อังสะ : [อังสะ] น. เรียกผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ห้อยเฉวียงบ่าว่า ผ้าอังสะ; ส่วน, ภาค; ส่วนของมุม. (ป. อํส).
  24. การประกอบโรคศิลปะ : (กฎ) น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือ มุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และ สาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ.
  25. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : (กฎ) น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน.
  26. แบ่งสันปันส่วน : ก. แบ่งให้ตามสัดตามส่วนที่ควรจะได้.
  27. ปันส่วน : ก. แบ่งเฉลี่ยตามส่วน. ว. ที่แบ่งเฉลี่ยตามส่วน เช่น ข้าวปันส่วน.
  28. เป็นสัดเป็นส่วน : ก. แยกไว้เฉพาะเป็นหมู่เป็นพวก เช่น ของทำบุญ จัดให้เป็นสัดเป็นส่วน.
  29. ผู้ประกอบธุรกิจ : (กฎ) น. ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามา ในราชอาณาจักรเพื่อขาย หรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้ บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย.
  30. ผู้เป็นหุ้นส่วน : (กฎ) น. บุคคลซึ่งนําสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงหุ้นด้วย ในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นํามาลงหุ้นด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สิน สิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้, (ปาก) หุ้นส่วน.
  31. ภาพประกอบ : น. ภาพที่วาดขึ้นหรือนํามาแสดงเพื่อประกอบเรื่อง.
  32. ย่อส่วน : ก. จำลองแบบให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วน เช่น จงย่อส่วนแผนที่นี้. น. แบบที่จำลองให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่า ต้นแบบตามส่วนอย่างหุ่นจำลอง เช่น นี่เป็นย่อส่วนของแผนที่ฉบับนั้น.
  33. สถานประกอบการ : (กฎ) น. สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบ กิจการเป็นประจำและหมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือ เก็บสินค้าเป็นประจำด้วย.
  34. สมประกอบ : ว. มีอวัยวะสมบูรณ์เป็นปรกติ เช่น เขาเป็นคนมีร่างกาย สมประกอบ. สมพรปาก คํารับคำหวังดีต่อผู้ที่พูดอวยพรให้เป็นมงคล เช่น ขอให้ สมพรปากนะ.
  35. ห้างหุ้นส่วนจำกัด : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน ๒ จําพวก คือ (๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งจํากัดความรับผิด เพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น และ (๒) ผู้เป็น หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้าง หุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัดจํานวน ห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้นกฎหมายบังคับว่าต้อง จดทะเบียน.
  36. ห้างหุ้นส่วนสามัญ : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว จึงจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้าง หุ้นส่วนนั้น.
  37. หุ้นส่วน : น. ทุนที่เข้ากันเพื่อทําการต่าง ๆ เช่น ค้าขายเป็นต้น; (ปาก) ผู้เป็น หุ้นส่วน.
  38. ได้ส่วน, ได้ส่วนสัด : ก. ได้ขนาดที่พอเหมาะพอดี.
  39. ถูกส่วน : ว. ได้สัดส่วน, สมส่วน.
  40. ทรัพย์สินส่วนพระองค์ : (กฎ) น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์ อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจาก ที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผล ที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้น.
  41. ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน : (กฎ) น. ทรัพย์สินใน พระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง.
  42. ผู้ประกอบการ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทาง ธุรกิจหรือวิชาชีพไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือ ได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วหรือไม่.
  43. รถส่วนบุคคล : น. รถยนต์นั่งที่เอกชนเป็นเจ้าของ.
  44. เรือประกอบ : น. เรือชนิดที่ท้องเรือทำด้วยปีกไม้ซุง ขุดเป็นรางแล้วต่อ ข้างขึ้นเป็นตัวเรือโดยอาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึดแล้วเสริมกราบ ได้แก่ เรือยาว เรือเพรียว เรือแซ.
  45. สอบประวัติส่วนบุคคล : ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่ง จะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้ง สุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
  46. ห้างหุ้นส่วน : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากัน เพื่อกระทํากิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกําไร อันจะพึงได้แต่กิจการที่ทํานั้น.
  47. ข้าง : น. เบื้อง เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง; ส่วน เช่น ข้างหัว ข้างท้าย; ฝ่าย เช่น ข้างไหน ข้างนี้; สีข้าง เช่น เอาข้างเข้าถู. บ. ใกล้, ริม, เช่น ต้นฝรั่งข้างรั้ว.
  48. ยอด : น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วน ปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน; เรียกคนหรือสัตว์ที่มีคุณสมบัติยิ่งยวดเหนือผู้อื่น เช่น ยอดคน ยอดหญิง ยอดสุนัข; จํานวนรวม เช่น ยอดเงิน; ฝี (ใช้ในราชาศัพท์ว่า พระยอด). (ปาก) ว. ที่สุด เช่น ยอดเยี่ยม ยอดรัก.
  49. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  50. กรีดไพ่ : ก. สับไพ่ป๊อกโดยวิธีแยกไพ่ออกเป็น ๒ ส่วน ใช้มือแต่ละข้างจับไพ่แต่ละส่วนไว้ แล้วใช้ที่หัวแม่มือระไพ่ แต่ละใบให้ล้มทับสลับกันจนหมดแล้วผลักรวมเข้าด้วยกัน.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1860

(0.1639 sec)