Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนประกอบ, ประกอบ, ส่วน , then ประกอบ, สวน, ส่วน, สวนปรกอบ, ส่วนประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนประกอบ, 1860 found, display 1251-1300
  1. ยี่สน : น. ชื่อปลากระเบนทะเลชนิด Aetobatus narinari ในวงศ์ Myliobatidae ผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง ๑๔ เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้าน หลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว ขนาดกว้างได้ถึง ๑.๕ เมตร, กระเบนเนื้อดำ ก็เรียก.
  2. ยุทโธปกรณ์ : น. วัสดุอุปกรณ์ทั้งปวงและยุทธภัณฑ์ทุกชนิดซึ่งใช้ใน ราชการทหาร รวมทั้งเครื่องมือยานยนตร์ ชิ้นส่วนอะไหล่สาธารณูปโภค อันจำเป็นเพื่อปฏิบัติการรบหรือเพื่อดำรงและสนับสนุนกิจกรรมทาง ทหารโดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีความมุ่งหมายทางธุรการหรือทางการรบ.
  3. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  4. ยูโรเพียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๓ สัญลักษณ์ Eu เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา เนื้ออ่อนมาก หลอมละลายที่ ๘๒๖?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปดูดกลืน นิวตรอนเพื่อควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ ใช้ประกอบเป็นตัวเรืองแสงใน เครื่องรับโทรทัศน์สีเป็นต้น. (อ. europium).
  5. เย็บกี่ : ก. ใช้ด้ายเย็บแผ่นกระดาษด้วยวิธีร้อยทีละปึกเล็ก ๆ เพื่อประกอบ เข้าเป็นเล่มในลักษณะที่ทําให้เปิดเล่มได้เต็มที่.
  6. เย็บด้าย : ก. ใช้ด้ายเย็บแผ่นกระดาษเพื่อประกอบเข้าเป็นเล่ม.
  7. เย็บลวด : ก. ใช้ลวดเย็บแผ่นกระดาษเพื่อประกอบเข้าเป็นเล่ม.
  8. เย็บเล่ม : ก. ใช้ด้ายหรือลวดเย็บแผ่นกระดาษเพื่อประกอบเข้าเป็นเล่ม.
  9. เย็บอก : ก. ใช้ด้ายหรือลวดเย็บแผ่นกระดาษตามแนวกึ่งกลาง เพื่อพับ ประกอบเข้าเป็นเล่ม, เย็บมุงหลังคา ก็เรียก.
  10. เยภุยนัย : น. วิธีที่คนส่วนมากใช้. (ป. เยภุยฺยนย).
  11. เยี่ยวอูฐ : น. ยาดมชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบเป็นเม็ดแอมโมเนียม คาร์บอเนตผสมนํ้าแอมโมเนียและสารหอมบางอย่าง ใช้สูดดมแก้ อาการวิงเวียน.
  12. เยื่อ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นบางอยู่ตามผิวหรือภายในของร่างกายบางส่วนหรือ ของสิ่งต่าง ๆ เช่น เยื่อในกระดูก เยื่อหัวหอม เยื่อไม้ไผ่.
  13. แยก : ก. ทําให้สิ่งที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่ออกจากกัน เช่น แยกกลุ่ม ประชุม แยกกล้วยไม้, กิริยาของสิ่งที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่แตก ออกจากกัน เช่น แผ่นดินแยก, แตกหรือทําให้แตกออกเป็นทาง เช่น แม่นํ้าแยก ทางแยก, ไม่รวมกัน เช่น แยกกันอยู่.
  14. แยกธาตุ : ก. ทำให้ธาตุที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่แยกออกจากกัน.
  15. โยค, โยคะ : [โยคะ] น. การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบําเพ็ญ สมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; (โหร) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. (ป., ส.).
  16. โยชกะ : [โยชะกะ] ก. ผู้ทําการประกอบ, ผู้ใช้, ผู้ผูก, ผู้จัด, ผู้เตรียม. (ส.).
  17. รง ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia hanburyi Hook.f. ในวงศ์ Guttiferae ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ทุกส่วนมียางสีเหลือง.
  18. รถฉุกเฉิน : (กฎ) น. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหาร ส่วนกลางราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟ สัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณ อย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกําหนด.
  19. รถบ้าน : (ปาก) น. รถส่วนบุคคล.
  20. รถแวน : น. รถยนต์ส่วนบุคคล มีที่นั่งมากกว่า ๒ ตอน ตอนท้ายมีประตู ข้างหลังสำหรับบรรทุกคนหรือของ.
  21. รถหลวง : (ปาก) น. รถของส่วนราชการ.
  22. รถานึก : น. กองทัพเหล่ารถ, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป., ส. รถานีก).
  23. ร่มผ้า : น. ส่วนของร่างกายภายในผ้านุ่งที่ไม่ควรเปิดเผย.
  24. รยางค์ : น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนหลักของอวัยวะของสิ่งมีชีวิต เช่น หนวด ของแมลง ครีบปลา แขน ขา. (อ. appendage).
  25. รวบอำนาจ : ก. รวมอำนาจ เช่น รวบอำนาจมาไว้ส่วนกลาง รวบอำนาจ มาไว้ที่คนคนเดียว.
  26. ร่วม : ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้านร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะ เดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติมีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทํามาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.
  27. รโหฐาน : น. ที่เฉพาะส่วนตัว. (ป. รโห + ?าน ว่า ที่ลับ, ที่สงัด).
  28. ร่องตีนช้าง : น. ส่วนล่างของฝาเรือนทรงไทย อยู่ระหว่างธรณีประตูหรือ ธรณีหน้าต่างกับพื้น มีลักษณะเป็นช่อง ๆ กรุด้วยแผ่นไม้กระดาน.
  29. รองทรง : น. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้นข้างบนยาว; หนังสือสำคัญและสมุดไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวง ฉบับรองทรง.
  30. ระแทะ : น. ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบไม่ยกสูง อย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา, กระแทะ หรือ รันแทะ ก็ว่า.
  31. ระนาด ๑ : น. เครื่องปี่พาทย์ชนิดตี ประกอบด้วยลูกระนาดทำด้วยไม้ร้อยเชือกหัว ท้ายเข้าเป็นผืนใช้แขวนบนรางระนาด หรือทำด้วยเหล็กหรือทองเหลือง ใช้วางเรียงบนรางระนาดมีไม้ประกับหัวท้าย ลูกระนาดเรียงขนาดสั้น ยาวให้ลดหลั่นกันตามลำดับเสียง มีตั้งแต่ ๑๗–๒๑ ลูก มีไม้ตีคู่หนึ่ง เรียกว่า ไม้ตีระนาด, ลักษณนามว่า ราง.
  32. ระบบสุริยะ : น. ระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ แรงดึงดูด รวมทั้งดาวเคราะห์ใหญ่น้อยและบริวารของดาวเคราะห์ ดาว เหล่านี้หมุนอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์ และมีวงโคจรอยู่ในแนวระนาบ ใกล้เคียงกัน.
  33. ระย่อม : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz ในวงศ์ Apocynaceae ทุกส่วนมียางขาว ดอกเล็กสีชมพู ออกเป็นช่อตามยอด รากใช้ทํายาได้, กระย่อม ก็เรียก.
  34. รักขิต : ก. ระวัง, ดูแล, รักษา, (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส) เช่น พุทธรักขิต ญาณรักขิต. (ป.).
  35. รักแร้ : น. ส่วนร่างกายที่อยู่ใต้โคนแขนเหนือสีข้างขึ้นไป; เรียกส่วนของสิ่ง ก่อสร้างตอนที่ผนังกับผนังจดกันเป็นมุมฉากทั้งด้านในและด้านนอก เช่น รักแร้ปราสาท รักแร้กําแพงแก้ว รักแร้โบสถ์.
  36. รังงอบ : น. ส่วนของงอบตรงที่สวมหัว สานเป็นตาโปร่ง ๆ ด้วยไม้ไผ่ ที่ซอยเป็นเส้นกลมเล็ก ๆ.
  37. รังบวบ : น. ส่วนในของบวบที่แก่จนแห้ง.
  38. รังเพลิง : น. ส่วนท้ายของลํากล้องปืนเป็นที่บรรจุลูกปืนในตําแหน่ง พร้อมที่จะจุดชนวน.
  39. รัฐวิสาหกิจ : [รัดถะวิสาหะกิด, รัดวิสาหะกิด] น. กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุน หรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐ เป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวม อยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐.
  40. รัฐสภา : [รัดถะสะพา] น. องค์กรนิติบัญญัติ ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร.
  41. รัดช้อง : น. เครื่องประดับสําหรับรัดชายผมที่ปล่อยยาวลงทางท้ายทอย ใช้ประกอบกับรัดเกล้า.
  42. รัต ๑ : ก. ยินดี, ชอบใจ, มักใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น วันรัต = ผู้ยินดีในป่า. (ป., ส. รต).
  43. รัตนโกสินทร์ : น. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาร สถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึง กรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.
  44. รัตนาภรณ์ : น. เหรียญบำเหน็จส่วนพระองค์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทาน แก่ผู้จงรักภักดีและทรงคุ้นเคยรู้จัก เพื่อเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณ มี ๕ ชั้น, เดิมเรียกว่า รจนาภรณ์.
  45. รัสเซีย : น. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่ง อยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย.
  46. รา ๒ : น. ชื่อเรียกพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ และลําต้น ใบ ราก ที่แท้จริง ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้ สืบพันธุ์โดยสปอร์อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ ร่วมกับพืชอื่นก็มี.
  47. ราก ๑ : น. ส่วนของต้นไม้ ตามปรกติอยู่ในดิน มีหน้าที่ดูดอาหารเลี้ยงลำต้น, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รากผม รากฟัน; เรียกฐานที่อยู่ใต้ดินทำหน้าที่รองรับอาคารว่า รากตึก หรือ ฐานราก; ต้นเดิม, เค้าเดิม, เช่น รากศัพท์.
  48. รากฐาน : น. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับ สำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็น รากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.
  49. รากฟัน : น. ส่วนของฟันที่ฝังอยู่ในกระดูกที่เป็นเบ้าของฟัน.
  50. ราชกิจจานุเบกษา : น. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสํานักงานราชกิจจานุเบกษา สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สําหรับ ลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | [1251-1300] | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1860

(0.1064 sec)