Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนประกอบ, ประกอบ, ส่วน , then ประกอบ, สวน, ส่วน, สวนปรกอบ, ส่วนประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนประกอบ, 1860 found, display 1301-1350
  1. ราชรถ : [ราดชะรด] น. ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีบุษบกเป็นเครื่อง ประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบันมีอยู่ ๒ คัน คือ พระมหาพิชัยราชรถ กับ เวชยันตราชรถ ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศ และพระโกศ.
  2. ราชาโชค : (โหร) น. ชื่อตําแหน่งดาว ถือว่าให้คุณสูงในทางเกียรติยศ ชื่อเสียงการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทำให้ผู้เกิด หรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปรานของ ขุนนาง เจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.
  3. ราชาฤกษ์ : (โหร) น. ชื่อฤกษ์กําเนิด ถือว่าเป็นมงคลสูง ให้เกียรติยศ ชื่อเสียง และผลดีทางการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทําให้ ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปราน ของขุนนางเจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.
  4. ราตร : [ราด] น. กลางคืน, เวลามืด, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส. (ส.; ป. รตฺต).
  5. รายรับ : น. รายการรับ เช่น เขามีรายรับเพิ่มขึ้น, คู่กับ รายจ่าย; (กฎ) เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากการ ประกอบกิจการ.
  6. ราวเทียน : น. เครื่องประกอบการบูชา ลักษณะเป็นคานโลหะแบนทอด ขวาง มีเสาคู่หนึ่งตั้งขึ้นรับหัวและท้ายคาน บนหลังคานติดบัวจงกลหรือ ลูกถ้วยรายเป็นระยะห่างกันพองามสำหรับปักเทียน.
  7. ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑ : น. ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือ จันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ใน ตําราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๗ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่าน จากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระเกตุ. (ป., ส. ราหุ).
  8. ราหู ๒ : น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไป คล้ายปลากระเบนนกมีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลาย สุดของหัวข้างละอันใช้โบกพัดอาหารเข้าปากด้านบนลําตัวสีดํา เช่น ชนิด M. japonicus, M. diabolus เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้าน ซ้ายของส่วนหัว.
  9. รำ ๒ : ก. แสดงท่าเคลื่อนไหวโดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือ เพลงดนตรี เช่น รำฉุยฉายพราหมณ์ รำกฤดาภินิหาร รำสีนวล, ถ้าถืออาวุธ ประกอบก็เรียกชื่อตามอาวุธที่ถือเช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, ถ้าถือสิ่งของ ใดประกอบก็เรียกชื่อตามสิ่งของนั้น เช่น รำพัด รำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง, อาการที่แสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน.
  10. รำลาวแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือ มากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้อง และดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก.
  11. รำวง : น. การรําโดยมีผู้เล่นจับคู่รําตามกันไปเป็นวง, แต่เดิมใช้โทนและ ร้องเพลงปรบมือให้จังหวะ เรียกว่า รําโทน ต่อมาภายหลังเพิ่มดนตรี ประกอบด้วย.
  12. ริ้น : น. ชื่อแมลงพวกตัวบึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงหวี่ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Culicoides และ Leptoconops วงศ์ Ceratopogonidae เช่น ชนิด C. orientalis, L. spinosifrons.
  13. ริมฝีปาก : น. เนื้อส่วนที่เป็นขอบรอบปาก ส่วนบนเรียกว่า ริมฝีปากบน ส่วนล่างเรียกว่า ริมฝีปากล่างมีเส้นขอบรอบ ที่เรียกว่า เส้นขอบริมฝีปาก.
  14. รีเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๕ สัญลักษณ์ Re เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีเทา หลอมละลายที่ ๓๑๘๐?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็น โลหะเจือ ใช้ทําอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้เป็นองค์ประกอบของโลหะทนไฟใน จรวด. (อ. rhenium).
  15. รื้อถอน : ก. รื้อและถอนสิ่งปลูกสร้างแล้วโยกย้ายไป เช่น รื้อถอนบ้าน เรือน; (กฎ) รื้อส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคาร เช่น เสา คาน ตง ออกไปให้หมด เช่น รื้อถอนบ้านเรือน.
  16. รูปเงา : (ศิลปะ) น. สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก ส่วนพื้นภายในมืดทึบ เช่น เห็นรูปเงาของบ้านเรือน ๒ ฝั่งแม่น้ำเมื่อยามตะวันยอแสง, รูป ที่เห็นย้อนแสง เช่น รูปเงาคนยืนขวางตะวัน.
  17. รูปทรง : น. ทรวดทรง สัณฐาน ประกอบด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น เรือลำนี้รูปทรงเพรียว; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อน หรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น รูปทรงพีระมิด.
  18. รู้ไม่จริง : ก. รู้ไม่ถ่องแท้, รู้ไม่มากพอ, เช่น เขาชอบเล่าเรื่องส่วนตัวของ เพื่อน ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ไม่จริง.
  19. รู้ไส้ : ก. รู้ความในหรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นเป็นอย่างดี (มักใช้เกี่ยว กับฐานะการเงิน).
  20. เรไร ๑ : น. ชื่อจักจั่นสีนํ้าตาลหลายชนิดในสกุล Pomponia, Tosena และสกุล อื่น ๆ ในวงศ์ Cicadidae ส่วนใหญ่ตัวค่อนข้างโต ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษ ทําให้เกิดเสียงสูงและตํ่ามีกังวานสลับกันไปได้หลายระดับ ชนิดที่โต ที่สุดซึ่งพบได้ง่ายในประเทศไทย คือ ชนิด P. intermedia.
  21. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  22. เรียน ๒ : ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาอื่นเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เรียนถาม เรียนเชิญ.
  23. เรือ : น. ยานพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาในนํ้า มักทําด้วยวิธีขุดไม้ทั้งต้นหรือนํา กระดาน สังกะสี เหล็ก เป็นต้น มาประกอบกันเข้า; ตัวหมากรุกที่เดินตา ตรงได้ตลอด; เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง เอาไม้ไผ่มาเหลาแบน ๆ ดัดให้หัว งอน ใช้พุ่งแข่งกัน; ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ตํ่ากว่าชั้นนาวาหรือนาวาอากาศ เช่น เรือตรี เรืออากาศเอก.
  24. เรือกัญญา : น. เรือหลวงที่จัดตั้งเก๋งประกอบหลังคาทรงกัญญา ใช้เป็น เรือประทับแรม หรือเรือพระประเทียบ.
  25. เรือขุด : น. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้ เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือให้เรียวเชิดขึ้น ตามส่วน เช่น เรือมาด เรือชะล่า เรือพายม้า.
  26. เรือนธาตุ : น. ส่วนสําคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ครรภธาตุ หรือ ธาตุครรภ ก็ว่า.
  27. เรือโบต : น. เรือเล็กเป็นส่วนอุปกรณ์ของเรือเดินทะเลขนาดใหญ่.
  28. เรือมอ : น. เรือต่อเสริมกราบขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่ใช้บรรทุก ข้าวเปลือกและเกลือ.
  29. แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
  30. แรม : น. ส่วนของเดือนจันทรคติที่พระจันทร์เริ่มมืดจนถึงมืด คือ ตั้งแต่แรม ค่ำหนึ่งไปถึงแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด หรือถึงแรม ๑๕ ค่ำในเดือนเต็ม เรียกว่า ข้างแรม; ช่วงระยะเวลานานนับเดือนนับปี ในคำว่า แรมเดือน แรมปี. ก. ค้างคืน เช่น พักแรม.
  31. โรง : น. สิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคาคลุม ปรกติพื้นอยู่ติดกับดิน สําหรับเป็นที่อยู่ อาศัย ประกอบการ หรือไว้สิ่งของเป็นต้น เช่น โรงลิเก โรงทอผ้า โรงเหล้า โรงรถ โรงพิมพ์, ลักษณนามว่า โรง เช่น ลิเกโรงหนึ่ง โรงทอผ้า ๒ โรง.
  32. โรงรับจำนำ : น. สถานที่รับจำนำสิ่งของ, ถ้าเป็นของเทศบาลหรือ กรุงเทพมหานคร เรียกว่า สถานธนานุบาล, ถ้าเป็นของกรมประชา สงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์; (กฎ) สถานที่รับจํานําซึ่ง ประกอบการรับจํานําสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจํานวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และหมายความรวม ตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สําหรับสิ่งของนั้นเป็น ปรกติธุระ แต่ละรายมีจํานวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลง หรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย.
  33. ฤกษ์ล่าง : น. ฤกษ์ที่ประกอบฤกษ์บน มี ๙ ฤกษ์.
  34. ฤดู : [รึ] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กําหนดสําหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดู ถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์, คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก.(ส. ฤตุ, ป. อุตุ).
  35. ลงขัน : ก. เอาเงินใส่ลงในขันเป็นต้นเพื่อช่วยในงานต่าง ๆ เช่น งานตัดจุก, ช่วยกันออกเงินเพื่อการใดการหนึ่ง เช่น ลงขันซื้อตู้เย็น ไว้ใช้เป็นส่วนกลาง ลงขันเพื่อรวมเงินเป็นค่าอาหารในเวลาเดินทาง.
  36. ลงทุน : ก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดย ปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขา ลงทุนโกนหัวแสดงละคร.
  37. ลงราก : ก. ท้องเดินและอาเจียน; วางฐานรากอันเป็นโครงสร้าง ส่วนที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุดไม่ให้ทรุด เช่น ลงรากตึก ลงรากอาคาร; มีรากงอกลงไปยึดดิน เช่น ต้นไม้ลงราก.
  38. ลงสิ่ว : ก. แกะสลักไม้โดยใช้สิ่วกัดผิวไม้ออกให้เหลือส่วน ที่ต้องการ.
  39. ลพ : น. การตัด, การเกี่ยว; ส่วนที่ตัดออก, ท่อน, ชิ้น; หยาดนํ้า. (ป., ส. ลว).
  40. ลมค้า : น. ลมซึ่งพัดออกจากบริเวณความกดอากาศสูงกึ่งโซนร้อน ไปยังบริเวณความกดอากาศตํ่าที่เส้นศูนย์สูตร ในซีกโลกเหนือจะ พัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะพัดมาจาก ทิศตะวันออกเฉียงใต้. (อ. trade wind).
  41. ลมมรสุม : น. (ภูมิ) ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่าง อุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดิน เย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือ พื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำ ให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดิน ร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรง กันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก.
  42. ลวดบัว : น. ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรง ส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่าง พื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับ ผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความ เหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะ สลักไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลาย ที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, บัว ก็เรียก.
  43. ล่วม : น. เครื่องสําหรับใส่หมากพลูบุหรี่ ส่วนมากทําด้วยผ้า มีใบปก เป็น ของใช้โบราณ แต่ที่ทําด้วยโลหะก็มี, ถ้าเป็นของเจ้านาย เรียกว่า พระล่วม, สําหรับใส่ยา เรียกว่า ล่วมยา.
  44. ลวะ : น. การตัด, การเกี่ยว; ส่วนที่ตัดออก, ท่อน, ชิ้น; หยาดนํ้า. (ป., ส.).
  45. ลหุ : [ละ–] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัว สะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย ? แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ?แทน.
  46. ล้อ ๑ : น. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสําหรับหมุนเคลื่อนพารถไป, ลูกล้อ ก็ว่า. ก. กลิ้งหมุนไปอย่างล้อรถ เช่น ล้อสตางค์ให้กลิ้งไป.
  47. ลอน : น. ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ตํ่า ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับกันไปบน พื้นราบ เช่น ลอนฟูก ลอนสังกะสี, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ลอนตาล ลอนผม.
  48. ล้อเลื่อน : น. คํารวมเรียกรถต่าง ๆ; (กฎ) ยานพาหนะอันประกอบ ด้วยเพลาและล้อซึ่งเคลื่อนไปด้วยกําลังคนหรือสัตว์ เช่น รถ เกวียน.
  49. ล่ะ : ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า.
  50. ละคร : [–คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวที หรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยาย หมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1860

(0.1486 sec)