Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนประกอบ, ประกอบ, ส่วน , then ประกอบ, สวน, ส่วน, สวนปรกอบ, ส่วนประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนประกอบ, 1860 found, display 1401-1450
  1. วงเวียน : น. เครื่องมือสําหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีก ข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.
  2. วรงค์ : [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค).
  3. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  4. วัคซีน : น. ผลิตผลที่ประกอบด้วยเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกฆ่าหรือทํา ให้มีฤทธิ์อ่อนแรงจนไม่เป็นอันตราย สําหรับฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อ กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเกิดจากเชื้อนั้น ๆ. (อ. vaccine).
  5. วังชา : คำประกอบท้ายคำ กำลัง เป็น กำลังวังชา มีความหมายเท่าเดิม.
  6. วัด ๓ : ก. สอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เช่นวัดส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนสูง หรือความรู้เป็นต้น.
  7. วัตถุดิบ : น. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้า สําเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.
  8. วัตถุวิสัย : ว. ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือ ความรู้สึก; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความ คิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ ตายตัวว่าการสอบ แบบวัตถุวิสัย, ปรนัย ก็ว่า. (อ. objective).
  9. วันฉัตรมงคล : น.วันที่ประกอบพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่ง ตรงกับวันบรม ราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม. วันเฉลิมพระชนมพรรษา น. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช.
  10. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  11. วันแรกนา, วันแรกนาขวัญ : น. วันประกอบพิธีเริ่มไถนา ทางราชการเรียกว่าวันพระราชพิธีจรดพระนังคัล.
  12. วับ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่าง ซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคําก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคําซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับ ไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
  13. วางผังเมือง : ก. ควบคุมและกำหนดแนวทางในการพัฒนาเมือง และสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงความสุข ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ความประหยัด และความสวยงามของชุมชน เป็นส่วนรวม.
  14. ว่านมหาเมฆ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma aeruginosa Roxb. ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย ขณะออกดอก ไม่มีใบ ดอกสีเหลืองเป็นช่อตั้ง อยู่ระหว่างใบประดับสีขาวซึ่งมี ปลายสีชมพู ใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก ดอกอาว.
  15. วิคหะ : [วิกคะ] น. การทะเลาะ, การโต้เถียง; ร่างกาย, รูปร่าง, ตัว; การแยกออกเป็นส่วน ๆ. (ป. วิคฺคห; ส. วิคฺรห).
  16. วิเคราะห์ : ก. ใคร่ครวญ เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์; แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อ ศึกษาให้ถ่องแท้ เช่น วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ วิเคราะห์ข่าว. (ส. วิคฺรห).
  17. วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  18. วิชาชีพ : น. วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์.
  19. วิตามิน : น. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจําเป็นที่ร่างกายต้องการแต่ เพียงจํานวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทําให้อวัยวะใน ร่างกายทํางานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการ เจริญเติบโตของร่างกาย บํารุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วย ต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ ''ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).
  20. วิทยาเขต : น. ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย แต่ตั้งอยู่ในบริเวณอื่น มีคณาจารย์อาคาร สถานที่ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของตนเอง เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยโดยมีอธิการบดีคนเดียวกัน และสภามหาวิทยาลัยชุดเดียวกัน.
  21. วิทยานิพนธ์ : น. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.
  22. วิทยุติดตามตัว : น. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้ ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ.
  23. วิศวกร : [วิดสะวะกอน] น. ผู้ประกอบงานวิศวกรรม.
  24. วิเศษณการก : [วิเสสะนะ] (ไว) น. คําที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็น บทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละ บุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากิน ช้อนส้อม เขามาบ้าน.
  25. วิสาหกิจ : [วิสาหะกิด] น. การประกอบการที่ยาก สลับซับซ้อน หรือเสี่ยงต่อการขาดทุน ล้มละลาย.
  26. วีต : [วีตะ] ว. ไปแล้ว, หมดแล้ว, ปราศจาก, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น เช่น วีตราคะ ว่า หมดราคะ วีตโลภะ ว่า หมดความโลภ. (ป., ส.).
  27. วุบ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งที่มีรูปร่าง ที่ปรากฏให้เห็นแล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น หายวุบ.
  28. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  29. เวทัลละ : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
  30. เวทางค์, เวทางคศาสตร์ : น. วิชาประกอบการศึกษาพระเวทมี ๖ อย่าง คือ ๑. ศึกษาวิธีออก เสียงคําในพระเวทให้ถูกต้อง ๒. ไวยากรณ์ ๓. ฉันท์ ๔. โชยติส คือ ดาราศาสตร์ ๕. นิรุกติ คือ กําเนิดของคําและ ๖. กัลปะ คือ วิธีจัดทําพิธี. (ส.).
  31. เว้น : ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทําหรือไม่พึง กระทํา) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคําอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึง กันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.
  32. เวยยากรณะ : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
  33. เวิก : ก. เลิก เปิด หรือแหวกแต่บางส่วน เช่น ผ้านุ่งเวิก เวิกม่าน.
  34. แว้ง : ก. อาการที่เอี้ยวหัวหรืออวัยวะบางส่วนโดยเร็วเพื่อกัดหรือทําร้าย เป็นต้น เช่น ควายแว้งขวิดจระเข้แว้งหางฟาดเรือล่ม, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เตือนดี ๆ มาแว้งเอาได้.
  35. แว่น ๒ : น. (๑) ชื่อเฟินชนิด Marsilea crenata Presl ในวงศ์ Marsileaceae มีใบกลม ๔ ใบเรียงเป็นวงทุกส่วนกินได้ เรียกว่า ผักแว่น. (๒) (ถิ่นตราด) ต้นบัวบก. [ดู บัวบก(๑)].
  36. ไว้ : ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้ ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
  37. ศยะ : [สะ-] ก. นอน; หลับ; อยู่, พักผ่อน, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส. (ส.).
  38. ศร : [สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร, เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.).
  39. ศอก : น. ส่วนของแขน ตรงข้ามกับข้อพับ, ข้อศอก ก็ว่า; ช่วงของแขน ตั้งแต่ปลายสุดของข้อพับไปถึงปลายนิ้วกลาง; มาตราวัดตามวิธี ประเพณี ๑ ศอก เท่ากับ ๒ คืบ.
  40. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  41. ศัลยกรรมตกแต่ง : น. การผ่าตัดอวัยวะเพื่อรักษาหรือปรับปรุง รูปร่างของอวัยวะให้สวยงามและเหมาะสม โดยอวัยวะนั้น ๆ คงทำหน้าที่ได้ตามปรกติ รวมทั้งเป็นการบูรณะส่วนที่ผิดปรกติ ให้กลับสู่สภาพปรกติด้วย.
  42. ศาลปกครอง : (กฎ) น. ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทาง ปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.
  43. ศาลาดิน : น. ศาลาที่ใช้พื้นดินเป็นพื้นหรือพื้นติดดิน ใช้ประกอบ ศาสนกิจเป็นต้น เช่น ศาลาดินที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
  44. ศาลาประชาคม : น. สถานที่หรืออาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ ประชุมประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ.
  45. ศาลายก : น. ศาลาที่ยกพื้นสูงใช้ประกอบศาสนกิจเป็นต้น เช่น ศาลายกที่หน้าวัดสุทัศนเทพวราราม.
  46. ศาสนสถาน : น. สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา มัสยิดเป็น ศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม.
  47. ศาสนสมบัติกลาง : น. ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม ส่วนใหญ่ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และดอกผลที่เกิดขึ้นจากที่ดินและ อาคารนั้น ๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศ ยุบเลิกวัดแล้ว.
  48. ศิลปวัตถุ : น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูง ในทางศิลปะ.
  49. ศูนย์เยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดไว้ให้เยาวชนไปประกอบกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ศูนย์เยาวชน ไทยญี่ปุ่น ดินแดง.
  50. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | [1401-1450] | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1860

(0.1574 sec)