Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนประกอบ, ประกอบ, ส่วน , then ประกอบ, สวน, ส่วน, สวนปรกอบ, ส่วนประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนประกอบ, 1860 found, display 1451-1500
  1. เศษสิบ : น. เศษส่วนที่มีเศษเป็นตัวเลข ๐ ถึง ๙ และมีส่วนเป็น หน่วย ๑๐ เช่น ๘๑๐ .
  2. เศษเหล็ก : น. ชิ้นส่วนของโลหะหรือเครื่องจักรกลเป็นต้นที่ใช้ ไม่ได้แล้ว เช่น ซากรถยนต์ที่ถูกชนพังยับเยินถูกขายเป็นเศษเหล็ก.
  3. สกนธ์ : [สะกน] น. ขันธ์, กอง, ส่วนร่างกาย, ร่างกาย. (ส.; ป. ขนฺธ).
  4. สงฆ์ : น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคํา พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทําสังฆกรรม แต่จํานวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรม แต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวด พิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้อง ประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวด อัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่า จํานวนที่กําหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจํานวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).
  5. สถาน ๑ : [สะถาน] น. ที่ตั้ง เช่น สถานเสาวภา สถานพยาบาล สถานพักฟื้น สถานบริบาลทารก, ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง ที่, แหล่ง, เช่น โบราณสถาน ศาสนสถาน ฌาปนสถาน ปูชนียสถาน สังเวชนียสถาน; ประการ เช่น มีความผิดหลายสถาน. (ส.; ป. ?าน).
  6. สถาบัน : [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิตของ ตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
  7. สถาปัตยกรรม : [สะถาปัดตะยะกํา] น. ศิลปะและวิทยาเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่ประกอบ ด้วยศิลปลักษณะ. (ส. สฺถาปตฺย + กรฺมนฺ).
  8. สถาปัตยกรรมศาสตร์ : [สะถาปัดตะยะกำมะสาด] น. วิชาว่าด้วยการ ออกแบบงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ.
  9. ส้น : น. ส่วนท้ายของเท้า เช่น อย่าเดินลงส้น รองเท้ากัดส้น, เรียกเต็มว่า ส้นเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส้นปืน.
  10. ส้นมือ : น. ส่วนท้ายของฝ่ามือ.
  11. ส้นรองเท้า : น. ส่วนล่างตอนท้ายของรองเท้าที่รองรับส้น.
  12. สนามบิน : น. (กฎ) พื้นที่ที่กำหนดไว้บนพื้นดินหรือน้ำสำหรับใช้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยาน รวมตลอดถึงอาคาร สิ่งติดตั้งและบริภัณฑ์ซึ่งอยู่ภายในสนามบินนั้น; (ปาก) ท่าอากาศยาน.
  13. สนิม ๑ : [สะหฺนิม] น. ส่วนของผิวโลหะที่แปรสภาพไปจากเดิมเนื่องด้วย ปฏิกิริยาเคมีเป็นสาเหตุให้เกิดการผุกร่อน เช่น มีดขึ้นสนิม; (ปาก) มลทิน เช่น สนิมในใจ.
  14. สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
  15. สบู่ ๑ : [สะ] น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Jatropha วงศ์ Euphorbiaceae คือ สบู่ขาว หรือ สบู่ดํา (J. curcas L.) ก้านใบและใบอ่อนสีเขียว และ สบู่แดง (J. gossypifolia L.) ก้านใบและใบสีแดง, ทั้ง ๒ ชนิด มียางใส เมล็ดนําไปหีบได้นํ้ามันใช้เป็นเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ทุกส่วนเป็นพิษ.
  16. สเปกตรัม : (ฟิสิกส์) น. ผลที่ได้จากการที่การแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าถูกแยก ออกเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ตามขนาดของช่วงคลื่นหรือความถี่ ขององค์ประกอบนั้น ๆ. (อ. spectrum).
  17. สภาผู้แทนราษฎร : (กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับ วุฒิสภาแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๕๐๐ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น จำนวน ๑๐๐ คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๔๐๐ คน มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ และมีอำนาจควบคุมการ บริหารราชการแผ่นดินตามระบบการปกครองแบบรัฐสภา.
  18. สม ๒ : ใช้ประกอบกับคำกริยาบางคำมีความหมายว่า ร่วมด้วยกัน รวมกัน เช่น สมคิด สมรู้.
  19. ส้ม ๒ : ว. เปรี้ยว เช่น สารส้ม. น. คําใช้ประกอบหน้าชื่อพรรณไม้และของกิน ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มเช้า ส้มตำ ส้มฟัก.
  20. ส้มมือ : น. ชื่อส้มชนิด Citrus medica L. var. sarcodactylis Swing. ในวงศ์ Rutaceae ส่วนล่างของผลมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ ใช้ทํายาดมได้.
  21. สมรด : น. เครื่องตกแต่งขอบต้นแขน และปลายแขนเสื้อครุย ปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ; ผ้าคาดเอวปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สํารด หรือ ผ้าแฝง ก็เรียก.
  22. สมเสร็จ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Tapirus indicus ในวงศ์ Tapiridae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ ลําตัวตอนกลางสีขาว ส่วนหัวและท้ายสีดํา ขอบหูสีขาว จมูกและริมฝีปากบนยื่นยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้า ออกได้ หางสั้น ลูกเกิดใหม่ตัวมีลายสีขาวตามยาว กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, ผสมเสร็จ ก็เรียก.
  23. สมอง : [สะหฺมอง] น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก ฯลฯ ว่า มันสมอง; โดยปริยายหมายความว่า ปัญญาความคิด เช่น เขาเป็น คนสมองดี, หัวสมอง ก็ว่า, (ปาก) ขมอง.
  24. สมัคร : [สะหฺมัก] ก. ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมในกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกสมาคม สมัครเข้า ทำงาน, บางทีก็มีคํา ใจ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นคําผสมชนิดที่ต้องการ เน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร, สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. (ต. สมัค ว่า เต็มใจ; ป. สมคฺค; ส. สมคฺร ว่า พร้อม).
  25. สมังคี : [สะมัง] ว. ประกอบด้วย, พร้อมเพรียงด้วย. (ป.).
  26. สมาคมการค้า : (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนซึ่งเป็นผู้ประกอบ วิสาหกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจอันมิใช่ เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
  27. สมาชิก ๑ : [สะมา] น. ผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในสมาคม องค์การ หรือกิจกรรม ใด ๆ เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสมาคมศิษย์เก่า สมาชิก วารสาร, (ปาก) ลูกค้า, ขาประจำ, เช่น หมู่นี้สมาชิกไม่ค่อยมาอุดหนุน ที่ร้านเลย. (ป., ส.).
  28. สร้อย ๒ : [ส้อย] น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae พบอยู่รวมกัน เป็นฝูงในตอนปลายฤดูนํ้าหลาก และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินใน แหล่งนํ้าที่สูงขึ้นไป ส่วนใหญ่ลําตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าหรือจุดดํา บนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามยาวอยู่ข้างตัว เช่น สร้อยขาว (Cirrhinus jullieni), กระสร้อย ก็เรียก.
  29. สร้อย ๓ : [ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญา สุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัย ราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.
  30. สระ ๒ : [สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้น และริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วน หนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียง พยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).
  31. สร้างฐานะ : ก. ประกอบอาชีพจนมีทรัพย์สินเป็นหลักฐานมั่นคง.
  32. สรีรวิทยา, สรีรศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยสมบัติและการกระทําหน้าที่ ของอินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนของสิ่งที่เป็นรูปร่างและมีชีวิต. (อ. physiology).
  33. สละ ๒ : [สะหฺละ] น. ชื่อปาล์มชนิด Salacca edulis Reinw. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอคล้ายระกํา ผลสีคลํ้า ไม่มีหนาม เนื้อสีขาวหนาล่อน รสหวาน (เทียบ ม. salak); ชื่อระกําพันธุ์หนึ่ง ส่วนมากผลมีเมล็ดเดียว.
  34. สลัด ๑ : [สะหฺลัด] น. ชื่อยําชนิดหนึ่งตามแบบชาวตะวันตก ประกอบด้วย ผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมีเนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด สลัดมีหลายชนิด เช่น สลัดผัก สลัดเนื้อสัน สลัดแขก.
  35. สลัดได ๑ : [สะหฺลัด] น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Euphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ต้นเป็นเหลี่ยม มีหนาม ไม่มีใบ เช่น ชนิด E. lacei Craib, สลัดไดป่า (E. antiquorum L.) ส่วนที่ใช้ทํายาได้เรียก กระลําพัก.
  36. สวกรรม : น. งานส่วนตัว. (ส. สฺวกรฺมนฺ).
  37. สวน ๑ : น. บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจํานวนมาก เช่น สวนทุเรียน สวนยาง สวนกุหลาบ สวนผัก, โดยปริยายหมายถึงสถานที่ซึ่งมีลักษณะ เช่นนั้นในบางกรณี เช่น สวนสัตว์ สวนงู.
  38. สวน ๒ : อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน เช่น เดินสวนกัน มีรถสวนมา; เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง เช่น สวนสัด สวนทะนาน; เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะ ปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก, เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบนํ้ายา หรือนํ้าสบู่ให้เข้าไปในลําไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลําไส้ใหญ่บีบตัวให้ อุจจาระออก.
  39. ส่วนลด : น. ส่วนที่หักจากจํานวนเงินที่เก็บมาได้ หรือจากจํานวนที่ซื้อ หรือที่ใช้ตามส่วนที่กําหนดไว้.
  40. ส่วนสัด : น. ขนาดที่พอเหมาะพอดีตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือที่นิยม เช่น ผู้หญิงคนนี้มีรูปร่างได้ส่วนสัด; (ศิลปะ) ส่วนที่กําหนดขึ้นให้มี ความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความพอดี.
  41. สวาบ : [สะหฺวาบ] น. ส่วนกายของคนและสัตว์สี่เท้า อยู่ระหว่างชายโครง กับสันกระดูกตะโพก เป็นส่วนที่ไม่มีกระดูก.
  42. สสาร, สสาร : [สะสาน, สานระ] น. สิ่งที่มีมวลสาร ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ อาจมีเพียงสารเดียว เช่น ทองคํา เงิน แก้ว เกลือ น้ำ หรือประกอบด้วย สารหลายสาร เช่น ดินปืน อากาศ ก็ได้.
  43. สหพันธ์ : น. สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ ๒ สหภาพหรือ ๒ สมาคม ขึ้นไปที่ร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหพันธ์กรรมกร. สหพันธรัฐ น. รัฐหลายรัฐที่รวมกันเป็นรัฐรวม โดยมีรัฐบาลกลาง เป็นผู้ดําเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมตามที่กําหนด ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ละรัฐมีอํานาจเฉพาะกิจการภายในรัฐของตน เท่านั้น. (อ. federal state).
  44. ส่อ : ก. แสดงให้รู้เป็นนัย ๆ (ส่วนมากใช้ไปในทางที่ไม่ดี) เช่น สำเนียง ส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ส่อเจตนาทุจริต ส่อพิรุธ; (โบ) ฟ้อง.
  45. สอดแทรก : ก. เข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบไป สอดแทรกในเรื่องส่วนตัวของคนอื่น.
  46. สะกด : ก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคํา, เรียกพยัญชนะ ที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคําที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด).
  47. สะเก็ด : น. ชิ้นย่อยของไม้หรือหินเป็นต้นที่ตัดหรือแยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น สะเก็ดไม้; เลือดและนํ้าเหลืองซึ่งแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล เช่น สะเก็ดแผล; โดยปริยายหมายความว่า เศษเล็กเศษน้อยซึ่งมีค่าตํ่ากว่า มาตรฐาน, เลว, เช่น คนสะเก็ดอย่างนั้น ใครจะคบด้วย.
  48. สะดือ : น. ส่วนของร่างกายอยู่ตรงกลางพื้นท้องเป็นรูหวําเข้าไป.
  49. สะบัก : น. กระดูกส่วนที่เป็นฐานรองรับต้นแขน อยู่ถัดบ่าลงไปข้างหลัง ปลาย ด้านนอกเป็นที่หัวกระดูกต้นแขนเกาะยึด. (รูปภาพ สะบัก)
  50. สะพานหก : น. สะพานที่สร้างให้ส่วนหนึ่งยกขึ้นได้เพื่อเปิดทางให้เรือ แล่นผ่าน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | [1451-1500] | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1860

(0.1510 sec)