เพื่อนตาย : น. เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์หรือยอมตายแทนกันได้.
แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร : (สํา) น. การยอมแพ้ทําให้เรื่องสงบ การไม่ยอมแพ้ทําให้เรื่องไม่สงบ.
ฟาดเคราะห์ : ก. ทําพิธีปัดสิ่งชั่วร้ายให้ไปจากตัว, สละสิ่งใด สิ่งหนึ่งเพื่อให้เคราะห์สูญหายไป; (ปาก) ตัดใจยอมเสียสิ่งใด สิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์ หรือตัดใจคิดว่าสิ่งที่เสียไปแล้ว เป็นการทำให้หมดเคราะห์ ในความเช่น นึกว่าฟาดเคราะห์.
ภารยทรัพย์ : [พาระยะซับ] (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะต้องรับภาระ บางอย่างที่เกิดจากภาระจํายอม, คู่กับ สามยทรัพย์.
ภาระจำยอม : (กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จําต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้อง งดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อ ประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจํายอม.
มวยไทย : น. กีฬาชกมวยบนเวทีที่มีกติกายอมให้คู่ชกใช้เท้า ศอก และเข่าได้.
มวยล้ม : น. การชกมวยบนเวทีที่คู่ต่อสู้ฝ่ายหนึ่งแกล้งยอมเป็นฝ่ายแพ้ เพื่อหวังผลในการพนัน, โดยปริยายหมายถึงการต่อสู้หรือเรื่องราวที่ดูเหมือนเอาจริงเอาจัง แต่กลับไม่จริงหรือเลิกล้มไป.
มอบฉันทะ : ก. มอบธุระไว้ด้วยความไว้วางใจ, ยินยอมให้ทําแทนโดย มีหลักฐาน.
มอบตัว : ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของ โรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
เมิน : ก. เบือนหน้าหนี, ไม่ยอมดู, ไม่ยอมแล.
โมกษะพยาน : (กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรใน พระพุทธศาสนาซึ่งไม่จําต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยาน ก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบ คําถามใด ๆ ก็ได้.
ไม่ได้เบี้ยเอาข้าว : (สํา) ว. ไม่ได้อย่างหนึ่งก็ต้องเอาอีกอย่างหนึ่ง, ไม่ยอมกลับมือเปล่า.
ไม้นวม : น. ไม้ตีระนาดที่พันด้วยนวมทำให้มีเสียงทุ้ม, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการนิ่มนวล, ความอ่อนโยน, เช่น นักเรียนชั้นนี้ต้องใช้ไม้นวมจึงยอมเข้าเรียน.
ไม่ฟังเสียง : ก. ดื้อดึง, ไม่ยอมเชื่อฟัง.
ไม่ลดราวาศอก : ก. ไม่ยอมผ่อนปรน เช่น เถียงไม่ลดราวาศอก.
ยกธงขาว : (ปาก) ก. ยอมแพ้.
ยกนิ้ว : (ปาก) ก. ยอมให้เป็นเยี่ยม.
ยกเว้น : ก. ไม่เกี่ยวด้วย, กันเอาออก, ยอมให้เป็นพิเศษ. บ. นอกจาก, เว้นแต่, เว้นเสียแต่.
ยินยอม : ก. ยอม, ไม่ขัด, ตกลง, ชอบใจ, ตาม.
ยิ้มสู้ : ก. ยิ้มพร้อมที่จะสู้กับอุปสรรคอันตรายใด ๆ โดยไม่ยอมถอย.
ยืนกราน : ก. ยืนคําอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น (ไม่ยอมถอนหรือเปลี่ยนความเห็น เป็นอื่น).
ยืนหยัด : ก. สู้ไม่ยอมถอย เช่น เขายืนหยัดสู้ได้ตลอด ๕ ยก.
ยุไม่ขึ้น : ก. หนุนเท่าไร ๆ ก็ไม่ยอมทำตาม.
เย็บปาก : (ปาก) ก. ปิดปากเงียบไม่ยอมพูด.
เยา ๒ : ว. เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ย่อม เป็น ย่อมเยา เช่น ราคาย่อมเยา.
รักษาหน้า : ก. ระวังไม่ยอมให้ต้องอับอายขายหน้า.
รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
ราบคาบ : ว. อาการที่ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ยอมแพ้อย่างราบคาบ; เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมือง สงบราบคาบตำรวจปราบโจรผู้ร้ายเสียราบคาบ.
รู้ชั้นเชิง, รู้ชั้นรู้เชิง : ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.
รูดซิป : ก. ดึงซิปให้ติดกันหรือให้แยกออก; โดยปริยายหมายความว่า ไม่ยอมเปิดปากพูดในเรื่องที่เป็นความลับ.
ลงทุน : ก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดย ปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขา ลงทุนโกนหัวแสดงละคร.
ลงหัว : ก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม แต่มักใช้ ในความปฏิเสธ เช่นไม่ยอมลงหัวให้ใคร.
ลดราวาศอก : ก. อ่อนข้อ, ยอมผ่อนปรนให้, เช่น เถียงกันไม่ลดรา วาศอก เขาเป็นพี่ก็ต้องยอมลดราวาศอกให้เขาบ้าง.
ลดละ : ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้ายอย่างไม่ลดละ, ละลด ก็ว่า.
ละลด : ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เถียงอย่างไม่ละลด, ลดละ ก็ว่า.
ลิ้นกระด้างคางแข็ง : ก. อาการลิ้นแข็งขยับขากรรไกรไม่ได้. (สำ) ว. ก้าวร้าวโต้เถียงไม่ลดละ เช่น ลิ้นกระด้างคางแข็งแกล้งว่าขาน. (ขุนช้างขุนแผน); มึนตึงไม่ยอมพูดจาโต้ตอบ.
ลุกะโทษ, ลุแก่โทษ : ก. สารภาพผิดยอมให้ลงโทษตามแต่จะเห็นสมควร.
ลูกติด : น. ลูกที่ติดมากับผัวหรือเมีย, ถ้าติดผัวมา เรียกว่า ลูกติดพ่อ, ถ้าติดเมียมา เรียกว่า ลูกติดแม่; ลูกที่ไม่ยอมห่างพ่อหรือแม่ก็เรียกว่า ลูกติดพ่อ ลูกติดแม่. ลู
ลูกไล่ : น. ปลากัดหรือปลาเข็มที่ใช้สําหรับให้ปลาที่เลี้ยงไว้ไล่เพื่อ ซ้อมกําลัง, โดยปริยายหมายถึงคนที่ยอมเป็นรองเขาเสมอ.
เล่นตัว : ก. ตั้งแง่ไม่ยอมทำหรือไม่ยอมให้ทำง่าย ๆ ตามที่มีผู้งอนง้อ หรือขอร้อง เพราะคิดว่าตัวมีดี เช่น ถ้าทำเป็นก็ทำให้หน่อย อย่าเล่นตัว ไปเลย.
เลิกความ : (ปาก) ก. ยอมความ.
วงแขน : น. อ้อมแขน เช่น โอบไว้ในวงแขน ได้ถ้วยรางวัลมา กอด ไว้ในวงแขนไม่ยอมวาง.
วางอาวุธ : ก. ยอมแพ้.
ศิโรราบ : ก. กราบกราน, ยอมอ่อนน้อม.
ษมา : [สะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ. น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอม รับผิด, ขมา ก็ว่า. (ส. กษมา; ป. ขมา). ษมายุมแปลง น. เครื่องขมาโทษที่ชายนําไปคํานับพ่อแม่หญิงเพื่อ ขอโทษในการที่ลักพาลูกสาวท่านไป.
สงวนท่าที, สงวนทีท่า : ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้งเพื่อไม่ให้ ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทาย ใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.
สนตะพาย : ก. กิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ซึ่งเรียกว่า ตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทําตามด้วยความจําใจ ความหลง หรือ ความโง่เขลาเบาปัญญา.
สมยอม : ก. ยอมตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาบางอย่าง (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เจ้าทุกข์สมยอมกับเจ้าหน้าที่.
สยบ : [สะหฺยบ] ก. ซบลง, ฟุบลง, เช่น สยบอยู่แทบเท้า; แพ้ เช่น เขายอม สยบอย่างราบคาบ, ทําให้พ่ายแพ้ เช่น พระพุทธเจ้าสยบมาร.
สละชีพเพื่อชาติ : ก. ยอมเสียชีวิตเพื่อปกป้องประเทศชาติ.