Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เบา , then บา, เบ, เบะ, เบา, เปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เบา, 192 found, display 151-192
  1. หงิง ๆ : ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.
  2. หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ : ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ หงิง ๆ.
  3. หนัก : ว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.
  4. หย่อน : ก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกําลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.
  5. หรี่ : [หฺรี่] ก. ลดให้น้อยลงหรือเบาลง เช่น หรี่ไฟ หรี่วิทยุ. ว. แคบ ในคำว่า ตาหรี่.
  6. หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.
  7. อชิระ : น. สนามรบ, ที่ว่าง, ลาน. ว. คล่อง, ว่องไว, ตัวเบา. (ส.).
  8. อภัยโทษ : [อะไพยะโทด] (กฎ) ก. ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา หรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดี ถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.
  9. อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย : [อะหฺล่วย] ก. ปรองดองกัน, ผ่อนหนักผ่อนเบาให้แก่กัน.
  10. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  11. อิจฉา : [อิด] ก. เห็นเขาได้ดีแล้วไม่พอใจ อยากจะมีหรือเป็นอย่างเขาบ้าง (มีความหมายเบากว่า ริษยา). (ป., ส. อิจฺฉา ว่า ความอยาก, ความ ต้องการ, ความปรารถนา).
  12. อินซูลิน : น. ฮอร์โมนประเภทโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งหย่อมเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ (islets of Langerhans) ในตับอ่อนผลิตขึ้น มีสมบัติควบคุมการ เผาผลาญนํ้าตาลในร่างกาย ในทางแพทย์ใช้เป็นสารลดระดับ นํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. (อ. insulin).
  13. อุบ ๒ : ก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปาก ไว้แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.
  14. อุบอิบ, อุบอิบ ๆ, อุบ ๆ อิบ ๆ : ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบอิบ พูดอุบอิบ ๆ บ่นอุบ ๆ อิบ ๆ, อุบ ก็ว่า.
  15. บาทบูรณ์ : [บาดทะบูน] น. คําที่ทําบาทของบทกลอนให้เต็ม เช่น ในฉันท์ ๑๑ มีคําที่ได้ใจความ ๑๐ คํา แล้วอีกคําหนึ่งไม่ต้องมี ความหมายอย่างไรก็ได้ เติมเข้ามาให้ครบ ๑๑ คําเติมนี้ เรียกว่า บาทบูรณ์. (ส.).
  16. บาจรีย์ : [-จะรี] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป. ปาจริย).
  17. บาทมูลิกากร : [บาดทะมูลิกากอน] น. หมู่คนที่อยู่แทบบาทมูล คือ ข้าราชการในพระองค์. (ป.).
  18. บานีโยทก : น. นํ้าดื่ม.
  19. บาเรียน : น. ผู้เล่าเรียน, ผู้รู้ธรรม, ผู้คงแก่เรียน, เปรียญ.
  20. บาเรียม : น. ปืนใหญ่โบราณชนิดหนึ่ง.
  21. รุบาการ : (กลอน) น. อาการแห่งรูป, รูป, เช่น เทพยดาก็กําบงงรุบาการอันตรธาน ไป. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. รูป + อาการ).
  22. บ่า ๑ : น. ส่วนของร่างกายระหว่างคอกับหัวไหล่, โดยปริยายหมายถึง อินทรธนูหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บ่าเสา บ่าเสื้อ.
  23. บ่า ๒ : ว. อาการที่นํ้าไหลล้นมาโดยเร็ว; อะไร, ทําไม.
  24. ระบานี, ระบานี้ : ว. นัก, ทีเดียว, เช่นนี้, ดังนี้.
  25. บาทบ : [บา-ทบ] (แบบ) น. ต้นไม้ เช่น บรรดาที่เป็นบาทบชักตรลบเอารส วารี. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป., ส. ปาทป).
  26. บาพก : [บา-พก] (แบบ) น. ไฟ, (โบ) ใช้ว่า บ่าพก ก็มี. (ป., ส. ปาวก).
  27. บาปกรรม : [บาบกํา] น. บาป. (ส. ปาปกรฺม; ป. ปาปกมฺม).
  28. กรรบาสิก, กรรปาสิก : [กับบา-, กับปา-] (แบบ) ว. อันทอด้วยฝ้าย. (ส. การฺปาสิก; ป. กปฺปาสิก).
  29. กรรบาสิกพัสตร์ : [กับบาสิกะ-] น. ผ้าอันทอด้วยฝ้าย คือ ผ้าฝ้าย. (ใน ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์ ว่า มาแต่แคว้นกาสี). (ส. วสฺตฺร ว่า ผ้า).
  30. ฉบบ : [ฉะ-] น. แบบ, เล่มหนังสือ, เรื่อง. (ข. จฺบาบ่).
  31. ฉบับ : [ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสํานวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือ เขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่น ที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).
  32. ท่วม : ก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
  33. บุษบามินตรา : [บุดสะบามินตฺรา] น. พุทธรักษา. (ช.).
  34. เบาราณ : (แบบ) ว. โบราณ. (ส. เปาราณ; ป. ปุราณ, โปราณ).
  35. โบราณ, โบราณ- : [โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษร โบราณหนังสือเก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).
  36. ปฏิ- : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
  37. ม่อน ๒ : (ถิ่น-พายัพ) ส. ข้าพเจ้า เช่น อกม่อนเมา บาบั้น บิ่นบ้าในทรวง. (หริภุญชัย).
  38. มูลิกากร : น. ข้าทูลละอองธุลีพระบาท, เรียกให้เต็มว่า บาทมูลิกากร.
  39. ศาลจังหวัด : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจําในแต่ละ จังหวัดหรือในบางอําเภอ มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง และคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ในเขตอํานาจศาลตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนั้น ได้กําหนดไว้.
  40. สกา : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่งใช้ลูกบาศก์ทอดแล้วเดินตัวสกาตาม แต้มลูกบาศก์. (เทียบทมิฬ บาสกา).
  41. อังสา : น. บ่า, ไหล่. (ป., ส. อํส).
  42. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-192]

(0.0441 sec)