Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จา , then , จะ, จา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จา, 1972 found, display 1551-1600
  1. ลู่ออก : (แสง) ก. อาการที่ลำแสงผ่านเลนส์เว้าไปแล้วจะถ่างออก จากกัน. (อ. divergent).
  2. เล็งปืน : ก. ใช้สายตากำหนดเป้าหมายที่จะยิงเพื่อให้แม่น.
  3. เล็ดลอด : ก. แอบซ่อนไป, ลอบเข้าไปหรือออกมาได้ด้วยความยาก ลําบาก แม้สถานที่นั้นจะมีผู้พิทักษ์รักษาและการป้องกัน เช่น มด เล็ดลอดเข้าไปในถุงน้ำตาลจนได้ ขโมยเล็ดลอดเข้าไปในบ้าน.
  4. เล่นกับไฟ : (สำ) ก. ลองดีเสี่ยงกับสิ่งที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย.
  5. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  6. เลยตามเลย : ว. ตามแต่จะเป็นไปเพราะพลาดและล่วงเลยไปแล้ว เช่น เอาเงินเกินไปแล้วก็เลยตามเลย ไม่ขอคืน.
  7. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  8. เล่าลือ : ก. แพร่ข่าวกันแซ่ เช่น เขาเล่าลือกันว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่.
  9. เลียง ๑ : น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใส่ผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง บวบ น้ำเต้า หัวปลี ยอดฟักทอง ปรุงด้วยหัวหอม พริกไทย กะปิ ตำกับกุ้งแห้งหรือ ปลาย่าง บางทีก็มีกระชายด้วย ใส่ใบแมงลักให้มีกลิ่นหอม. ก. กิริยาที่แกงเช่นนั้น เช่น วันนี้จะเลียงน้ำเต้า.
  10. เลี้ยงไข้ : ก. อาการที่หมอจงใจชะลอการรักษาโรคให้หายช้าเพื่อ จะเรียกค่ารักษาได้นาน ๆ.
  11. เลี้ยงความ : ก. อาการที่ทนายความของโจทก์และจำเลยสมคบกัน ถ่วงคดีความให้ล่าช้า โดยประสงค์ที่จะเรียกค่าใช้จ่ายในการว่าความ ที่ต้องยืดเยื้อออกไป.
  12. เลี้ยงได้แต่ตัว : ก. เลี้ยงได้เฉพาะแต่ร่างกายเท่านั้นไม่สามารถจะ บังคับจิตใจเขาได้, มักใช้ว่าเลี้ยงได้แต่ตัวเท่านั้น จิตใจเลี้ยงไม่ได้.
  13. เลี้ยงไม่เชื่อง : ก. อาการของสัตว์บางชนิดเช่นนกกระจอกแม้จะเอา มาเลี้ยงอย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อง, โดยปริยายหมายความว่า เนรคุณ.
  14. เลี้ยงไม่โต : ก. ได้รับบาดเจ็บถึงพิการ แม้จะไม่ตายแต่ก็รักษาให้หาย เป็นปรกติไม่ได้.
  15. เลี้ยงไม่รู้จักโต : ก. เลี้ยงจนโตควรจะพึ่งตัวเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้อง ขอเงินและข้าวของเป็นต้นจากพ่อแม่, เลี้ยงจนโตแล้วก็ยังประจบ ออเซาะแม่เหมือนเด็ก ๆ.
  16. เลี้ยงรับ : ก. เลี้ยงอาหารเพื่อเป็นการต้อนรับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น เลี้ยงรับผู้ที่จะมาอยู่ใหม่.
  17. เลี้ยงลา : ก. เลี้ยงอาหารเป็นการอำลาของผู้ที่จะจากไป เช่น นายแดง เลี้ยงลาเพื่อน ๆ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น.
  18. เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ : (สำ) ก. บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาล จะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง.
  19. เลี้ยงส่ง : ก. เลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่จะจากไปอย่างเดินทางไปต่างประเทศ เป็นต้น เช่น เลี้ยงส่งเพื่อนไปศึกษาต่างประเทศ.
  20. เลียบเคียง, เลียบ ๆ เคียง ๆ : ก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการ กรายเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะ ขอยืมเงิน.
  21. เลือดตากระเด็น : ว. ลำบากหรือยากแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น กว่าจะหาเงินมาซื้อบ้านได้แทบเลือดตากระเด็นทีเดียว.
  22. เลือดล้างหน้า : น. เลือดระดูที่ออกมาเล็ก ๆ น้อย ๆ หลังจากคลอด ลูกแล้ว แสดงว่าจะตั้งท้องได้อีก.
  23. แล็กเกอร์ : น. น้ำมันชักเงาประเภทหนึ่งที่ใช้ทาหรือพ่นเคลือบผิววัตถุให้เป็นเงา มันและสวยงาม ประกอบด้วยตัวทำละลายที่ระเหยแห้งได้ง่าย เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) บิวทิลแอซิเทต (butyl acetate) และ ตัวถูกละลาย เช่น ไนโตรเซลลูโลส (nitrocellulose) ไวนิลเรซิน (vinyl resin) เมื่อนำไปทาหรือพ่นผิววัตถุ ตัวทำละลายจะระเหยแห้ง ไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งตัวถูกละลายให้เป็นของแข็งเคลือบผิววัตถุเป็น เงามัน มีหลายชนิด เช่น ชนิดใช้กับพื้นไม้ ชนิดใช้กับพื้นโลหะ ชนิดใช้พ่นเคลือบเส้นผมให้ทรงรูป ชนิดใช้ทาเคลือบเล็บ.
  24. แล้ง : น. หน้านํ้าแห้ง, ฤดูไม่มีฝน, ในคำว่า หน้าแล้ง ฤดูแล้ง. ก. ไม่มี เช่น แล้งน้ำใจ, มีน้อย เช่น แล้งน้ำ แล้งกวี. ว. ไม่มี, มีน้อย, เช่น ฝนแล้ง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แห้ง เป็น แห้งแล้ง เช่น แผ่นดินนี้นับวันจะแห้ง แล้งเป็นทะเลทราย.
  25. แล้ว : ว. ลักษณะอาการกระทําใด ๆ เสร็จ สิ้น จบ ล่วงไป หรือสุดสิ้นลง เช่น กินแล้ว ทำแล้ว นอนแล้วหรือต่อแต่นั้นเริ่มใหม่อีกระยะหนึ่ง (จะเป็นการกระทําอย่างเดียวกันหรือต่างกันแล้วแต่กรณี) เช่น กิน แล้วนอน ขึ้นรถแล้วลงเรือ.
  26. แล้วแต่ : ว. ตามแต่, สุดแต่, สุดแท้แต่, (ใช้ในลักษณะที่ยกอำนาจการ ตัดสินขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นต้น) เช่น แล้วแต่บุญกรรม แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กรณี แล้วแต่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณา อนุมัติหรือไม่.
  27. แลหน้าแลหลัง : ก. พิจารณาให้รอบคอบ เช่น จะทำอะไรต้องแล หน้าแลหลังให้ดีเสียก่อน.
  28. โลกาภิวัตน์ : น. การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลก ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจาก สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนา ระบบสารสนเทศเป็นต้น. (ป. โลก + อภิวตฺตน; อ. globalization).
  29. โล่งโถง : ว. เปิดว่างตลอด ขาดสิ่งที่ควรมี เช่น ห้องโล่งโถง คือ ห้องที่ควรจะมีฝากั้น แต่ไม่มี.
  30. โลจนะ : [โลจะ–] น. ดวงตา. (ป., ส.).
  31. โลห–, โลหะ : [โลหะ–] น. ธาตุที่ถลุงจากแร่แล้ว เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคํา; (วิทยา) ธาตุซึ่งมีสมบัติสําคัญคือ เป็นตัวนําไฟฟ้าและความร้อนที่ดี มีขีดหลอมเหลวสูง ขัดให้เป็นเงาได้ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็น เส้นลวดได้ เมื่อนํามาเคาะมีเสียงดังกังวาน เมื่ออยู่ในสภาพไอออน จะเป็นไอออนบวก.
  32. ไล่ที่ทำวัง : (สํา) ก. บังคับให้ย้ายไปให้พ้นเพื่อตนจะเข้าไปอยู่.
  33. ไลย ๒ : [ไล] น. ของที่จะพึงเลีย. (ป. เลยฺย).
  34. วงจรชีวิต : น. การเวียนว่ายตายเกิด, ลักษณาการของชีวิตที่มี พัฒนาการเป็นขั้น ๆ ไปตามลำดับและในที่สุดก็จะเวียนมาบรรจบ ณ จุดเริ่มต้นใหม่ แล้วเวียนซ้ำต่อไปอีก เช่น ผีเสื้อออกไข่ แล้วไข่ กลายเป็นตัวหนอน หนอนกลายเป็นดักแด้ ดักแด้กลายเป็นผีเสื้อ แล้วผีเสื้อก็ออกไข่ ฯลฯ.
  35. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  36. วจนะ : [วะจะ] (แบบ) น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป., ส.).
  37. วนจร, วนจรก : [วะนะจอน, วะนะจะรก] น. คนเที่ยวป่า, พรานป่า. ก. เที่ยวไปในป่า. (ป., ส.).
  38. วสันตดิลก : [วะสันตะดิหฺลก] น. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๔ คํา เช่น ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด ดลฟากทิฆัมพร บราลีพิไลพิศบวร นภศูลสล้างลอย. (อิลราช). (ป., ส. วสนฺตติลก).
  39. วัจ, วัจจะ : [วัดจะ] น. อุจจาระ. (ป.; ส. วรฺจสฺ).
  40. วัดผล : ก. ทดสอบเพื่อวัดเชาวน์ ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ บุคลิกภาพ เป็นต้น โดยใช้วิธีการแบบใดแบบหนึ่ง เช่น การเรียนรู้ ในสาขาวิชาต่าง ๆ จำเป็นจะต้องวัดผลอย่างสม่ำเสมอ.
  41. วันทาสีมา : ก. ไหว้พัทธสีมาก่อนที่จะเข้าอุโบสถในพิธีอุปสมบท (ใช้แก่นาค).
  42. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  43. วันหน้า : น. วันที่จะมาถึงข้างหน้า เช่น วันหน้าจะพบกันใหม่, ใช้ว่า วันหลัง ก็มี.
  44. วันหน้าวันหลัง : น. วันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น จะทำอะไรก็เผื่อวัน หน้าวันหลังไว้บ้าง.
  45. วันหลัง : น. วันหลังจากวันนี้ไป เช่น วันหลังจะมาเยี่ยมอีก, ใช้ว่า วันหน้า ก็มี.
  46. วับ ๆ หวำ ๆ : ว. รู้สึกวาบ ๆ ในใจด้วยความหวาดหวั่น เช่น ใจวับ ๆ หวำ ๆ เวลาจะเข้ารับการผ่าตัด.
  47. วัวหายล้อมคอก : (สํา) น. ของหายแล้วจึงจะเริ่มป้องกัน, เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข.
  48. วา ๒ : น. เพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงก่อนตัวแสดงออกแสดง เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่าการแสดงจะเริ่มแล้ว.
  49. ว่าขาน : ก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลาย ที่โกรธา ฯ (อิเหนา).
  50. ว่าง ๆ : ว. ไม่มีอะไรจะทำ, ไม่มีภาระ, เช่น อยู่ว่าง ๆ ไม่รู้จะทำอะไร.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | [1551-1600] | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1972

(0.1192 sec)