Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จา , then , จะ, จา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จา, 1972 found, display 601-650
  1. คอแบะ : น. ปกเสื้อชนิดที่มีสาบตอนบนแบะออก ส่วนที่แบะออกและ ส่วนที่เป็นปกจะเป็นแบบใดก็ได้.
  2. คะคาน : ก. ค้านกัน, ยังตกลงกันไม่ได้, เช่น จะเอาชนะคะคานอะไรกัน.
  3. คันถรจนาจารย์ : [-รดจะนาจาน] น. อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์. (ป. คนฺถ + ป., ส. รจน + ส. อาจารฺย).
  4. คับขัน : ว. จําเป็นเฉพาะหน้าที่จะต้องทําหรือต้องสู้ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้, เข้าที่ลําบากหรือจําเป็น, ขับขัน ก็ว่า.
  5. คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก : (สำ) น. ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าอึดอัดใจ ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตอย่างไรก็อยู่ไม่ได้.
  6. คางคกไฟ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก แต่ตัวเล็กกว่ามาก ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ.
  7. ค้างคาว ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดและหลายวงศ์ ลําตัวมีขนปุย ปีกเป็นแผ่นหนังขนาดใหญ่ เวลาเกาะจะห้อยหัวลง หากินในเวลา กลางคืน เช่น ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (Pteropus vampyrus) ในวงศ์ Pteropodidae, ค้างคาวลูกหนูบ้าน (Pipistrellus javanicus) ในวงศ์ Vespertilionidae.
  8. ค่าจ้าง : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็น รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่าย ให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวัน ลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุก ประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและ เวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างใน วันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่า จะเรียกชื่ออย่างไร.
  9. คาดโทษ : ก. หมายไว้ว่าถ้ากระทำผิดอีกจะลงโทษเท่าใด.
  10. คาดไม่ถึง : ก. ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น.
  11. คานคอดิน : น. คานที่วางบนเสาตอม่อ มักจะอยู่เสมอระดับดิน.
  12. คาบลูกคาบดอก : (สํา) ว. อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน สำนวนนี้เปรียบกับต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกัน จึงว่า คาบลูกคาบดอก.
  13. คาย ๑ : ก. ปล่อยของที่ไม่ต้องการจะกลืนหรือกลืนไม่ได้ออกจากปาก เช่น คายชานอ้อย; ปล่อยออกมา เช่น คายความร้อน; โดยปริยายใช้หมายถึง อาการของสิ่งที่ติดแน่นเลื่อนออกจากที่เดิม เช่น เรือคายหมัน ลูกประสัก คายตัว, เปิดเผย, แสดงออก, เช่น คายความลับ.
  14. คาร์บูเรเตอร์ : น. อุปกรณ์ประกอบในเครื่องยนต์ชนิดใช้นํ้ามันเผาไหม้ภายใน ใช้ประโยชน์เพื่อผสมอากาศเข้ากับไอนํ้ามันก่อนที่จะถูกเผาไหม้. (อ. carburetor).
  15. ค่ำ : น. เรียกวันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า, เวลามืดตอนต้น ของกลางคืน. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่เย็นจนถึงเวลามืดตอนต้น ของกลางคืน เช่น รอบค่ำ. ก. สิ้นแสงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินแล้ว เช่น จวนจะค่ำแล้ว.
  16. คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
  17. คำตั้ง : น. คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทําพจนานุกรม; คําที่เป็นหลักให้คําอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคําติดต่อ.
  18. คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
  19. คำโท : (ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่า คำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.
  20. คำบอกกล่าว : (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนอง ในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำ บอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
  21. คำฟ้อง : (กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือ ฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
  22. คำมั่น : (กฎ) น. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มีผลผูกพัน ผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความ ผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่าจะซื้อ หรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญาเสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดงเจตนารับรู้ ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล.
  23. คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  24. คิด : ก. ทําให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ; ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก; คาดคะเน เช่น คิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก; คํานวณ เช่น คิดเลขในใจ; มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ, เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย; นึก เช่น คิดละอาย.
  25. คืนคำ : ก. พูดว่าจะให้แล้วไม่ให้.
  26. คุณวุฒิ : [คุนนะวุดทิ, คุนนะวุด] น. ความรู้ความสามารถของบุคคล, ระดับการศึกษา, เช่น เขามีคุณวุฒิเหมาะจะเป็นครู.
  27. คุ้มโทษ : (โบ) ก. ได้รับความคุ้มกันที่จะไม่ต้องถูกลงโทษ เช่น อหนึ่ง ผู้ตามโจรได้รบพุ่งฟันแทงมีบาดเจบท่านว่าคุ้มโทษ. (สามดวง).
  28. คุย ๑ : ก. พูดจาสนทนากัน; (ปาก) ปรึกษาหารือ เช่น เรื่องนี้ขอคุยกันก่อน ที่จะตัดสินใจ; พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.
  29. คู่โค : (โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับ นาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [``ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจํานวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทํานาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทํานาในที่ เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จํานวนโคขึ้นตั้งเป็น อัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทําหรือมิทํา จึงต้องเสียหางข้าว'' -พงศ. ร. ๒].
  30. คู่อาศัย : น. คู่ผัวเมียที่ไม่ใช่คู่สร้างกัน จะอยู่ด้วยกันชั่วคราวแล้วเลิกร้างกันไป.
  31. เคมี : น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวและสมบัติ ของสารต่าง ๆ ว่าประกอบกันขึ้นเป็นสารนั้น ๆ ได้อย่างไร และเมื่อ สารนั้น ๆ แปรเปลี่ยนไปเป็นสารอื่นได้ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างไร ทั้งกล่าวถึงการที่จะสังเคราะห์สาร นั้น ๆ ขึ้นได้อย่างไรด้วย แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ อีกหลายสาขา เช่น เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ ชีวเคมี เคมีกายภาพ เคมีวิเคราะห์. (อ. chemistry).
  32. เครดิต : [เคฺร-] น. ชื่อเสียงหรือความเชื่อถือในตัวบุคคลหรือในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ความเชื่อถือในฐานะทางการเงินของบุคคลหรือสถาบัน; รายการเจ้าหนี้ ตามบัญชี, เงินที่เข้าบัญชีเป็นรายรับ; ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษา จะพึงได้รับเมื่อศึกษาตรงตามกําหนดและสอบวิชานั้น ๆ ได้, หน่วยกิต ก็เรียก. (อ. credit).
  33. เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  34. เครื่องหมายการค้า : (กฎ) น. เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของ เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมาย การค้าของบุคคลอื่น.
  35. เคล็ด ๑ : [เคฺล็ด] น. วิธีการที่ฉลาด พลิกแพลง ใช้ในการอย่างใดอย่างหนึ่ง; การ กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือกันภัยหรือเหตุร้าย ที่จะมีมา เช่น ต้นไม้บางชนิดไม่มีลูก เชื่อกันว่าถ้าเอามีดไปสับต้นเป็น เคล็ดแล้วจะมีลูก; อุบาย, เล่ห์, กลเม็ด, เช่น รู้เคล็ด มีเคล็ด เคล็ดลับ.
  36. เคว้งคว้าง : ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมกระแสนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินเคว้งคว้างไม่รู้จะไปไหนดี, คว้างเคว้ง ก็ว่า.
  37. เคหสถาน : [เคหะ-] น. บ้านเรือน; (กฎ) ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และหมายความรวมถึงบริเวณ ของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม. (ส.).
  38. แค่นแคะ, แค่นไค้ : ก. เฟ้นหาความชั่วขึ้นมากล่าว, เซ้าซี้จะให้ได้ สมประสงค์.
  39. แคปซูล : น. หลอดเล็ก ๆ ทําด้วยสารที่ไม่เป็นพิษ และละลายได้ง่าย ใช้บรรจุยา; ส่วนของยานอวกาศที่มีอุปกรณ์จําเป็นพร้อมมูล สามารถแยกตัวออก จากส่วนอื่นได้; (พฤกษ) ลักษณะของผลที่เมื่อแก่เปลือกหุ้มผลจะแห้ง แล้วแตกแยกออกจากกันเป็นหลายซีกหรือหลายรู เช่น ผลลําโพง ฝิ่น. (อ. capsule).
  40. แคลงคลาง : [แคฺลงคฺลาง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้ เพราะออกจะสงสัย, คลางแคลง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.
  41. แคลงใจ : ก. ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้เพราะออกจะสงสัย, คลางแคลง ก็ว่า.
  42. แคลเซียมคาร์ไบด์ : น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี CaC2 ลักษณะเป็น ของแข็งสีเทา เมื่อทําปฏิกิริยากับนํ้าจะได้แก๊สอะเซทิลีนซึ่งจุดไฟติด ให้ความสว่าง ใช้เป็นตะเกียงได้. (อ. calcium carbide).
  43. โคจรคาม : [โคจะระ-] น. หมู่บ้านที่ภิกษุไปบิณฑบาตเสมอ.
  44. โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
  45. โคบอลต์ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ํซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มี สมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทําให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนําไปทําเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกําลังมากเป็นพิเศษ ใน อุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์ เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).
  46. โคมเวียน : น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพ ลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้ว ที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ; ชื่อเพลงโยนกลองในบทปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง.
  47. โคราช : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทํานอง ตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่ง ใช้คําตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คํา ๓ คํากลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัส ในการเล่นคําเล่นความให้สละสลวยบาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.
  48. ฆ้องโหม่ง : น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับ เชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะ ในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลา กลางวันเป็นสัญญาณบอก ''โมง'' คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลา กลางคืนบอก ''ทุ่ม''.
  49. ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด : (สํา) ก. ตัดเยื่อใยไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ที่รักลูก มากถึงจะโกรธจะเกลียดอย่างไรก็ตัดไม่ขาด).
  50. งมเข็มในมหาสมุทร : (สํา) ก. ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้, ทํากิจที่สําเร็จได้ยาก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1972

(0.1200 sec)