Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อนหน้า, หน้า, ก่อน , then กอน, ก่อน, กอนหนา, ก่อนหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนหน้า, 1995 found, display 1001-1050
  1. บ้าย : ก. ป้าย, ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการ ประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการ คล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ใน ความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  2. บิตุ : (แบบ) น. พ่อ, ใช้เป็นคําหน้าสมาส เช่น บิตุฆาต บิตุราช. (ป. ปิตุ).
  3. บีบขนมจีน : ก. บีบแป้งขนมจีนที่อยู่ในห่อผ้าที่เย็บติดกับหน้าแว่น แล้วโรยให้เป็นเส้นลงในนํ้าเดือด, โรยขนมจีน ก็ว่า.
  4. บึ้งตึง : ว. อาการที่หน้าบึ้งเพราะโกรธหรือไม่พอใจเป็นต้น.
  5. บึ้งบูด : ว. อาการที่หน้าเง้าแสดงอาการไม่พอใจ.
  6. บุญทำกรรมแต่ง : (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทํา ให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
  7. บุพการี : น. ผู้ที่ทําอุปการะมาก่อน เช่น บิดามารดาเป็นบุพการี ของบุตรธิดา. (ป. ปุพฺพการี); (กฎ) ญาติทางสาโลหิตโดยตรง ขึ้นไป ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด.
  8. บุพกิจ : น. กิจที่จะต้องทําก่อน. (ป. ปุพฺพกิจฺจ).
  9. บุพชาติ : น. ชาติก่อน. (ป. ปุพฺพชาติ).
  10. บุพนิมิต : น. ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน. (ป. ปุพฺพนิมิตฺต).
  11. บุพบท : น. คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.
  12. บุพเปตพลี : [-เปตะพะลี] น. บุญที่อุทิศให้แก่ญาติผู้ตายไปก่อน.
  13. บุพพัณชาติ : [-พันนะชาด] น. พืชที่จะพึงกินก่อน ได้แก่ข้าว ทุกชนิด. (ป. ปุพฺพณฺณชาติ; ส. ปูรฺว + อนฺน + ชาติ).
  14. บุพเพนิวาสานุสติญาณ : [บุบเพ-] น. ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึง ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, การระลึกชาติได้. (ป. ปุพฺเพนิวาสา นุสฺสติ?าณ).
  15. บุพเพสันนิวาส : [บุบเพ-] น. การเคยเป็นเนื้อคู่กัน, การเคยอยู่ร่วม กันในชาติก่อน. (ป. ปุพฺเพสนฺนิวาส).
  16. บุรพบท : [บุระพะบด, บุบพะบด] น. บุพบท, คําชนิดหนึ่งใน ไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือ กริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือ ของฉัน กินเพื่ออยู่.
  17. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี : [บุระพะ-, บุบพะ-, ปุระพะ-, ปุบ พะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือ เพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.
  18. บุรพภัทรบท, ปุพพะภัททะ : [บุระพะพัดทฺระบด, บุบพะพัดทฺระบด, ปุบพะพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้ หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.
  19. บุรัตถิมทิศ : [-ถิมะทิด] น. ทิศตั้งอยู่เบื้องหน้า, ทิศตะวันออก. (ป. ปุรตฺถิมทิส).
  20. บุราณทุติยิกา : [บุรานะ-] น. เมียที่มีอยู่ก่อนบวช. (ป.).
  21. บุริมสิทธิ : [บุริมมะสิด] (กฎ) น. สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับ ชําระหนี้อันค้างชําระแก่ตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้ สามัญ.
  22. บู่ : น. ชื่อปลาจําพวกหนึ่งในหลายสกุลและหลายวงศ์ มีตั้งแต่ขนาด เล็กจนถึงขนาดใหญ่ ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก รูปร่าง ลักษณะ สีสัน ถิ่นอาศัย พฤติกรรมและขนาดแตกต่างกัน มีทั้งใน ทะเล นํ้ากร่อยและนํ้าจืด เช่น บู่จาก หรือ บู่ทราย (Oxyeleotris marmorata) ในวงศ์ Eleotridae ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย คือมีขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, บู่ทอง บู่หิน บู่ทราย หรือ บู่ลูกทราย (Glossogobius spp.) ในวงศ์ Gobiidae, บู่รําไพ (Vaimosa rambaiae) และ บู่ทะเล หรือ บู่ขาว (Acentrogobius caninus).
  23. บูด : ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด; ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เรียกว่า ทํา หน้าบูด.
  24. บูดบึ้ง : ว. ทําหน้าบึ้งแสดงอาการไม่พอใจ.
  25. บูดเบี้ยว : ว. ทําหน้านิ่วแสดงอาการเจ็บปวดหรือไม่พอใจ.
  26. บูรพา : [-ระพา] ว. ตะวันออก; เบื้องหน้า. (ส.).
  27. เบ้ : ว. บิด, ไม่ตรง, เช่น ทําปากเบ้; ทําหน้าแสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็น ด้วย ไม่พอใจ หรือเจ็บปวด เป็นต้น.
  28. เบ่ง : ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะ เป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทําให้ พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม; (ปาก) เร่ง เช่น เบ่งรถให้ขึ้นหน้า; อวดว่ามีอํานาจ, อวดทําเป็นใหญ่.
  29. เบญจ-, เบญจะ : [เบนจะ-] ว. ห้า, ลําดับที่ ๕ เช่น นาเบญจะ หัวเมืองเบญจะ มาตรา ... เบญจะ. (ป. ปญฺจ; ส. ปญฺจนฺ), มักใช้เป็นส่วนหน้า สมาส.
  30. เบญจางค-, เบญจางค์ : [เบนจางคะ-, เบนจาง] น. อวัยวะทั้ง ๕ คือ หน้าผาก ๑ มือ ๒ เข่า ๒; ส่วนทั้ง ๕ คือ ราก เปลือก ใบ ดอก ผล.
  31. เบญจางคประดิษฐ์ : น. การกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้น.
  32. เบอะ ๒ : ว. ซึมเซ่อ เช่น หน้าเบอะ.
  33. เบะ : ว. ทําหน้าเหมือนจะร้องไห้; มักใช้ประกอบคํา เหลือ เป็น เหลือเบะ คือ เหลือมาก เช่นในกรณีที่เตรียมของไว้มาก แต่คนมาน้อย.
  34. เบาความ : ว. ไม่พินิจพิเคราะห์ในข้อความให้ถี่ถ้วน, หย่อนความคิด, เชื่อง่ายโดยมิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน.
  35. เบิกไพร : ก. ทําพิธีก่อนจะเข้าป่า.
  36. เบิกไม้ : น. พิธีเซ่นผีป่าหรือรุกขเทวดาก่อนจะตัดไม้ใหญ่ในป่าสูง.
  37. เบิกโรง : ก. แสดงก่อนดําเนินเรื่อง, แสดงออกโรงครั้งแรก.
  38. เบิกโลง : ก. ทําพิธีก่อนนําศพลงโลง.
  39. เบิ่ง : ก. จ้องดู, แหงนหน้าดู, เช่น ควายเบิ่ง.
  40. เบื้องหลัง : ว. ข้างหลัง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไม่เปิดเผยหรือแอบ แฝงอยู่, เบื้องหน้าเบื้องหลัง ก็ว่า.
  41. เบือน : ก. หันหน้าหนี ในคําว่า เบือนหน้า.
  42. โบราณ, โบราณ- : [โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษร โบราณหนังสือเก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).
  43. ใบเบิกร่อง : (กฎ) น. เอกสารที่กรมศุลกากรออกให้แก่เรือที่มีระวาง จดทะเบียนตํ่ากว่า ๒๐๐ ตัน ที่ออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนําเรือผ่านด่านศุลกากรที่ปากนํ้า สมุทรปราการ.
  44. ใบโพ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Drepane วงศ์ Drepanidae ลําตัวสีเงิน สั้น กว้าง และแบนข้างมาก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของ หัว ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเรียว ครีบท้องอยู่ในแนวหน้า ครีบอก ครีบหางมีปลายเป็นเหลี่ยมมุมป้าน ชนิด D. punctata มีจุดดําที่ข้างตัวเรียงในแนวตั้งหลายแนว แต่ชนิด D. longimana มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน, ทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตามพื้น ท้องนํ้าที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, แมลงปอ ก็เรียก.
  45. ใบระกา : น. ชื่อไม้สลักหรือปูนปั้นรูปเป็นครีบ ๆ หรือลวดลายต่าง ๆ ติดกับ ตัวลํายองระหว่างช่อฟ้ากับหางหงส์ ประกอบ ๒ ข้างหน้าบันโบสถ์ วิหาร และปราสาท เป็นต้น.
  46. ใบหน้า : น. เค้าหน้า, ดวงหน้า, รูปลักษณะของหน้า.
  47. ปกิณกะ : [ปะกินนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน, (มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี. (ป. ปกิณฺณก; ส. ปฺรกีรฺณก).
  48. ปฏิ- : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
  49. ปฐมพยาบาล : [ปะถมพะยาบาน] น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉิน ตามวิธีแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล.
  50. ปโย- : น. นํ้านม, นํ้า. (ป., ส. ปย), ที่เป็น ปโย เพราะเข้าสมาสกับศัพท์ที่มี พยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรตํ่าหรือตัว ห ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1995

(0.1285 sec)