Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อนหน้า, หน้า, ก่อน , then กอน, ก่อน, กอนหนา, ก่อนหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนหน้า, 1995 found, display 1301-1350
  1. ย้อย : ก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อย ลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมาก ย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะ เป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย.
  2. ยะ ๑ : คําประกอบข้างหน้าคําที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียว กับคําเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.
  3. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  4. ยันกัน : ก. พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบ ข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน.
  5. ยับยั้งชั่งใจ : ก. คิดทบทวนดูผลดีผลเสียให้รอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไป.
  6. ย่าง ๒ : ก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่างตีน หรือ ย่างเท้า ก็ว่า; เคลื่อนเข้าสู่ เช่น ย่างเข้า หน้าหนาว อายุย่าง ๒๐ ปี.
  7. ยางนอก : น. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอก หล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน. ยางน่อง น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ ยิงสัตว์.
  8. ยานี : น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มี ๑๑ คํา จัดเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คํา วรรคหลัง ๖ คํา; ชื่อเพลงหน้าพาทย์.
  9. ยาว : ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยาย ออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะ ส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่ง ไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อน กลางวันยาวกว่ากลางคืน.
  10. ยิ่ง : ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
  11. ยิ้มเจื่อน : ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิท.
  12. ยิ้มเฝื่อน : ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิทคล้ายกินของมีรสเฝื่อน.
  13. ยิ้มละไม : ก. ยิ้มน้อย ๆ อยู่ในหน้า.
  14. ยิ้มเหย : [เหฺย] ก. ยิ้มหน้าเบ้, ฝืนยิ้ม.
  15. ยึดหัวหาด : ก. ยึดชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในความครอบครองของข้าศึกเพื่อ สะดวกในการยกพลขึ้นบก, โดยปริยายหมายถึงยึดจุดสำคัญหรือบุคคล สำคัญเป็นต้นเพื่อที่จะทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ เช่น ต้องยึดหัวหาดในพรรคให้ได้ก่อน.
  16. ยื่น : ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุข ยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการ ให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
  17. ยืนยัน : ก. พูดคงคําโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดย แน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนง โดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คําเดียวก็มี.
  18. เย็นเฉียบ : ว. เย็นจัด เช่น หน้าหนาวน้ำในลำธารเย็นเฉียบ.
  19. เย็นเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอย น้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
  20. เยี่ยม ๑ : ก. ไปถามข่าวทุกข์สุข, ไปหา, เช่น ไปเยี่ยมญาติ มาเยี่ยมบ้าน; ชะโงก หน้าออกไป เช่น เยี่ยมหน้าต่าง; โผล่ออก เช่น พระจันทร์เยี่ยมขอบฟ้า.
  21. เยี่ยม ๆ มอง ๆ : ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา เยี่ยม ๆ มอง ๆ.
  22. แย่ง : ก. ยื้อเอาไป เช่น ถูกแย่งของไปจากมือ, รีบฉวยหรือรีบทำเสียก่อน เช่น แย่งทาน.
  23. รถแทรกเตอร์ : น. รถทุ่นแรง ใช้ลากหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์อย่างอื่นที่ติด เข้าไปกับตัวรถตามลักษณะงานที่ใช้ มี ๒ แบบ คือ แบบตีนตะขาบ และ แบบล้อซึ่งมีล้อหลังใหญ่กว่าล้อหน้า.
  24. รถบดถนน : น. รถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้ง ขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ล้ออยู่ ข้างหลัง.
  25. รถพ่วง : น. รถที่พ่วงท้ายให้รถคันหน้าลากไป.
  26. รถสิบล้อ : น. รถบรรทุกขนาดใหญ่ข้างหน้ามี ๒ ล้อ ข้างหลังมี ๘ ล้อ.
  27. รมควันเด็ก : น. วิธีลงโทษเด็กที่ดื้อมาก ๆ อย่างหนึ่ง โดยเอากาบมะพร้าว แห้งเผาไฟให้ควันรมหน้ารมตาเด็กเพื่อให้สำลักควันจะได้เข็ด.
  28. รวย ๓ : น. ตัวไม้ที่ทอดลงมาบนหัวแปตอนหน้าจั่ว.
  29. รอ ๒ : ก. คอย เช่น รอรถ รอเรือ; ยับยั้ง เช่น รอการพิจารณาไว้ก่อน รอการลง อาญาไว้ก่อน; เกือบจด, จ่อ, เช่น เอายาดมรอจมูก เอามีดรอคอ.
  30. รองท้อง : ก. กินพอกันหิวไปก่อน.
  31. รองทุน : ก. ออกทุนให้ไปก่อน.
  32. รอบคอบ : ว. ทั่ว, ถ้วนถี่, เช่น พิจารณาอย่างรอบคอบ, ระวังเหตุการณ์ ข้างหน้าข้างหลังเสมอ, ไม่เผอเรอ, เช่น ดูแลให้รอบคอบ.
  33. รอย : น. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้น สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอย ประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.
  34. ระลึกชาติ : ก. ระลึกถึงความเป็นไปในชาติก่อน.
  35. รักษาประตู : ก. คุมอยู่หน้าประตูในการเล่นฟุตบอลคอยป้องกันไม่ให้ ลูกฟุตบอลเข้าไป.
  36. รั้ง : ก. หน่วงเหนี่ยวไว้ เช่น รั้งตัวไว้ก่อน, เหนี่ยว เช่น แขนเสื้อรั้ง, ชักมา, ใช้กําลังเต็มที่เพื่อให้สิ่งที่มีแรงต้านทานเคลื่อนเข้ามาหรือหยุดอยู่ เช่น รั้งวัวรั้งควาย; ระวัง, เฝ้า, รักษา, ครอง เช่น รั้งเมือง.
  37. รังสรัง : [–สัง] ก. ตั้งหน้าวิ่ง, ออกวิ่ง.
  38. รัชมังคลาภิเษก : น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครอง ราชสมบัติได้นานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ.
  39. รัดประคน : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ใช้พันอ้อมลำตัว ถัดต้นขาหน้าของช้าง มี ๒ เส้นคู่กัน สำหรับผูกรั้งสัปคับ แหย่ง หรือ กู บมิให้โยกเลื่อน.
  40. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  41. รับสัมผัส : ก. เรียกคำใดคำหนึ่งของวรรคหลังแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจอง กับคำส่งสัมผัสในวรรคหน้าว่า คำรับสัมผัส.
  42. รัมมี่ : น. การเล่นไพ่อย่างหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก ผู้เล่นต้องพยายามผสมไพ่ในมือ เป็นชุด ๆ ชุดละ ๓ ใบขึ้นไป แต่ละชุดจะจัดเรียงแบบตองหรือตาม หมายเลขก็ได้ ผู้จัดชุดได้หมดทั้งมือก่อนเป็นผู้ชนะในรอบนั้น. (อ. rummy).
  43. รัว ๑ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่ง ใช้ในโอกาสเช่นร่ายเวทมนตร์คาถา แปลงกายหรือเนรมิตตัว.
  44. ราชมัล : น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทําโทษคน. (ป., ส. ราช + มลฺล).
  45. ราชรถมาเกย : (สํา) น. โชค ลาภ หรือยศ ตําแหน่ง มาถึงโดยไม่รู้ตัวหรือ คาดฝันมาก่อน.
  46. ราด : ก. เทของเหลว ๆ เช่นนํ้าให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรี่ยรายไปทั่ว เช่น ราดนํ้า ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ข้าวราดแกง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวราด ขี้ราด.
  47. ราบ : ว. เรียบเสมอพื้นไม่มีลุ่ม ๆ ดอน ๆ เช่น ที่ราบ ราบเป็นหน้ากลอง, โดยปริยายหมายความว่า หมดสิ้น เช่น หญ้าตายราบ ปราบศัตรูเสียราบ; undefined undefined
  48. ร่ายยาว : น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายร่ายโบราณ ใช้แต่งบทเทศน์ บทสวด บทกล่อมลูก เป็นต้น ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่ละวรรคไม่ควร น้อยกว่า ๕ คำ นิยมส่งสัมผัสส่งท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสในวรรค ถัดไปที่คำใดก็ได้สัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ.
  49. ร่ายสุภาพ : น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่ง มี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือ ที่ ๓ ของวรรคถัดไปและจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.
  50. ราศี ๒ : น. ความสง่างาม, ลักษณะดีงามของคน, เช่น หน้าตามีราศี, โดยปริยาย หมายความว่าความอิ่มเอิบ, ความภาคภูมิ, เช่น ได้ตำแหน่งดี ดูมีราศีขึ้น; สิริมงคล เชื่อกันว่าเวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่หน้าอก เวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1995

(0.1237 sec)