Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อนหน้า, หน้า, ก่อน , then กอน, ก่อน, กอนหนา, ก่อนหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนหน้า, 1995 found, display 1501-1550
  1. สกัด : ก. กั้น, ขวาง, เช่น สกัดหน้า; ตัดหรือกะเทาะของแข็งเช่นเหล็ก หิน ให้เป็นร่อง รอย ทะลุ หรือให้ขาดจากกัน, เรียกเหล็กที่ใช้ตัดหรือ กะเทาะของแข็งเช่นนั้นว่า เหล็กสกัด; เค้นหรือแยกเอาออกมา เช่น สกัดนํ้ามัน สกัดน้ำหอมจากดอกกุหลาบ. (ข.).
  2. สงโกจ : [โกด] (แบบ) ก. หดเข้า, สั้นเข้า; สยิ้ว, หน้านิ่วคิ้วขมวด. (ป. สงฺโกจ; ส. สํโกจ).
  3. ส่งใจ : ก. ส่งน้ำใจที่มีความปรารถนาดีเพื่อให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รับ เช่น ส่งใจไปช่วยทหารในแนวหน้า.
  4. สงบเสงี่ยม : ก. ระงับกิริยาวาจาด้วยความสุภาพเรียบร้อย เช่น เวลา อยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตัว.
  5. สงวนท่าที, สงวนทีท่า : ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้งเพื่อไม่ให้ ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทาย ใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.
  6. ส่งสัมผัส : ก. เรียกคำสุดท้ายของวรรคหน้าแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจอง กับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไปว่า คำส่งสัมผัส.
  7. สนามวัด : น. สถานที่ที่สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแต่ละสำนักได้ กำหนดให้เป็นที่ทดสอบบาลีก่อนที่จะส่งเข้าสอบบาลีสนามหลวง.
  8. สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
  9. สม ๑ : ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสม ฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้ แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  10. ส้ม ๑ : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยว หรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (C. aurantium L.) ส้มโอ [C. maxima (Burm.) Merr.] ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (C. reticulata Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง (C. sinensis Osbeck), ถ้าผลไม้จําพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคํา ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. ว. สีเหลือง เจือแดง เรียกว่า สีส้ม.
  11. ส้ม ๒ : ว. เปรี้ยว เช่น สารส้ม. น. คําใช้ประกอบหน้าชื่อพรรณไม้และของกิน ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มเช้า ส้มตำ ส้มฟัก.
  12. สมเด็จ : น. คํายกย่องหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือแต่งตั้ง หมายความว่า ยิ่งใหญ่หรือประเสริฐ เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จ เจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ, ใช้แต่ลำพังว่า สมเด็จ ก็มี.
  13. สมถยานิก : น. ผู้มีสมถะเป็นยาน, ผู้บำเพ็ญสมถะจนได้ฌานก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนา. (ป.).
  14. สมัยเก่า : น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า. สมัยนิยม
  15. สมาชิก ๒ : [สะมา] (คณิต) น. สิ่งแต่ละสิ่งที่มีปรากฏอยู่ในเซตใดเซตหนึ่ง เช่น { ก, ข, ค } คือ เซตของอักษร ๓ ตัวแรกในภาษาไทย มีสมาชิก ๓ ตัว, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในคู่อันดับใดคู่อันดับหนึ่ง เช่น (ก, ข) คือ คู่อันดับหนึ่ง (ที่มี ก เป็นสมาชิกตัวหน้า ข เป็นสมาชิกตัวหลัง. อ. element, member).
  16. สมุก ๑ : [สะหฺมุก] น. ถ่านทําจากใบตองแห้งใบหญ้าคาเป็นต้นป่นให้เป็น ผงประสมกับรักนํ้าเกลี้ยง สําหรับทารองพื้นบนสิ่งต่าง ๆ เช่นบาน ประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารก่อนที่จะเขียนลายรดนํ้าปิดทอง.
  17. สมุดไทย : น. สมุดที่ทําด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทาง ขวางทบกลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้ง ชนิดกระดาษขาวและกระดาษดํา, สมุดข่อย ก็เรียก.
  18. สยิ้ว : [สะยิ่ว] ก. ทําหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์.
  19. สยุ่น : [สะหฺยุ่น] น. เครื่องมือกลึงไม้ชนิดหนึ่ง รูปเหมือนสิ่ว ตัวทำด้วยเหล็ก ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก มีหน้าต่าง ๆ เช่น หน้าตัด หน้าสามเหลี่ยม หน้าโค้ง.
  20. สร ๓ : [สฺระ] คํานําหน้าคําอื่นที่ใช้ในบทกลอนเพื่อความสละสลวย เช่น ดื่น เป็นสรดื่น, คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ส ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สนุก เป็น สรนุก.
  21. สลด : [สะหฺลด] ก. สังเวชใจ, รู้สึกรันทดใจ; เผือด, ถอดสี, เช่น หน้าสลด; เฉา, เหี่ยว, (ใช้แก่ใบไม้ดอกไม้ซึ่งขาดนํ้าเลี้ยงหรือถูกความร้อน) เช่น ต้นไม้ถูกความร้อนมาก ๆ ใบสลด.
  22. สลอน : [สะหฺลอน] ว. เห็นเด่นสะพรั่ง เช่น นั่งหน้าสลอน ยกมือสลอน.
  23. สลัดผลไม้ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยผลไม้ หลายชนิด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ราดด้วยน้ำเชื่อมหรือครีม หรือใช้ โรยหน้าไอศกรีม.
  24. สวบ, สวบ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือ สิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละ ตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ.
  25. สห : [สะหะ] ว. ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน, (ใช้ประกอบหน้าคําอื่น) เช่น สหประชาชาติ สหพันธ์สหรัฐ. (ป., ส.).
  26. สอ ๒ : ว. ประดังกัน เช่น วิ่งสอกันมารับหน้า, หลั่งออกมาออ ในคำว่า น้ำลายสอ.
  27. ส่อง : ก. ฉายแสง เช่น แดดส่อง ไฟส่อง ส่องไฟ แสงจันทร์ส่อง ตะวันส่อง หน้า, ฉายแสงดู เช่น ส่องสัตว์ในป่า ส่องทาง ส่องกบ, เพ่งมอง เช่น ส่องกล้อง, เล็ง เช่น ส่องปืน(ปาก) ยิง เช่น ถูกส่องด้วยปืนลูกซอง.
  28. สองชั้น : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่า ชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า อัตราสองชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น.
  29. สองไม้ : น. ทํานองเพลงที่ใช้หน้าทับทําจังหวะ.
  30. สอดไส้ : ก. ใส่ไส้ไว้ข้างใน, โดยปริยายหมายความว่า แอบสอดสิ่ง แปลกปลอมปนเข้าไปโดยมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เช่น สอดไส้ธนบัตร ปลอมไว้ในปึกธนบัตรจริง สอดไส้เอกสารที่เป็นประโยชน์แก่ตน ปะปนเข้าไปพร้อมกับเอกสารในแฟ้มเสนอเซ็น. ว. เรียกขนม ชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วย ใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ ก็เรียก.
  31. สอบซ้อม : ก. ทดสอบความรู้ก่อนสอบไล่ (ใช้ในโรงเรียน).
  32. สอยดาว : ว. เรียกอาการที่เดินหงายหน้าว่า เดินสอยดาว; เรียกหมัด ที่ชกตวัดขึ้นสู่ปลายคางของคู่ต่อสู้ว่า หมัดสอยดาว.
  33. สะกด : ก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคํา, เรียกพยัญชนะ ที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคําที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด).
  34. สะดวก : ว. คล่อง, ไม่ติดขัด, เช่น ทางสะดวก การเดินทางสมัยนี้สะดวกกว่า สมัยก่อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ สบาย เป็น สะดวกสบาย.
  35. สะดุด ๑ : ก. อาการที่เดินหรือวิ่ง ปลายเท้าไปกระทบสิ่งที่ขวางหน้า ทําให้ก้าว ผิดจังหวะ เซ ถลา หรือหกล้ม เป็นต้น เช่น เขาสะดุดก้อนหินล้มลง เด็กวิ่งไปสะดุดตอไม้.
  36. สะบ้าหัวเข่า : น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็น ยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบเป็น ส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, ลูกสะบ้า ก็ว่า.
  37. สะเออะ ๑ : ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควรเช่นในที่รโหฐานเมื่อไม่มี หน้าที่เกี่ยวข้อง, เจ๋อ, เช่น สะเออะไปนั่งเก้าอี้ประธาน, เสนอหน้าพูด เป็นต้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น นายยังไม่ทันถาม ก็สะเออะรายงาน.
  38. สัก ๓ : ก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้ เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทําเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนังเพื่อแสดง เป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือ เป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิก เป็นต้น.
  39. สังขยา ๒ : [ขะหฺยา] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง โดยมากทําด้วยไข่ขาว นํ้าตาล และ กะทิ, ถ้าทำเป็นหน้าข้าวเหนียวไม่ใส่กะทิ; ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่ น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ กินกับขนมปัง.
  40. สังฆ : [สังคะ] น. สงฆ์, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
  41. สังโยค : น. การประกอบกัน, การอยู่ร่วมกัน, การผูกรัด; (ไว) ตัวพยัญชนะ ๒ ตัวที่เรียงกัน ตัวหน้าเป็นตัวสะกด ตัวหลังเป็นตัวตาม พยัญชนะ ที่เป็นตัวสะกด เรียกว่า พยัญชนะสังโยค เช่น มนุสฺส สตฺต พุทฺธ รฏฺ?. (ป. สํโยค, สญฺโ?ค; ส. สํโยค).
  42. สั่งลา : ก. บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น เขาสั่งลาลูกเมียก่อน เดินทางไปต่างประเทศ เขาตายโดยไม่ได้สั่งลา.
  43. สัญญาณ : น. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทําตามที่ บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็น สัญญาณให้พระลงโบสถ์.
  44. สัตถุ : น. ครู, ผู้สอน, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส. (ป.).
  45. สัตภัณฑ์ ๒ : [พัน] น. ชื่อเชิงเทียน ทำเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ติดไม้กลึงเป็นเชิงเทียน ๗ เชิง กรอบมักทำเป็นรูปพญานาคเลื้อยลงมา คล้ายกรอบหน้าบัน.
  46. สั้น : ว. ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้น ตรงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งน้อยกว่าอีกสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบ กัน เช่น เสื้อแขนสั้น กระโปรงสั้น ถนนสายนี้สั้นกว่าถนนสายอื่น ๆ, มีระยะเวลานานน้อยกว่าอีกช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น หน้าหนาวกลางวันสั้นกว่ากลางคืน.
  47. สันนิธิ : น. การสะสม, การรวบรวม; ที่ใกล้, ที่ต่อหน้า. (ป., ส.).
  48. สันนิบาต ๒ : น. เรียกไข้ชนิดหนึ่งมีอาการสั่นเทิ้ม ชักกระตุก และเพ้อ ว่า ไข้สันนิบาต เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง. (ป., ส.).
  49. สันนิษฐาน : [นิด] ก. ลงความเห็นเป็นการคาดคะเนไว้ก่อน. (ป. สนฺนิฏ?าน ว่า ลงความเห็นในที่สุด).
  50. สับเงา : ว. สัปหงก, อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | [1501-1550] | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1995

(0.1153 sec)