Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อนหน้า, หน้า, ก่อน , then กอน, ก่อน, กอนหนา, ก่อนหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนหน้า, 1995 found, display 601-650
  1. คำมั่น : (กฎ) น. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มีผลผูกพัน ผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความ ผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่าจะซื้อ หรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญาเสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดงเจตนารับรู้ ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล.
  2. คิว ๒ : น. แถวตามลําดับก่อนหลัง เช่น เข้าคิว คิวรถ. (อ. queue).
  3. คืบ ๑ : น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ คืบ เท่ากับ ๑๒ นิ้ว, อักษรย่อว่า ค. ก. เขยิบตัวไปข้างหน้าอย่างหนอน, ก้าวหน้า เช่น ข่าวคืบหน้า ทํางานไม่คืบหน้า.
  4. คุกพาทย์ : น. ชื่อเพลงปี่พาทย์เพลงหนึ่ง ใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบการรําในท่าที่ดุร้าย.
  5. คุณ ๑, คุณ- : [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษขึ้นไป; (ไว) คําแต่งชื่อ. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
  6. คุณหญิง : น. คํานําหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า; (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นเอกภรรยาของพระยา; (ปาก) คำที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์ที่เป็นหญิง.
  7. คุ้น : ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตา บ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู.
  8. คุย ๑ : ก. พูดจาสนทนากัน; (ปาก) ปรึกษาหารือ เช่น เรื่องนี้ขอคุยกันก่อน ที่จะตัดสินใจ; พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.
  9. คู่โค : (โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับ นาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [``ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจํานวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทํานาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทํานาในที่ เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จํานวนโคขึ้นตั้งเป็น อัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทําหรือมิทํา จึงต้องเสียหางข้าว'' -พงศ. ร. ๒].
  10. คู่บารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญบารมีกันมาก่อน และมาสนับสนุน เกื้อกูลกันในปัจจุบัน, สิ่งประดับบารมี.
  11. คู่บุญ : น. ผู้ที่เคยสร้างบุญกุศลร่วมกันมาในชาติก่อน.
  12. คู่บุญบารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญกุศลกันมาในชาติก่อนและมา สนับสนุนเกื้อกูลกันในปัจจุบัน เช่น พระนางมัทรีเป็นคู่บุญบารมี ของพระเวสสันดร.
  13. คู่ลำดับ : (คณิต) น. สิ่ง ๒ สิ่งที่จัดเข้าวงเล็บให้อยู่คู่กัน ซึ่งคํานึงถึง การเรียงลําดับก่อนหลังเป็นหลักสําคัญ โดยถือว่า (a, b) ต่างกับ (b, a).
  14. คู่เวรคู่กรรม : น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความ เดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกัน มาแต่ชาติก่อน.
  15. คู่สร้าง, คู่สร้างคู่สม : น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยา กันมาแต่ชาติก่อน, ชายหญิงที่สมเป็นคู่ครองกัน, เนื้อคู่ ก็ว่า.
  16. เครียด : [เคฺรียด] ว. จัด เช่น ตึงเครียด, อาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลายเพราะ ครํ่าเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป เช่น หน้าเครียด อารมณ์เครียด.
  17. เครื่องคู่ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้าที่เพิ่มเติมให้เป็นคู่ ๆ คือ ปี่นอกคู่กับปี่ใน ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่ เปิงมางสองหน้า คู่กับโทน ฉาบคู่กับฉิ่ง และกลองคู่หนึ่ง.
  18. เค้า ๑ : น. สิ่งที่เป็นเครื่องกําหนดหมายบอกให้รู้ เช่น ฝนตั้งเค้า; สิ่งที่ส่อแสดง ให้รู้ได้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น เช่น นาย ก มีเค้าหน้าเหมือนนาย ข; ต้นเงื่อน เช่น ต้นเค้า; รูปหรือรูปความโดยย่อ เช่น เขียนพอให้เห็นเป็น เค้า; ร่องรอย เช่น พอได้เค้า; เหง้า เช่น โคตรเค้าเหล่ากอ; ข้า. (อนันตวิภาค); ตัวเงินหรือวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน เช่นเมล็ดมะขามเป็นต้นที่เป็นทุนซึ่งตั้ง ไว้สําหรับเล่นในบ่อนการพนันบางชนิด, เรียกผู้ถือต้นทุนในการพนัน ว่า ถุงเค้า.
  19. โค ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งคล้ายขนมต้มขาว มีไส้อย่างหน้ากระฉีก ราด หัวกะทิขลุกขลิก เรียกว่า ขนมโค.
  20. โคน ๓ : น. ชื่อตัวหมากรุกที่ใช้เดินทแยงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง หรือเดิน ตรงไปข้างหน้าคราวละ ๑ ตา.
  21. โครโมโซม : น. ส่วนหนึ่งของนิวเคลียสของเซลล์ มีลักษณะเป็นท่อนหรือเป็นเส้น ประกอบขึ้นด้วยสารดีเอ็นเอ (DNA = deoxyribonucleic acid) เชื่อมกับ โปรตีน ทําหน้าที่สําคัญในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ทั้งควบคุมการทํางานของเซลล์และการแบ่งเซลล์. (อ. chromosome).
  22. งง : ก. ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน, ทําอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้งสติ ไม่อยู่; อาการมึนเกิดเพราะหัวหรือบริเวณหน้าได้รับความกระทบ กระเทือนอย่างแรงเป็นต้น.
  23. งอ : ว. ลักษณะที่มีส่วนปลายหักโค้งเข้าหาตัวมันเองเช่นรูปอย่างขอ; เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างอ. ก. ทําให้มีรูปหรือเป็นเช่นนั้น, เรียกอาการของ คนที่หัวเราะจนตัวงอว่า หัวเราะงอ.
  24. งอก ๑ : ก. อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก.
  25. งะ : (โบ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น งะงก งะงัน งะโง้ง.
  26. งัวเลีย ๑ : น. เรียกผมที่หน้าผากซึ่งตั้งชันขึ้นไปแล้วปลายย้อนกลับลงมา.
  27. ง่าม ๒ : น. ชื่อมดขนาดเล็กชนิด Phidologeton diversus ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดําตลอดตัว อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในฝูงจะพบ พวกที่ทําหน้าที่เฝ้ารังขนาดใหญ่กว่าตัวธรรมดา ๒-๓ เท่าปะปนอยู่ มีขากรรไกรหน้าเห็นเป็นง่ามใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใกล้บ้านเรือน เดินกันเป็นทาง ขนเศษอาหารหรืออาจพบในแปลงปลูกพืช.
  28. ง้ำ : ว. ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎา งํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างํ้า.
  29. งึก ๆ : ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, หงึก ๆ ก็ว่า.
  30. งุด, งุด ๆ : ว. อาการก้มหน้าลงเพราะกลัวหรืออายเป็นต้น เช่น ก้มหน้างุด, อาการ ที่เดินก้มหัวหรือก้มหน้าไปโดยเร็ว, อาการที่ก้มหน้าก้มตาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นั่งทำงานงุด ๆ ทั้งวัน.
  31. งูกลืนหาง, งูกินหาง ๑ : น. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำ ซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลา เขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไป จนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีก ครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.
  32. เงย : ก. ยกหน้าขึ้น. เงยหน้าอ้าปาก ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน, ลืมตาอ้าปาก หรือ ลืมหน้าอ้าปาก ก็ว่า.
  33. เง้า : ว. เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น ว่า หน้าเง้า.
  34. เงินปากถุง : น. เงินที่ผู้ให้กู้เรียกเก็บจากผู้กู้ก่อนที่จะจ่ายเงินจำนวนที่ ตกลงให้กู้.
  35. เงี้ยว ๑ : น. ชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทย สมัยก่อน.
  36. แง ๑ : น. เรียกส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้วว่า หน้าแง.
  37. จตุ- : [จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).
  38. จตุร- : [จะตุดถะ-, -ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.). [จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).
  39. จตุรพักตร์ : ว. ''ผู้มี ๔ หน้า'' คือ พระพรหม.
  40. จตุรมุข : (กลอน) น. ''ผู้มี ๔ หน้า'' คือ พระพรหม.
  41. จบ ๒ : ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทําความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ.
  42. จมไม่ลง : (สํา) ก. เคยทําตัวใหญ่มาแล้วทําให้เล็กลงไม่ได้ (มักใช้แก่คนที่เคย มั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทําตัวเหมือนเดิม).
  43. จมูก : [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สําหรับ ว. ซีดเซียว, หงอยเหงา, สลด, เช่น หน้าจ๋อย. โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อ ร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ).
  44. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  45. จริงอยู่แต่, จริงอยู่...แต่ : สัน. ใช้แสดงความยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้ว ข้างหน้าและแสดงว่ามีข้อความขัดแย้งตามมาข้างหลัง.
  46. จ้อง ๒ : ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอย จนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทําร้าย จ้องจะแทง, กิริยา ที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
  47. จองกฐิน : ก. แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็น การล่วงหน้า.
  48. จองตั๋ว : (ปาก) ก. ซื้อตั๋วล่วงหน้า.
  49. จอน ๒ : (กลอน) น. เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อน จอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา), เขียนเป็น จร ก็มี. (ไทยใหญ่ จอน ว่า เสียบ).
  50. จอบ ๑ : น. เครื่องมือสําหรับขุด พรวน หรือถากดิน ทําด้วยเหล็กหน้าแบนกว้าง มีด้ามยาว; เรียกฟันหน้าบนที่ใหญ่กว่าปรกติ ว่า ฟันจอบ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1995

(0.1267 sec)