Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พ่าย , then พาย, พ่าย, ว่าย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พ่าย, 210 found, display 51-100
  1. ชนะ ๑ : [ชะ] ก. ทําให้อีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้.
  2. ชัค : [ชักคะ] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชัคสัตว์เสพสำราญ รมยทั่ว กันนา. (ตะเลงพ่าย). (ป. ชค).
  3. ชำนะ : ก. ชนะ, ทําให้เขาพ่ายแพ้. (แผลงมาจาก ชนะ).
  4. ชิสา, ชีสา : สัน. แม้ว่า เช่น ชิสาท่านโอนเอา ดีต่อ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
  5. โชยงการ : [ชะโยง] (กลอน; ตัดมาจาก ราชโยงการ) น. พระดํารัสของ พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ภูวไนยผายโอษฐอื้นโชยงการ. (ตะเลงพ่าย).
  6. ญญ่าย : (แบบ) ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคําว่า หนีญญ่ายพ่ายจแจ้น. (จารึกสยาม).
  7. ดัด ๑ : ก. ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ดัดไม้ ดัดนิสัย; ทําให้เที่ยงตรง เช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา. (ตะเลงพ่าย); ปลุก เช่น เคยดัดฤดีตาตื่นตรับ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). ว. ที่ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.
  8. ถนัด : [ถะหฺนัด] ก. สันทัด, ชํานาญ, เช่น ถนัดแต่งกลอน. ว. สะดวก เช่น เดินไม่ถนัด; ชัด, แม่ยำ, เช่น เห็นไม่ถนัด; เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัด ดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้. (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า.
  9. ทบ ๒ : (กลอน) ก. กระทบ เช่น ของ้าวทบทะกัน. (ตะเลงพ่าย).
  10. ทบท่าว : ก. ทรุดลง, ล้มลง, เช่น เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น. (ตะเลงพ่าย).
  11. ทรหึงทรหวล : [ทอระหึงทอระหวน] (กลอน) ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น ทรหึงทรหวลพะ พานพัด หาวแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  12. ทะ ๒ : (กลอน) ก. ปะทะ เช่น ของ้าวทบทะกัน. (ตะเลงพ่าย).
  13. ทายาด : ว. ยวดยิ่ง, ยิ่งยวด, เช่น ทนทายาด, พระญาณสมเด็จทรง ทายาด. (ยวนพ่าย).
  14. ทุ่ม : ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
  15. เท้ง ๒ : (กลอน) ก. ทิ้ง เช่น ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา. (ตะเลงพ่าย).
  16. ธเรษตรีศวร : [ทะเรดตฺรีสวน] (แบบ; กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก เช่น สายัณห์หวั่นสวาทไท้ธเรศตรี ศวรแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  17. นกคุ่ม : น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง. (ตะเลงพ่าย).
  18. นาคี ๒ : (กลอน) น. ช้าง เช่น ขี่ยาตรานาคี. (ตะเลงพ่าย).
  19. นิตย ๒ : [นิดตะยะ] น. นิติ เช่น ผู้ชํานินิตยสาตรไสย. (ตะเลงพ่าย). (แผลงมาจาก นิติ).
  20. นุ ๑ : (กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  21. เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
  22. บง ๒ : (กลอน) ก. มองดู, แลดู, เช่น พลางพระบงจัตุบาท. (ตะเลงพ่าย).
  23. บง ๔ : (โบ) ก. บ่ง, ชี้, ระบุ, เช่น แถลงปางแสดงดิพรเกื้อ บุญบง บาปนา. (ยวนพ่าย).
  24. บทามพุช : [บะทามะพุด] (แบบ) น. บัวบาท, เท้า, เช่น ทูลพระ บทามพุช. (ยวนพ่าย). (ป. ปท + อมฺพุช).
  25. บนบก. : ว. แห้ง, พร่อง, ลดลง, เช่น นมบกอกพร่อง; ย่อยยับหมด กําลัง เช่น โจมปรปักษบกบาง. (ตะเลงพ่าย).
  26. บาบี : (แบบ) น. คนมีบาป, คนมีความชั่ว, เช่น ชนะแต่บาบีพรรค์ พรั่งพร้อม. (ตะเลงพ่าย). ( ป. ปาปี; ส. ปาปินฺ).
  27. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  28. บีเยศ : (กลอน) ว. ที่รัก เช่น แถลงปางนฤนารถไท้สวรรคต ยงงมิ่งเมือง บนบี เยศเย้า. (ยวนพ่าย).
  29. ปฏิกรรมสงคราม : น. การชดใช้ค่าเสียหายที่ฝ่ายชนะสงครามเรียกร้องเอาจากฝ่าย พ่ายแพ้. (อ. reparation).
  30. ประทบ : (กลอน) ก. กระทบ เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
  31. ปราชัย : [ปะราไช] น. ความพ่ายแพ้. ก. พ่ายแพ้. (ป.).
  32. พนาด : น. เบาะสําหรับปูหลังช้างเพื่อออกป่า เช่น พรายพัสตร์พนาดพร้อม ภูษา. (ยวนพ่าย), ใช้ว่า พระนาด ก็มี.
  33. พรรลาย : [พันลาย] ก. มากมาย, เกลื่อนกลาด; เซ็งแซ่ เช่น ร้องก้องเสียง พรรลาย. (ตะเลงพ่าย).
  34. เฟ็ด : ว. แฟบ, หด, สั้น, ถลกขึ้นสูง (ใช้แก่ผ้านุ่ง); เล็ด เช่น พระพรุณรายเรื่อฟ้า เฟ็ดโพยม. (ทวาทศมาส), ลวงแส้งเฟ็ด ไพ่อ้อม เอาชัย. (ยวนพ่าย).
  35. ภูโช : น. งวงช้าง เช่น ภูโชพรายแพร่งเหลื้อม โสภา เพรอศแฮ. (ยวนพ่าย). (ป., ส. ภุช).
  36. มาภา : (แบบ) น. แสงจันทร์ เช่น มาพ่างมาภาเป็น ปิ่นแก้ว. (ยวนพ่าย). (ป. มา ว่า พระจันทร์ + อาภา ว่า แสงสว่าง).
  37. ลองธรรม์ : (แบบ) น. ทางธรรม เช่น แถลงปางพระเลี้ยงโลก ลองธรรม์. (ยวนพ่าย).
  38. ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
  39. ลาญ : ก. แตก, หัก, ทําลาย เช่น ฝอใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า. (ตะเลงพ่าย).
  40. ลิลิตดั้น : น. ลิลิตที่ใช้ร่ายดั้นขึ้นต้น แล้วใช้โคลงดั้นกับร่ายดั้น สลับระคนอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตยวนพ่าย.
  41. ลิลิตสุภาพ : น. ลิลิตที่ใช้ร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณขึ้นต้น แล้วใช้ โคลงสุภาพกับร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณสลับระคนอยู่ในเรื่อง เดียวกัน เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตเตลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต.
  42. เลียว ๑ : (กลอน) ว. แล้ว เช่น ชิสาท่านกุํลยว ลาญชีพ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
  43. เลือน, เลือน ๆ : ว. มัว ๆ, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ภาพเก่าสีเลือนไปจนเห็นหน้าไม่ชัด มองเห็นเลือน ๆ, เฟือน ๆ เช่น ความจำเลือนไป. ก. บัง, กั้น, เช่น มีกําแพงแลงเลือน ต่อต้าย. (ยวนพ่าย).
  44. แล ๒ : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
  45. วอน : (ปาก) ก. รนหาที่ เช่น วอนตาย; (วรรณ) ร่ำขอ, ขอด้วยอาการออด, เฝ้าร้องขอให้ทำตามประสงค์, เช่น คำนึงนุชนาฎเนื้อ นวลสมร แม้นแม่มาจักวอน พี่ชี้. (ตะเลงพ่าย).
  46. สงเษป : [เสบ] (แบบ) น. สังเขป เช่น สวมแสดงบันทึกสาร สงเษป ไส้พ่อ. (ยวนพ่าย). (ส. สํเกฺษป; ป. สงฺเขป).
  47. สยบ : [สะหฺยบ] ก. ซบลง, ฟุบลง, เช่น สยบอยู่แทบเท้า; แพ้ เช่น เขายอม สยบอย่างราบคาบ, ทําให้พ่ายแพ้ เช่น พระพุทธเจ้าสยบมาร.
  48. สร้อย ๔ : [ส้อย] น. ผู้หญิง, นาง, เช่น จําใจจําจากสร้อย. (ตะเลงพ่าย).
  49. สวะ ๓ : [สะหฺวะ] (กลอน) ก. สละ เช่น สวะบาปแสวงบุญบท ที่แล้ว. (ยวนพ่าย).
  50. สัมผัสนอก : น. สัมผัสนอกวรรคหรือระหว่างวรรคตามข้อบังคับแห่ง ฉันทลักษณ์ซึ่งเป็นสัมผัสสระและไม่ซ้ำเป็นคำเดียวกัน เช่น (รูปภาพ กลอน) (อภัย), (ตะเลงพ่าย).
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-210

(0.0416 sec)