Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บท , then บท, ปท .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บท, 216 found, display 51-100
  1. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  2. กฤษฎีกา : [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนด แห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการ บริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มี ลักษณะเป็นกฎหมาย.
  3. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  4. กลอนเพลงยาว : น. กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรัก หรือเล่าสู่กันฟัง เป็นต้น ขึ้นต้นด้วยวรรครับหรือวรรคที่ ๒ ของบท.
  5. กลอักษร : [กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้ อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกําใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). (จารึกวัดโพธิ์).
  6. กวางเดินดง : น. ชื่อวิธีรําท่าหนึ่งอยู่ในลําดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน); ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง เช่น อกเอ๋ยอกประหลาดจริงที่นิ่งเฉย โอ้เอ๋ยผิดคิดไม่เห็นจะเป็นเลย เสียดายเอ๋ยที่พี่เคยสงวนงาม. (กลบท).
  7. กัลยาณ - : [กันละยานะ-] ว. งาม, ดี, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น กัลยาณคุณ = คุณอันงาม กัลยาณธรรม = ธรรมอันดี กัลยาณมิตร = มิตรดี. (ป., ส.).
  8. ก้านต่อดอก : น. ชื่อวิธีร้อยดอกไม้เป็นตาข่าย; ชื่อลายชนิดหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น แสนถวิลเทวษว้าอาวรณ์สมร ทุกข์ระทมกรมทรวงดั่งศรรอน จะนั่งนอนมีแต่พร่ากําสรวลครวญ.
  9. กามา : (กลอน) น. กาม เช่น เข้าแต่หอล่อกามา. (มูลบท).
  10. กำหนด : [-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการ บางจําพวก เช่น พระราชกําหนดเครื่องแบบแต่งกาย ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.
  11. กินนรเก็บบัว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฉิใจฉะใจกระไรสมร หวังสวาทปลิดสวาทบําราศจร ตัดอาลัยตัดอาวรณ์ให้นอนเดียว.
  12. กินนรรำ : น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.
  13. เข้าถึง : ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.
  14. เข้าพระเข้านาง : ก. แสดงบทเกี้ยวพาราสี.
  15. เข้าโรง : ก. กลับเข้าไปหลังฉากเมื่อตัวละครแสดงจบบทแล้ว.
  16. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  17. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  18. คมในฝัก ๒ : น. ชื่อเพลงยาวกลบทและกลอักษร.
  19. ครอบจักรวาล ๓ : [คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์).
  20. คฤธระ : [คฺรึทฺระ] (แบบ) น. แร้ง, ในบทประพันธ์ใช้ว่า คฤธร ก็มี เช่น เกิดเป็น ภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อนก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
  21. คาถาพัน : น. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถา ภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็น คาถาล้วน ๆ อย่างนี้ว่า เทศน์คาถาพัน.
  22. คำสร้อย : น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.
  23. คุณบท : [คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ``เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง''. (ศิริวิบุลกิตติ).
  24. คุณลุงคุณป้า : น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง. (บทแผ่นเสียง).
  25. โคมเวียน : น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพ ลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้ว ที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ; ชื่อเพลงโยนกลองในบทปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง.
  26. โคราช : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทํานอง ตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่ง ใช้คําตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คํา ๓ คํากลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัส ในการเล่นคําเล่นความให้สละสลวยบาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.
  27. จตุรงคนายก : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรค แบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของ ทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกราย จักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).
  28. จตุรงคประดับ : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจพระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อ ตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้ง กระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).
  29. จตุรงคยมก : [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะ จังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรือง ฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  30. จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
  31. จุณณียบท : [จุนนียะบด] (แบบ) น. บทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ. (ป.).
  32. จุลอุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบท สนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
  33. เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
  34. เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
  35. ฉบัง : [ฉะ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง บทละ ๑๖ คํา แบ่งเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑ และ ๓ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ เช่น ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กระวี ไว้เกียรติ์และไว้นามกร. (สามัคคีเภท). (ข. จฺบำง).
  36. ฉ่อย : น. ชื่อเพลงสําหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่า ปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสําคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับ พร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.
  37. ฉัตรสามชั้น : [ฉัด-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หวนสวาทโหยถวิล โหยสวาทหวนครวญคะนึงคะเนนึกคะนึงครวญ ใจเศร้าโศกแสนกําสรวล โศกเศร้าใจ.
  38. ฉัยยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละคร สังข์ทอง). (ดู ชายา๒).
  39. ไฉยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็น สมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา๒).
  40. ช้า ๓ : น. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละคร อื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
  41. ช้างชูงวง : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  42. ช้างประสานงา : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ท่าละครท่าหนึ่ง; ชื่อเพลงบทละคร.
  43. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  44. ดวงเดือนประดับดาว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บจิตมิตรหมาง ค้างเขินขวย เวียนวนหลงลมงมงงงวย ฉาบฉวยรวยเร่อเธอถูกทาง.
  45. ดอกไม้พวง : น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า นิจาเอ๋ยกะไรเลยไม่เคยเห็น นิจาเอ๋ยกะไรน่านํ้าตากระเด็น นิจาเอ๋ยกะไรเปนได้เช่นนี้. (กลบท).
  46. ดอกสร้อย ๒ : น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ ใช้ ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ มี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย เช่น แมวเอ๋ย แมวเหมียว... คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย.
  47. ดาวล้อมเดือน : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (สํา) ว. มีบริวารแวดล้อมมาก.
  48. ดุริยางค์จำเรียง : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  49. ดุษฎีสังเวย : น. บทร้อยกรองที่แต่งเป็นฉันท์สําหรับกล่อมช้าง.
  50. ตระง่อง : [ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-216

(0.0410 sec)