Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เลย , then ลย, เลย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เลย, 234 found, display 101-150
  1. เพรา ๑ : [เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพรา ให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.
  2. ฟ้องกลับ : (ปาก) ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจําเลยในคดีอาญา ด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิก ความเท็จ.
  3. ฟ้องแย้ง : (กฎ) ก. การที่จําเลยฟ้องโจทก์มาในคําให้การในเรื่องที่ เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมของโจทก์. น. คําฟ้องแย้ง.
  4. ม้า ๓ : น. ชื่อปลาชนิด Boesemania microlepis ในวงศ์ Sciaenidae ลําตัว กว้างมากในแนวอกและท้อง ลาดแอ่นลงไปสุดปลายหัว และเรียวเล็ก ลงมากที่คอดหาง ก้านครีบแข็งของครีบก้นใหญ่มาก ครีบหางมีปลาย แหลม ครีบท้องมีปลายยาวเป็นเส้น เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวเด่น ชัดเจนและเรียงต่อเลยไปจนสุดปลายแหลมของครีบหาง ลําตัวและ หัวมีสีเงินหรือเทาอ่อน ด้านหลังมีลายสีเทาเอียงอยู่ตามแถวของเกล็ด พบทุกลุ่มนํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, เขตลุ่มแม่นํ้าโขงเรียก กวาง เขตลุ่มแม่นํ้าบางปะกงเรียก หางกิ่ว.
  5. ม่าย : ก. มองผ่านเลยไป. ว. ไร้คู่ครองเพราะผัวหรือเมียตายจากไปและยัง ไม่ได้แต่งงานใหม่ และหมายรวมถึงเพราะหย่าขาดจากกันด้วย, ถ้าเป็นชายเรียกว่า พ่อม่าย, ถ้าเป็นหญิงเรียกว่า แม่ม่าย, โดยปริยาย เรียกหญิงที่เลิกกับผัวว่า แม่ม่ายผัวร้าง หรือ แม่ร้าง, (โบ) ไร้คู่ผัวเมีย เช่น อนึ่งหญิงใดหาผัวมิได้เปนม่ายถือกำนัลอยู่ในวัง. (สามดวง), เขียนเป็น หม้าย ก็มี.
  6. มุ่ย : ว. อาการที่ยิ้มไม่ออกเพราะไม่พอใจ (ใช้แก่หน้า) เช่น เขาถูกดุเลยทำหน้ามุ่ย.
  7. เมินเสียเถอะ, เมินเสียเถิด : (สำ) คำกล่าวอย่างตัดเยื่อใยไมตรี ไม่ให้มีความหวัง อยู่เลย.
  8. แม้ : สัน. ผิ, หาก, เช่น แม้ฝนตก ฉันก็จะมา, ใช้ว่า แม้น ก็มี; คําสนับสนุนข้ออ้าง ให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ.
  9. แม่เจ้า : ส. คําเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. แม่เจ้าประคุณ คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น แม่เจ้าประคุณของยายสบายดีหรือ ดึกแล้วแม่เจ้าประคุณ ยังไม่กลับบ้านเลย.
  10. ไม่ได้เบี้ยออกข้าว : (สํา) ว. ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยเลย, ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยแล้ว ยังต้องเสียผลประโยชน์ไปอีก.
  11. ไม่เห็นจะ : ว. ใช้ประกอบแสดงความเห็นหรือความรู้สึกในลักษณะที่ว่าไม่ สมควรที่จะ ไม่น่าจะ รู้สึกว่าไม่ เช่น ไม่เห็นจะน่ารักเลย ไม่เห็นจะน่ากลัวเลย.
  12. ยติภังค์ : น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตาม ข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธ ศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับ พยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ใน บรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  13. ยังอีก : ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ หมายความว่า ที่ยังไม่ได้ทำ ยังมีอยู่ เช่น งานที่ยังไม่ได้ทำ ยังอีกเยอะเลย; คำที่ผู้ใหญ่ใช้ขู่เด็กที่ไม่ทำ ตามสั่ง เช่น เมื่อบอกให้เด็กออกมา เด็กไม่ออกมา ก็จะพูดว่า ยังอีก.
  14. ยัน ๑ : ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้า ยันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพ ยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยัน เปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
  15. ย่างกราย : ก. เหยียบย่าง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ย่างกรายไป ไหนเลย เขาไม่ได้ย่างกรายมาเลย.
  16. ยิก, ยิก ๆ : ว. อาการที่ทำติดต่อกันถี่ ๆ บ่อย ๆ เช่น ท้ายิกเลย เกาหัวยิก ๆ ชวนยิก ๆ, ขยิก ก็ใช้.
  17. ยิบ ๒ : (ปาก) ก. ยักเอาไว้, ริบไว้, เช่น ไม่รู้ว่าใครเอาของมาลืมทิ้งไว้ เลยยิบ เอาไปเสียเลย.
  18. เยี่ยมกราย : ก. กรายมาให้เห็น เช่น นานแล้วไม่เยี่ยมกรายมาเลย.
  19. รสชาติ : [รดชาด] น. รส เช่น แกงนี้ไม่มีรสชาติเลย.
  20. ร้อง : ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คํา แวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.
  21. รู้แกว : ก. รู้เบาะแส, รู้ระแคะระคาย, เช่น รู้แกวว่าจะมายืมเงินเลยหลบ หน้าไปก่อน.
  22. รู้ดี : ก. อวดรู้, สู่รู้, เช่น อย่ารู้ดีไปหน่อยเลย.
  23. รู้ตัว : ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับ แต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า; รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน; รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
  24. เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
  25. เร่งเร้า : ก. รบเร้าให้รีบทำ, รบเร้าให้ทำโดยเร็ว, เช่น เขายังไม่พร้อมที่จะ แต่งงาน ก็อย่าเพิ่งไปเร่งเร้าเขาเลย เกษตรกรเร่งเร้าให้ทางการช่วยเหลือ ก่อนที่พืชผลจะเสียหาย.
  26. เร่อร่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเร่อร่าผิด กาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเร่อร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเร่อร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเร่อร่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อ กะล่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  27. เริด ๒ : ว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการ ที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูง ขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.
  28. เรียงเม็ด : (ปาก) ก. ย่อย เช่น ข้าวยังไม่ทันเรียงเม็ดเลย ไปวิ่งเล่นแล้ว.
  29. เรียบวุธ : ก. ถืออาวุธอยู่ในท่าเรียบ คือ ถือปืนแนบอยู่ทางขวา ส้นปืน จดดิน, เลือนมาจาก เรียบอาวุธ. (ปาก) ว. หมดเกลี้ยง เช่น กินเสีย เรียบวุธเลย.
  30. เรื้อ : ก. ขาดการฝึกฝนเสียนาน เช่น ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสมานานเลยเรื้อไป, ห่างไปนาน เช่น เรื้อเวที เรื้อสังเวียน. น. เรียกข้าวเปลือกที่ตกอยู่แล้ว งอกขึ้นจนออกรวงอีกว่า ข้าวเรื้อ, บางทีก็เรียกว่า ข้าวเรื้อร้าง, ใช้เรียก พืชผลบางชนิดที่เกิดขึ้นในทํานองนี้ เช่น แตงโม ว่า แตงโมเรื้อ. เรื้อรัง ว. ยืดเยื้อ, นานหาย, (ใช้แก่โรค) เช่น วัณโรคเรื้อรัง แผลเรื้อรัง.
  31. เรื่อย, เรื่อย ๆ : ว. มีลักษณะอาการอันต่อเนื่องกันไปไม่ขาดระยะ เช่น ทำงานเรื่อยไม่ หยุดเลย เดินไปเรื่อย ๆ พูดไปเรื่อย ๆ; เฉื่อย, เฉื่อย ๆ, เช่น ลมพัดมา เรื่อย ๆ เขาเป็นคนเรื่อย ๆ.
  32. ไร ๑ : น. ชื่อสัตว์พวกแมงหลายชนิด ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดหรือเล็กกว่า ลักษณะคล้ายพวกเห็บแต่ต่างกันที่ไม่มีหนามเล็ก ๆ คลุมรอบปาก และแผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของลําตัวไม่เลยขาคู่ที่ ๔ ชนิดดูดกินเลือดสัตว์ เช่น ไรไก่ (Dermanyssus spp.) ในวงศ์ Dermanyssidae ชนิดทําลายพืช เช่น ไรแดง (Tetranychus spp.) ในวงศ์ Tetranychidae.
  33. ล้น : ก. พ้นหรือเลยระดับที่เปี่ยมอยู่แล้วจนไหลออกมา เช่น น้ำล้นตุ่ม ข้าวสารล้นกระสอบ, เกินกำหนดจนคงอยู่ไม่ได้ เช่น คนมากจนล้น ห้องประชุม. ว. ยิ่ง เช่น งานล้น สวยล้น; (ปาก) ค่อนข้างทะลึ่ง, เกินพอดี, เช่น เด็กคนนี้พูดจาล้น.
  34. ลนลาน : ว. อาการที่กลัว ตกใจ หรือรีบร้อนเป็นต้นจนทำอะไรไม่ถูก เช่น ไฟไหม้ข้างบ้านเขาวิ่งหนีไฟลนลานเลยไม่ได้หยิบอะไรมา.
  35. ล้มกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่น หมากรุก จึงพาลคว่ำกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุก บนกระดานเป็นต้น, คว่ำกระดาน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการ ที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานคุมเสียงสมาชิกไม่อยู่เลยล้มกระดานด้วยการเลิก ประชุม.
  36. ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
  37. ล้อต๊อก : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยปล่อยเงินเหรียญให้ ล้อไปบนกระดานเป็นต้นที่วางเอียง ๆ ถ้าใครล้อได้ไกลกว่าแต่ ต้องไม่เลยเส้นกำหนด จะได้ทอยคนที่ล้อใกล้กว่า ถ้าทอยถูกก็กิน ถ้าทอยผิดก็เริ่มต้นเล่นใหม่.
  38. ลอยชาย : ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้า ลอยชาย; กรีดกราย เช่น เดินลอยชายไม่ทำอะไรเลย, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่มีผู้ขัดขวาง เช่น ข้าศึกเดินลอยชายเข้าเมือง.
  39. ล้ำหน้า : ว. เกินเลยไปกว่าที่ควร เช่น เขาชอบทำอะไรล้ำหน้า เพื่อนฝูงอยู่เสมอ; ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัย เช่น ความคิดลํ้าหน้า ทํางานลํ้าหน้า.
  40. ลูกแถว : น. เรียกพลทหารพลตํารวจเป็นต้น เช่น เรียกลูกแถวมาฝึก; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นลูกน้องเขา ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะสั่งการ ใด ๆ ได้เลย เช่น มีแต่พวกลูกแถวเท่านั้นจะช่วยอะไรได้.
  41. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  42. เล่นตลก : ก. หลอกหรือล้ออย่างตลกเพื่อให้หลงเชื่อ เช่น ขอดูแหวน แล้วเล่นตลกสวมนิ้วไปเลย; กระทำไม่ตรงไปตรงมา, เล่นไม่ซื่อ ก็ว่า.
  43. เล่นตัว : ก. ตั้งแง่ไม่ยอมทำหรือไม่ยอมให้ทำง่าย ๆ ตามที่มีผู้งอนง้อ หรือขอร้อง เพราะคิดว่าตัวมีดี เช่น ถ้าทำเป็นก็ทำให้หน่อย อย่าเล่นตัว ไปเลย.
  44. เล่นลูกไม้ : ก. ใช้เล่ห์เหลี่ยมกลโกง, ใช้กลเม็ดหลอกลวง, เช่น อย่า มาเล่นลูกไม้หน่อยเลย.
  45. เล่อล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเล่อล่า ผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเล่อล่าออกไปกลางถนนเลยถูก รถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเล่อล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูก จับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเล่อล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เร่อร่า ก็ว่า.
  46. เลี้ยงไม่ขึ้น : ก. อบรมเลี้ยงดูคนบางคนอย่างดีแต่ก็มิได้ทำให้คนผู้นั้น เจริญรุ่งเรืองขึ้นเลย; เลี้ยงคนบางคนแล้วผู้นั้นยังไม่กตัญญูรู้คุณ.
  47. เลี่ยน ๒ : ว. เตียน, เกลี้ยง, เช่น อายุยังน้อยอยู่เลย หัวล้านเลี่ยนแล้ว ถูพื้นเสีย มันเลี่ยน; มีรสมันเกินไป เช่น แกงใส่กะทิข้นมากมันจนเลี่ยน. น. เรียกแพรที่เป็นมัน ไม่มีดอกหรือลวดลาย ว่า แพรเลี่ยน.
  48. เลี้ยว : ก. หักแยก โค้ง หรือคดเคี้ยวไปจากแนวตรง เช่น เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา. น. ทางตอนที่โค้งหรือคดไปจากแนวตรง เช่น เลยเลี้ยวแรกไป ๕๐ เมตรก็ถึงที่พัก, หัวเลี้ยว ก็ว่า.
  49. เลือดตกยางออก : ก. มีบาดแผลถึงเลือดออก เช่น ต่อสู้กันจนถึง เลือดตกยางออก; รุนแรง เช่น เรื่องเล็กแค่นี้อย่าให้ถึงกับเลือด ตกยางออกเลย.
  50. แล้วกัน : (ปาก) ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวัง เป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน ไป เมื่อไรก็ไม่บอก; คำที่ใช้ลงท้ายข้อความแสดงว่าเป็นอันยุติกัน เช่น ขอโทษเขาเสียหน่อยก็แล้วกัน วันนี้ยังเขียนไม่เสร็จ เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-234

(0.0439 sec)