Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เลย , then ลย, เลย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เลย, 234 found, display 201-234
  1. หลักประกัน : น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือ หลักทรัพย์ที่นํามาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยหรือ ประกันการชําระหนี้.
  2. หลาม ๒ : ก. เอาของใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก เช่น หลามข้าว, เรียก ข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุกว่า ข้าวหลาม; ล้นแผ่ เลยออกมา เช่น คนไปฟังปาฐกถาล้นหลามออกมานอกห้อง, โดยปริยาย หมายความว่า ใหญ่เกินพอดี เช่น พุงหลาม.
  3. หัวแข็ง ๑ : ว. แข็งแรงทนทานไม่ใคร่เจ็บไข้ (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ หัวแข็ง ตากฝนเป็นชั่วโมงก็ไม่เป็นอะไรเลย; กระด้าง, ว่ายาก, เช่น เขาเป็นคนหัวแข็ง ผู้ใหญ่พูดเท่าไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง, ตรงข้ามกับ หัวอ่อน. ก. ไม่ยอมอ่อนตาม เช่น เขาหัวแข็งจริง ๆ ชี้แจงเท่าไรก็ไม่ยอมเปลี่ยน ความคิด.
  4. หัวหายตะพายขาด : (สํา) ว. อาการที่ชอบเที่ยวเตลิดไปไม่อยู่ติดบ้าน บางที ก็ไม่กลับบ้านเลย คล้ายวัวควายที่เชือกตะพายขาดเที่ยวเตลิดไป.
  5. หางเลข : น. เครื่องหมายย่อแทนตัวเลขสําหรับทําเลขอย่างเก่า; (ปาก) เลข ท้ายสลากกินแบ่งที่ได้รางวัล, โดยปริยายหมายถึงพลอยถูกผู้ใหญ่ดุหรือ ตำหนิไปด้วย เช่น หัวหน้าถูกผู้ใหญ่ดุ ลูกน้องก็เลยพลอยถูกหางเลขไปด้วย.
  6. หาบมิได้, หาบ่มิได้ : [หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้, บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้.
  7. หายเข้ากลีบเมฆ : (สํา) ก. หายลับไปไม่ได้พบอีก เช่น ตั้งแต่เขายืมเงิน ไปแล้วก็หายเข้ากลีบเมฆไปเลย.
  8. หายหน้า : ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัว ก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.
  9. หายห่วง : ก. ไม่ต้องเป็นห่วงอีกแล้ว, ไม่ต้องกังวลถึงอีกแล้ว, เช่น คนนี้ มีความสามารถเชื่อถือได้ เมื่อมอบงานให้แล้ว หายห่วงได้เลย; (ปาก) นานมากเช่น ใช้ให้ไปซื้อของตั้งแต่เช้า ไปเสียหายห่วงเลย, มาก เช่น เขาวิ่งทิ้งคู่แข่งหายห่วงเลย.
  10. หายหัว : ก. หายไปนาน เช่น ใช้ให้ไปซื้อของใกล้ ๆ แค่นี้ หายหัวไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น พอจะใช้ให้ทำงานก็หายหัวไปเลย, หายตัว หรือ หายหน้า ก็ว่า.
  11. เหนือ : [เหฺนือ] ว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะสูงกว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เขามีอํานาจเหนือฉัน, ที่มีความรู้ความสามารถเป็นต้นสูง เช่น เขามีฝีมือ เหนือชั้นกว่าคู่ต่อสู้, ข้างบน เช่น สวะลอยอยู่เหนือนํ้า, ตรงข้ามกับ ใต้. น. ชื่อทิศตรงข้ามกับทิศใต้, ทิศที่อยู่ทางซ้ายมือเมื่อหันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก เรียกว่า ทิศเหนือ, ทิศอุดร ก็ว่า. บ. พ้นขึ้นไป, เลยขึ้นไป, เช่น เมฆลอยอยู่เหนือภูเขา.
  12. เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
  13. เหมือน : [เหฺมือน] ว. ดั่ง, เช่น, ดั่งเช่น, อย่าง, เช่น เขาทำได้เหมือนใจฉันเลย.
  14. เหลิง : [เหฺลิง] ก. ลืมตัว เช่น พ่อแม่ตามใจเสียจนเหลิง มีคนชมมาก ๆ เลยชักเหลิง.
  15. เหลียวแล : ก. เอาใจใส่ดูแล เช่น พ่อแม่แก่แล้วต้องเหลียวแลท่านให้มาก เด็กคนนี้ไม่มีใครเหลียวแลเลย.
  16. เหลื่อม : [เหฺลื่อม] ว. เลยไป, ลํ้าไป, ลํ้ากัน, ไม่เสมอกัน.
  17. แหมะ ๑ : [แหฺมะ] ก. นั่งหรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น เดินมาจนเหนื่อยเลยแหมะ อยู่ที่โคนต้นไม้ก่อน เอาของแหมะไว้ตรงนี้อีกแล้ว. ว. อาการที่นั่งหรือ วางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น นั่งแหมะ วางของแหมะ.
  18. โหลงโจ้ง : [โหฺลง-] (ปาก) ว. ลักษณะที่มีแต่นํ้าเป็นส่วนใหญ่ แทบไม่มีเนื้อเลย เช่น แกงมีแต่นํ้าโหลงโจ้ง.
  19. ให้การ : (กฎ) ก. ให้ถ้อยคําเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นมา เช่น จําเลยให้การต่อศาล.
  20. ให้เสียง : ก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.
  21. อติ : [อะติ] คํานําหน้าคําที่มาจากบาลีและสันสกฤตให้มีใจความว่า พิเศษ, ยิ่ง, มาก, เลิศล้น; ผ่าน, ล่วง, พ้นเลยไป, เขียนเป็น อดิ ก็มี. (ป., ส.).
  22. อาน ๒ : ว. บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียอาน, โดยปริยายหมายความว่า อย่างหนัก, อย่างมาก, เช่น ถูกต่อว่าอานเลย.
  23. อาภัพเหมือนปูน : (สำ) ทำดีแต่มักถูกมองข้ามไปหรือไม่มีใคร มองเห็น คล้ายในการกินหมาก จะต้องมีหมาก พลู ปูน ๓ อย่าง ประกอบกัน แต่คนมักพูดว่า กินหมากกินพลู โดยมิได้พูดถึง ปูนเลย จะพูดถึงบ้างก็เป็นไปในทางที่ไม่ดีว่า ปูนกัดปาก.
  24. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  25. อาราม ๓ : ว. มุ่งหมายอย่างรีบร้อน, พะวงที่จะทําการใด ๆ, ตั้งหน้าตั้งตา, ใช้นําหน้ากริยา เช่น อารามจะไปเลยลืมกระเป๋าสตางค์.
  26. อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
  27. เอาเถิด ๒, เอาเถิดเจ้าล่อ ๑ : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่งไม่จำกัด จำนวนผู้เล่น โดยจะต้องมีคนหนึ่งอยู่โยง ณ หลักที่กำหนดไว้ มี หน้าที่ไล่จับผู้อื่นให้ได้ ถ้าจับใครไม่ได้เลยก็ต้องอยู่โยงต่อ ถ้าจับผู้ใด ได้ผู้นั้นต้องอยู่โยงแทน มีบทร้องประกอบว่า 'เอาเถิดเจ้าล่อ ข้าวเหนียวสองห่อไม่พอกันกิน'.
  28. โอ้ ๑ : (กลอน) อ. คําในคําประพันธ์ ใช้ในความรําพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคย เลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่า เสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.
  29. ลุ่ย : ก. เลื่อนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม เช่น ผ้านุ่ง ที่เหน็บไว้ลุ่ยหลุดออก มวยผมลุ่ยออกมา, คลายออกเป็นเส้น ๆ เช่น ชายผ้าลุ่ย ด้ายที่เย็บไว้ลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ ในคำว่า แพ้ลุ่ย.
  30. พนาลัย : น. การอยู่ป่า, ที่อยู่ในป่า. (ส. วนาลย).
  31. พลุ่ย : [พฺลุ่ย] ว. ง่าย, ลุ่ย, หลวมเข้าไป.
  32. วนาลัย : น. ป่า. (ส. วนาลย).
  33. ศลัถ : [สะลัด] น. ลุ่ย, หลุด; หลวม, ไม่แน่น. (ส.).
  34. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-234]

(0.0468 sec)