วาม ๑, วาม ๆ : ว. เป็นแสงเรือง ๆ อย่างแสงหิ่งห้อย เช่น น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม ทรายเหลือบหางยูงงามว่าหญ้า ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ ลิงว่าผลลูกหว้า โดดดิ้นโดยตาม. (โลกนิติ).
วาลวีชนี : [วาละวีชะนี] น. พัดกับแส้ขนจามรีถือเป็นเครื่อง ราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่งในเบญจราชกกุธภัณฑ์, วาลวิชนี ก็ว่า. (ป., ส.).
ว่าว ๑ : น. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสาย ซุงสําหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู.
ว่าสาดเสียเทเสีย : (สำ) ก. ว่าอย่างเจ็บแสบทำให้เสียหาย อย่างรุนแรง.
วาหะ ๒ : น. ชื่อมาตราตวงอย่างหนึ่ง. (ป., ส.).
วิกัป : [กับ] น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ; คําแสดงความหมาย ให้เลือกเอาอย่างใดอย่าง หนึ่ง. ก. กำหนด; ให้, ฝาก (ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป; ส. วิกลฺป).
วิ่ง : ก. ก้าวไปโดยเร็วยิ่งกว่าเดิน เช่น คนวิ่งไปวิ่งมา ม้าวิ่งในสนาม, แล่นไปโดยเร็ว เช่น เรือวิ่งข้ามฟาก รถวิ่งไปตามถนน; (ปาก)
วิ่งกระโดดข้ามรั้ว, วิ่งข้ามรั้ว : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขัน ต้องวิ่งเร็วแล้วกระโดดข้ามรั้วที่วางไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางที่ กําหนดไว้ ใครถึงหลักชัยก่อนถือว่าชนะ.
วิ่งเต้น : ก. พยายามติดต่ออย่างเต็มที่เพื่อขอความสนับสนุน ช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์ เช่น วิ่งเต้นฝากงาน.
วิ่งเต้น. : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันต้องวิ่งให้เร็วที่สุด เพื่อให้ ถึงหลักชัยก่อน ตามระยะทางที่กำหนด เช่น วิ่ง ๑๐๐ เมตร วิ่ง ๔๐ เมตร.
วิ่งเปี้ยว : น. การเล่นวิ่งแข่งโดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งคนวิ่งอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้ามทีละคน โดยวิธีรับ ช่วงไม้หรือผ้าต่อ ๆ กันไป ฝ่ายที่วิ่งเร็วกว่า ใช้ไม้หรือผ้าที่ถืออยู่ตี ฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นฝ่ายชนะ.
วิจัย ๒ : น. การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น วิจัยเรื่อง ปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร. ก. ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูล อย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น เขากำลังวิจัยเรื่องมลพิษทางอากาศอยู่. ว. ที่ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น งานวิจัย. (อ. research).
วิจิตรบรรจง : [จิดบันจง] ว. ลักษณะที่ตั้งอกตั้งใจทำอย่างประณีต งดงาม เช่น กวีนิพนธ์บทนี้แต่งอย่างวิจิตรบรรจง.
วิจิตรพิศวง : [จิดพิดสะหฺวง] ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลาย ชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
วิจิตรพิสดาร : [จิดพิดสะดาน] ว. ลักษณะที่ประดิษฐ์หรือตกแต่ง จนบางทีเกินงาม เช่น ปราสาทจำลองในสวนสนุกตกแต่งอย่างวิจิตร พิสดาร.
วิจิตรรจนา : [จิดรดจะนา] ว. งามอย่างประณีตละเอียดซับซ้อน เช่น มาลัยพวงนี้เขาตั้งใจร้อยอย่างวิจิตรรจนา.
วิชาเลือกเสรี : น. รายวิชาที่เลือกเรียนได้อย่างเสรี โดยผู้เรียนไม่ต้อง ถามอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน. (อ. free elective course).
วิด : ก. อาการที่ทําให้นํ้าพร่องหรือหมดไปด้วยวิธีวัก สาด หรือด้วย เครื่องวิดมีระหัดเป็นต้น เช่น วิดน้ำออกจากเรือ วิดน้ำออกจากบ้าน, ถ้าใช้วิธีอย่างเดียวกันนั้นถ่ายเทนํ้าจากที่หนึ่งเข้าสู่อีกที่หนึ่ง ใช้ว่า วิดเข้า เช่น วิดนํ้าเข้านา.
วิดพื้น : (ปาก) น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่ม ด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้น ไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับ ยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับ ทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไป อยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ.
วิทยาลัย : น. สถานศึกษาในระดับสูง สอนวิชาชีพเฉพาะอย่าง เช่น วิทยาลัยเทคนิค. (ส.).
วิทยุเฉพาะกิจ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะและไม่เปิดให้ประชาชน ทั่วไปสามารถใช้ได้เป็นการสาธารณะ.
วิธี : น. ทํานองหรือหนทางที่จะทํา เช่น วิธีทำฝอยทอง วิธีสอน คณิตศาสตร์ เลขข้อนี้ทำได้หลายวิธี; แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำถูกวิธี; กฎ, เกณฑ์; คติ, ธรรมเนียม. (ป., ส. วิธิ).
วิธีการ : น. วิธีปฏิบัติตามหลักการเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ เช่น วิธีการที่รัฐให้สวัสดิการแก่ประชาชน วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ มีหลายวิธี.
วินาศภัย : [วินาดสะไพ] (กฎ) น. ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาที่ พึงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย.
วิพิธทัศนา : [วิพิดทัดสะนา] น. การแสดงหลาย ๆ อย่างที่แสดงต่อเนื่อง ในสถานที่แสดงเดียวกัน.
วิลาส : ว. พิลาส, งามมีเสน่ห์, งามอย่างสดใส. (ป., ส.).
วิสาสะ : น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).
วุ่น : ก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน เช่น งานมากทําให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทําอะไรหลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา, ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทําให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน. วุ่นเป็นจุลกฐิน [จุนละกะถิน] (สํา) ก. อาการที่ต้องทํางานอย่าง ชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
วุ้น : น. ของกินชนิดหนึ่ง ทำจากสาหร่ายทะเลเป็นต้น เมื่อนํามาต้มแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็นจะแข็งตัว มีลักษณะค่อนข้างใสและนุ่ม ใช้ทําเป็นของ หวานบางอย่าง เช่นวุ้นกะทิ วุ้นนํ้าเชื่อม, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เคี่ยวหนังหมูจนเปื่อยเป็นวุ้น.
วุ้นเส้น : น. แป้งถั่วเขียวทําเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวอย่างเส้นลวด เมื่อ แช่นํ้าทําให้อ่อนคล้ายวุ้น ใช้ทําเป็นอาหาร เช่น แกงร้อน, เส้นแกงร้อน ก็เรียก.
วุบ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งที่มีรูปร่าง ที่ปรากฏให้เห็นแล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น หายวุบ.
วู้ : ว. เสียงกู่เรียกหรือขานรับอย่างดัง.
วูดวาด : ว. โดยเร็วและแรง (ใช้แก่อาการของลมพัดเป็นต้น).
วูบ : ก. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น ตะเกียงดับวูบ ร้อนวูบ เย็นวูบ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลบวูบ ใจหายวูบ.
วู่วาม : ว. อาการที่พูดหรือทำอย่างรีบร้อนโดยไม่ใคร่ครวญให้ดีเสียก่อน, ขาดสติ, หุนหันพลันแล่น, เช่น อารมณ์วู่วาม ทำไปอย่างวู่วาม.
เวคิน, เวคี : น. ผู้มีความเร็ว, ผู้เดินเร็ว. (ส. เวคินฺ; ป. เวคี).
เวทมนตร์ : [เวดมน] น. ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สําเร็จ ความประสงค์ เช่น โบราณใช้เวทมนตร์ในการรักษาโรคบางอย่าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คาถา เป็น เวทมนตร์คาถา เช่น เขาใช้เวทมนตร์ คาถาล่องหนหายตัวได้.
เวทานต์, เวทานตะ : น. ชื่อคัมภีร์หนึ่งที่ถือว่าอาตมันเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง คัมภีร์นี้อ้างคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นหลัก ซึ่งคัมภีร์เหล่านั้น อยู่ในระยะสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท จึงได้ชื่อว่า เวทานต์ คือ ที่สุดแห่งคัมภีร์พระเวท; ชื่อปรัชญาอินเดียฝ่ายพระเวท. (ส.).
เวนคืน : ก. โอนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นของเอกชน มาเป็นของรัฐ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย.
แว้ง : ก. อาการที่เอี้ยวหัวหรืออวัยวะบางส่วนโดยเร็วเพื่อกัดหรือทําร้าย เป็นต้น เช่น ควายแว้งขวิดจระเข้แว้งหางฟาดเรือล่ม, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เตือนดี ๆ มาแว้งเอาได้.
แว้งกัด : ก. กิริยาที่เอี้ยวตัวหรือคอไปกัดโดยเร็ว เช่น หมาแว้งกัด, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อุตส่าห์อุปถัมภ์ คํ้าชูมาตั้งแต่เล็ก ยังแว้งกัดได้.
แว่น ๓ : ก. กระโดด, ว่องไว; มา เช่น ผิว่าแว่นเร็วอ้า. (ลอ).
ไว้ฝีมือ : ว. อาการที่แสดงความสามารถในด้านศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการฝากฝีมือไว้อย่างเต็มที่ เช่น ออกแบบบ้านอย่างไว้ฝีมือ วาดภาพอย่างไว้ฝีมือ.
ไว้เหลี่ยมไว้คู : ก. แสดงชั้นเชิงอย่างคมคาย เช่น จะเป็นนักเลง ต้องไว้เหลี่ยมไว้คูบ้าง.
ศตัฆนี : [สะตักคะนี] น. อาวุธอย่างร้ายแรงฆ่าคนได้ทีละ ๑๐๐ คน. (ส.).
ศาลา : น. อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือเพื่อ ประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาวัด ศาลาที่พัก ศาลาท่านํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาคารหรือสถานที่บางแห่ง ใช้เพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาพักร้อน ศาลาสวดศพ. (ส.; ป. สาลา).
ศิลปลักษณะ : น. คุณสมบัติของงานศิลปกรรมที่ปรากฏให้เห็นได้ จากรูปวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างมีระเบียบ มีความกลมกลืน และความเรียบง่าย.
ศิลปวัตถุ : น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูง ในทางศิลปะ.
ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
ศิลปะประยุกต์ : น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทาง ศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือ เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่างในการออกแบบ เครื่องแต่งกาย.