ศิลปะพื้นบ้าน : น. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัว หรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้ พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.
ศิลปะสถาปัตยกรรม : น. ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ ในอาคารที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม.
ศิลาแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลม แล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, หินแลง ก็เรียก.
ศีล : [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม)พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี, ป. สีล).
ศึก : น. การใช้กําลังเข้าประหัตประหารกันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐ หรือประเทศตั้งแต่ ๒ รัฐ หรือ ๒ ประเทศขึ้นไป เช่น ศึกชายแดน, การต่อสู้กันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือระหว่างพวกหนึ่งกับอีก พวกหนึ่ง เช่น ศึกล้างบาง ศึกล้างโคตร, โดยปริยายหมายถึงการเกิด ขัดแย้งต่อสู้เป็นปฏิปักษ์ขึ้นในใจ เช่น ศึกในอก.
เศร้าสร้อย : ว. มีความรู้สึกสะเทือนใจชวนให้โศกเศร้าเพราะคิดถึง หรือผิดหวัง เช่น เขาสอบไม่ผ่านเลยเดินกลับบ้านอย่างเศร้าสร้อย ลูกนั่งเศร้าสร้อยคอยแม่กลับบ้าน, สร้อยเศร้า ก็ว่า. เ
เศษนรก : น. คนเลวอย่างที่สุด.
โศก ๓ : ว. สีเขียวอ่อนอย่างสีใบอโศกอ่อน เรียกว่า สีโศก.
สกปรก : [สกกะปฺรก] ว. เปรอะหรือเปื้อนด้วยสิ่งที่ถือว่าน่าเกลียดหรือที่ไม่พึง ประสงค์ เช่น เสื้อผ้าสกปรก เนื้อตัวสกปรกด้วยฝุ่นละออง, ขุ่นมัว, ไม่สะอาดหมดจด, เช่น น้ำสกปรก จิตใจสกปรก, ลักษณะกิริยาวาจา ที่แสดงออกอย่างหยาบคาย เช่น พูดจาสกปรก, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเป็นคนสกปรก เล่นสกปรก.
สกา : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่งใช้ลูกบาศก์ทอดแล้วเดินตัวสกาตาม แต้มลูกบาศก์. (เทียบทมิฬ บาสกา).
สกี : น. แผ่นไม้แคบ ๆ ๒ แผ่น ปรกติยาวแผ่นละ ๑.๕๒.๔ เมตร มีที่ สําหรับสวมเท้าผู้เล่น ใช้ในการเล่นสกี; กีฬาอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนบน แผ่นสกี แล้วไถตัวให้ลื่นไถลลงไปตามเนินเขาที่มีหิมะปกคลุม โดย มีไม้คู่หนึ่งสําหรับยันหรือถ่อเวลาเล่น. (อ. ski).
สกีน้ำ : น. กีฬาอย่างหนึ่งคล้ายสกี แต่เล่นในนํ้า ใช้เรือยนต์ลาก. (อ. water ski).
สเกต : น. ที่สวมเท้าทําด้วยโลหะมีล้อเล็ก ๆ ใช้สวมเวลาเล่นสเกต; ชื่อการเล่น อย่างหนึ่งที่ผู้เล่นต้องสวมสเกตวิ่งไปมาบนพื้นเรียบ ๆ. (อ. roller skate).
สเกตน้ำแข็ง : น. รองเท้าหุ้มข้อซึ่งมีพื้นติดแผ่นโลหะคล้ายสันมีดสําหรับ แล่นลื่นไปบนลานนํ้าแข็ง; ชื่อการเล่นอย่างหนึ่งที่ผู้เล่นต้องสวมรองเท้า สเกตเช่นนั้นแล้วแล่นลื่นไปบนลานน้ำแข็ง. (อ. skate).
ส่งกระแสจิต : ก. อาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่ง กับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใด อย่างหนึ่ง.
สงกรานต์ ๑ : [กฺราน] น. เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกําหนดตาม สุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓๑๔๑๕ เมษายน วันที่ ๑๓ คือวัน มหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ คือวันเนา และวันที่ ๑๕ คือวันเถลิงศก. (ส. สงฺกฺรานฺติ).
สงฆ์ : น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคํา พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทําสังฆกรรม แต่จํานวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรม แต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวด พิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้อง ประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวด อัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่า จํานวนที่กําหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจํานวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).
ส่งท้าย : ก. พายกระตุ้นท้ายเรือเพื่อให้แล่นเร็ว เช่น เมื่อใกล้จะถึงเส้นชัย นายท้ายก็เร่งพายส่งท้าย; พูดหรือทําท้ายสุดเพื่ออําลา เช่น เขียนบทส่งท้าย ต้องไว้ฝีมือหน่อย ส่งท้ายการเลี้ยงด้วยการให้พร.
สดคาว : ว. ดิบ ๆ และยังมีคาวอย่างปลาสดหรือเนื้อสด เช่น เขาชอบ กินอาหารสดคาว, อาหารที่แสลงแก่โรค เช่น เป็นโรคริดสีดวงห้าม กินของสดคาว.
สตริกนิน : [สะตฺริก] น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C21H22N2 O2 ลักษณะเป็นผลึกหรือผงสีขาว ละลายได้เล็กน้อยในนํ้า หลอมละลายที่ ๒๖๘ ? ๒๙๐ ? ซ. เป็นพิษอย่างแรง. (อ. strychnine).
สตัฟฟ์ : [สะ] น. การนําวัสดุบางอย่างบรรจุในโครงหนังสัตว์ซึ่งผ่านกรรมวิธี ทางเคมีสําหรับรักษาไม่ให้เน่าเปื่อยแล้วตกแต่งให้ดูเหมือนสัตว์จริง. (อ. stuff).
สถานบริการ : (กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ ในการค้า ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและ ประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอสำหรับ ปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการ นวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง.
สธุสะ, สาธุสะ : คําเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคําอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียวกับคํา ศุภมัสดุ.
ส้น : น. ส่วนท้ายของเท้า เช่น อย่าเดินลงส้น รองเท้ากัดส้น, เรียกเต็มว่า ส้นเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส้นปืน.
สนับ ๑ : [สะหฺนับ] น. เสื้อ; เครื่องสวม; เครื่องรองอย่างเครื่องรองมือของ ช่างเย็บเพื่อกันเข็มแทงมือเป็นต้น. ก. ทาบ, ซ้อน, เช่นหญ้าที่โทรม ทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก เรียกว่า ตกสนับ.
สนับเพลา : [เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้ว นุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.
สนิท : [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขา สนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็น เนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้ สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
สนิทใจ : ว. ไม่มีอะไรต้องแคลงใจหรือสงสัย เช่น เชื่ออย่างสนิทใจ, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่สนิทใจ หมายความว่า มีลักษณะพึง รังเกียจ เช่น พื้นสกปรกนั่งแล้วไม่สนิทใจ ผ้าเช็ดมือในห้องน้ำรวม ใช้ได้ไม่สนิทใจเลย.
สนุกเกอร์ : [สะนุก] น. ชื่อกีฬาในร่มชนิดหนึ่งเล่นบนโต๊ะบิลเลียด ผู้เล่นใช้ไม้ แทงลูกเรียกว่า ไม้คิว แทงลูกกลมสีขาวให้กระทบลูกกลมสีต่าง ๆ ซึ่งมีลูกแดง ๑๕ ลูก ลูกดํา ชมพู นํ้าเงิน นํ้าตาล เขียว และเหลือง อีก อย่างละ ๑ ลูก ให้ลงหลุมทีละลูกตามที่กําหนดไว้ในกติกา หรือทําให้ คู่ต่อสู้ไม่สามารถแทงลูกสีขาวให้กระทบกับลูกที่ต้องถูกกระทบได้ ซึ่งเรียกว่า ทําสนุก. (อ. snooker).
สนุกสนาน : ว. ร่าเริงบันเทิงใจ, เพลิดเพลินเจริญใจ, เช่น เด็ก ๆ เล่น สาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน.
สบถ : [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ ตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือ ไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
สบายอารมณ์ : ว. มีอารมณ์เบิกบาน เช่น เขาทำงานไปร้องเพลงไป อย่างสบายอารมณ์ วันนี้ขอดูภาพยนตร์ให้สบายอารมณ์สักวัน.
สม ๑ : ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสม ฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้ แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
สมจริง : ว. ควรถือได้ว่าเป็นจริง, คล้ายกับที่เป็นจริง, เช่น เขาแสดง บทบาทในละครได้อย่างสมจริง; ตามความเป็นจริง เช่น เขาทำได้ สมจริงอย่างที่พูดไว้; (วรรณ) เหมือนจริงแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เช่น นวนิยายสมจริง เรื่องสมจริง.
สมบัติ ๑ : น. ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้นที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงานมาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. (ป., ส. สมฺปตฺติ).
สมยอม : ก. ยอมตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาบางอย่าง (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เจ้าทุกข์สมยอมกับเจ้าหน้าที่.
สมรด : น. เครื่องตกแต่งขอบต้นแขน และปลายแขนเสื้อครุย ปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ; ผ้าคาดเอวปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สํารด หรือ ผ้าแฝง ก็เรียก.
สมหน้าสมตา : ว. เหมาะแก่เกียรติและฐานะ เช่น ลูกสาวบ้านนั้นเขา แต่งงานไปอย่างสมหน้าสมตา.
สมองฝ่อ : น. เนื้อสมองน้อยลงเนื่องจากมีการเสื่อมสลายของเซลล์ ประสาทและเนื้อเยื่อของสมองหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. cerebral atrophy).
สมัคร : [สะหฺมัก] ก. ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมในกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกสมาคม สมัครเข้า ทำงาน, บางทีก็มีคํา ใจ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นคําผสมชนิดที่ต้องการ เน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร, สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. (ต. สมัค ว่า เต็มใจ; ป. สมคฺค; ส. สมคฺร ว่า พร้อม).
สมัช, สมัชชา : [สะมัด] น. การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ไปร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติ; ที่ประชุม เช่น สมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติ. (ป.).
สมัยเก่า : น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า. สมัยนิยม
สมัยใหม่ : น. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่. ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคนสมัยใหม่.
สมานคติ : [สะมานะ] น. การดําเนินอย่างเดียวกัน, การมี ความเห็น พ้องกัน. (ส.).
สมาบัติ : [สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิต เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการ เข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).
สมาพันธรัฐ : [พันทะ] น. รัฐหลาย ๆ รัฐที่รวมกันเพื่อประโยชน์ร่วมกันบางอย่าง โดยมีข้อตกลงระหว่างกันให้มีรัฐบาลกลาง และให้มีอํานาจหน้าที่ เฉพาะกิจการบางอย่างที่รัฐสมาชิกยินยอมมอบหมายให้เท่านั้น, ปัจจุบันไม่มีแล้ว. (อ. confederation of states).
สมุจเฉท, สมุจเฉท : [สะหฺมุดเฉด, เฉดทะ] น. การตัดขาด. (ป., ส.). สมุจเฉทปหาน [ปะหาน] น. การละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์.
สโมสรสันนิบาต : น. งานชุมนุมใหญ่อย่างเป็นทางการ เช่น รัฐบาล จัดงานสโมสรสันนิบาตที่ทำเนียบรัฐบาลเนื่องในพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษา.
สยบ : [สะหฺยบ] ก. ซบลง, ฟุบลง, เช่น สยบอยู่แทบเท้า; แพ้ เช่น เขายอม สยบอย่างราบคาบ, ทําให้พ่ายแพ้ เช่น พระพุทธเจ้าสยบมาร.
สยุมภู : [สะหฺยุมพู] ว. เป็นเองตามธรรมชาติ เช่น รกสยุมภู ว่า รกอย่างเป็นเอง ตามธรรมชาติ.