โจ่งแจ้ง : ว. อย่างเปิดเผย, ไม่ปิดบัง, เช่น เขาแสดงอย่างโจ่งแจ้ง.
โจน : ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว เช่น โจนนํ้า, เผ่นข้ามไป เช่น โจนท้องร่อง, กระโจน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นํ้าโจน.
โจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลม เป็นต้น; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน; กระโจม ก็ว่า.
โจมตี : ก. ใช้กําลังบุกเข้าตี, โดยปริยายหมายความว่า พูดหรือเขียนว่าหรือ กล่าวหาผู้อื่นอย่างรุนแรง.
ใจ : น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุด สำคัญของสถานที่ เช่นใจบ้านใจเมือง.
ใจร้อน : ว. มีใจไม่หนักแน่น ฉุนเฉียวง่าย; มีใจรีบร้อนอยากจะให้เสร็จเร็ว ๆ.
ใจเร็ว : ว. ตกลงใจอย่างรวดเร็วโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบ.
ใจเร็วด่วนได้ : (สำ) ว. อยากได้เร็ว ๆ โดยไม่คิดให้รอบคอบ.
ไจ้ ๆ : (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เป็นอยู่อย่างนั้น, จะไจ้ ก็ว่า.
ฉก ๑ : ก. ฉวยหรือชิงเอาโดยเร็ว; สับ, โขก, เช่น งูฉก.
ฉนาก : [ฉะหฺนาก] น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Pristis วงศ์ Pristidae เป็น ปลากระดูกอ่อน จัดอยู่ในอันดับ Rajiformes มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่กระดูก แข็งคล้ายฟันเรียงห่างกันอย่างสม่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดยตลอด ชนิด P. cuspidatus มี ๒๓-๓๕ คู่, ชนิด P. microdon มี ๑๗-๒๐ คู่.
ฉวย : ก. คว้า จับ หรือหยิบเอาโดยเร็ว. สัน. ถ้า, แม้.
ฉวาง : [ฉะหฺวาง] น. วิธีเลขชั้นสูงของโบราณอย่างหนึ่ง. (ข. ฉฺวาง) ก. ขวาง เช่น อันว่า พยัคฆราช อันฉวางมรรคาพระมัทรี. (ม. คําหลวง มัทรี).
ฉะ ๑ : ก. ฟันลงไป; (ปาก) คําใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําห้อมล้อม เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว.
ฉะ ๒ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นใน บทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มี คำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.
ฉะฉาด : (กลอน) ว. ฉาด, เสียงอย่างเสียงของแข็งกระทบกัน.
ฉะฉี่ : (กลอน) ว. ฉี่, เสียงดังอย่างเสียงของที่ทอดน้ำมัน.
ฉะนั้น : ว. ฉันนั้น, เช่นนั้น, อย่างนั้น, ดังนั้น, ดั่งนั้น, เพราะฉะนั้น, เพราะเหตุนั้น.
ฉะนี้ : ว. ฉันนี้, เช่นนี้, อย่างนี้, ดังนี้, ดั่งนี้, เพราะฉะนี้, เพราะเหตุนี้.
ฉัตร ๑, ฉัตร- : [ฉัด, ฉัดตฺระ-] น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่า ชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลําดับ สําหรับ แขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต ว่า ร่ม); ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบ โดยรอบอย่างฉัตร; ชื่อดาวฤกษ์อารทรา.
ฉันใด : ว. อย่างไร, อย่างใด, เช่นใด. ส. อย่างใด, เช่นใด, (เป็นคำที่ใช้เข้าคู่ กับคำ ฉันนั้น ซึ่งเป็นคํารับ).
ฉันทศาสตร์ : [ฉันทะสาด] น. ตำราว่าด้วยการแต่งฉันท์ทั้งที่เป็นมาตราพฤติ และวรรณพฤติ เป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งในศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. (ส.).
ฉันนั้น : ส. อย่างนั้น, เช่นนั้น, (เป็นคำรับใช้เข้าคู่กับคำ ฉันใด).
ฉาด : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดังเมื่อตบหน้าโดยแรงเป็นต้น.
ฉาบฉวย : ว. ชั่วครั้งชั่วคราว, ขอไปที, ไม่จริงจัง, เช่น ทําอย่างฉาบฉวย.
ฉิบ : ว. อาการที่หายไปหรือจากไปเร็วเกินคาด.
ฉิบหาย : ก. สูญหมด, เสียหมด, หมดเร็ว, ป่นปี้, โดยปริยายใช้เป็นคําด่า คําแช่ง หมายความเช่นนั้น. (ปาก) ว. มาก เช่น เก่งฉิบหาย.
ฉิว : ว. เร็วเรื่อยไปไม่ขาดสาย เช่น ลมพัดฉิว, เร็วไม่มีติดขัด เช่น แล่นฉิว เดินฉิว; คล่อง, สะดวก. ก. รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที.
ฉี่ : (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะ. น. ปัสสาวะ. ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงของที่ ทอดน้ำมัน; อย่างยิ่ง เช่น เงียบฉี่ ร้อนฉี่.
ฉีด : ก. ใช้กําลังอัดหรือดันให้ของเหลวอย่างน้ำพุ่งออกจากช่องเล็ก ๆ.
ฉุนเฉียว : ว. ฉุนจัด, โกรธง่าย, โกรธเร็ว, เฉียวฉุน ก็ว่า.
ฉุบ : ว. อาการที่แทงเข้าไปโดยเร็ว เช่น เขาใช้เหล็กแหลมแทงฉุบเข้าไป.
ฉู่ฉี่ ๑ : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง คล้ายแกงคั่ว มีน้ำแกงข้น, ถ้าไม่มีน้ำแกง เรียกว่า ฉู่ฉี่แห้ง.
ฉูด : ว. อาการที่พุ่งหรือไปโดยเร็ว เช่น น้ำพุ่งฉูด เรือแล่นฉูด.
เฉย : ก. แสดงอาการเป็นปรกติไม่สนใจไยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ที่ประสบ เช่น ถูกด่าว่า ก็เฉย. ว. นิ่งอยู่ไม่แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา เช่น นอนเฉย.
เฉียบพลัน : ว. อาการที่เริ่มอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก (มักใช้แก่อาการ ของโรค) เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน.
เฉี่ยว : ก. กิริยาของนกที่โฉบลงมาคว้าอาหารไปโดยเร็ว, อาการที่กระทบหรือ เสียดสีไปโดยเร็ว เช่น รถเฉี่ยวคน. (ปาก) ว. ล้ำยุค, นำสมัย, เช่น ผู้หญิง คนนี้แต่งตัวเฉี่ยว.
เฉียวฉุน : ก. ฉุนจัด, โกรธง่าย, โกรธเร็ว, ฉุนเฉียว ก็ว่า.
เฉือน : ก. เชือดแบ่งเอาแต่บางส่วน, โดยปริยายหมายความว่า ชนะไปนิดเดียว, ชนะอย่างหวุดหวิด.
แฉ่ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฝนตกพรํา ๆ เป็นระยะ ๆ หรือเสียงที่เอาโลหะ เผาไฟร้อนจุ่มลงในน้า.
แฉ่ง : ว. ใช้ประกอบอาการของยิ้มหรือหน้าที่ร่าเริงเบิกบาน เช่น ยิ้มแฉ่ง หน้าแฉ่ง. น. เครื่องตีประกอบจังหวะทําด้วยโลหะ รูปอย่างม้าล่อ.
โฉ่งฉ่าง : ว. เสียงอย่างเสียงโลหะกระทบกัน, มีท่าทางเก้งก้างไม่รัดกุม เช่น กิริยา โฉ่งฉ่าง ชกโฉ่งฉ่าง, ส่งเสียงดังอย่างไม่เกรงใจใคร เช่น เขาพูดจาโฉ่งฉ่าง.
โฉบ : ก. โผลงมาคว้าเอาสิ่งของไป (ใช้แก่นก) เช่น กาโฉบลูกไก่, ฉวยเอาไป อย่างรวดเร็ว เช่น เด็กโฉบมะม่วงนอกรั้วไปเสียแล้ว; เจตนาไปที่ใดที่หนึ่ง เช่น โฉบไปหน้าโรงเรียน.
ชด : ก. ทําให้ชุ่มชื่น, ใช้แทนที่เสียไป. ว. อ่อน, ช้อย, งอนอย่าง งอนรถ.
ชมดชม้อย : [ชะมดชะม้อย] ก. อายเหนียมอย่างชดช้อย.
ชลาสินธุ์ : น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณ บิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
ชว : [ชะวะ] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.
ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
ช่วงทรัพย์ : (กฎ) ก. เอาทรัพย์สินอันหนึ่งแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่ง ซึ่งมีฐานะทางกฎหมายอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน.
ช็อก : น. สภาวะที่ร่างกายเสียเลือดจนความดันเลือดต่ำมาก หรือถูก กระทบจิตใจอย่างรุนแรงหรือถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น จนทำให้เป็นลมหรือหมดสติในทันที. (อ. shock).