Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กำลังไฟฟ้า, ไฟฟ้า, กำลัง , then กำลัง, กำลังไฟฟ้า, ฟฟา, ไฟฟ้, ไฟฟ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กำลังไฟฟ้า, 261 found, display 51-100
  1. กำราก, กำหราก : น. ช้างตกมัน เช่น หยาบคายฉายฉัดถีบแทง กํารากร้ายแรง แลเหลือกำลังควาญหมอ. (ดุษฎีสังเวย), กลจะขี่ช้างกําหรากเหลือลาม. (ตําราขี่ช้าง).
  2. กิโลไซเกิล : น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ มีค่าเท่ากับ ๑,๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ว่า กิโลเฮิรตซ์. (อ. kilocycle).
  3. กิโลเฮิรตซ์ : น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ ใช้สัญลักษณ์ kHz ๑ กิโลเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑,๐๐๐ เฮิรตซ์ หรือเท่ากับ ๑,๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที. (อ. kilohertz).
  4. เกาสมอ : ก. ลากสมอครูดไปตามพื้นท้องน้ำ โดยเฉพาะ ในขณะที่กำลังกว้านสมอขึ้นเก็บ.
  5. แกรไฟต์ : [แกฺร-] น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดํา ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดํา เนื้ออ่อน เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทําไส้ดินสอดํา เบ้าหลอมโลหะ น้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจํานวนอนุภาคนิวตรอนใน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. graphite).
  6. ข่มขืนใจ : (กฎ) ก. บังคับให้กระทําหรืองดเว้นกระทํา โดยไม่สมัครใจ แต่จําต้องฝืนใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่า จะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๙.
  7. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  8. ข้อลำ : น. พละกำลัง เช่น ข้อลำอย่างนี้จะสู้งานหนักไหวหรือ.
  9. ข้อเหวี่ยง : น. ส่วนที่ต่อเพลา โดยมากมีลักษณะงอ สำหรับรับกำลังดัน หรือกำลังฉุดให้เพลาหมุนรอบ ๆ, ภาษาปากว่า ข้อเสือ. (อ. crank).
  10. ขั้วบวก : น. ขั้วไฟฟ้าที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าอีกขั้วหนึ่ง.
  11. ขั้วลบ : น. ขั้วไฟฟ้าที่มีศักย์ไฟฟ้าตํ่ากว่าอีกขั้วหนึ่ง.
  12. เข็น : ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้น บรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทน อย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
  13. คลี่ทัพ, คลี่พล : (โบ) ก. เคลื่อนพล, เคลื่อนกำลังไป, เช่น ยังยโสธรคล้อย คลี่พล. (ยวนพ่าย).
  14. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า : น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของ สนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก.
  15. คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
  16. คอพับ : น. เรียกเสื้อชั้นนอกที่คอพับลงมาว่า เสื้อคอพับ. ว. อาการที่ คอตกพับลงเพราะสิ้นกำลังทรงตัวเป็นต้น.
  17. คอยล์ : น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงตํ่าจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูง เพื่อก่อ ให้เกิดประกายไฟฟ้าที่เขี้ยวหัวเทียน. (อ. ignition coil).
  18. คาบลูกคาบดอก : (สํา) ว. อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน สำนวนนี้เปรียบกับต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกัน จึงว่า คาบลูกคาบดอก.
  19. คุมเหง : (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กำลังหรืออำนาจทำให้เดือดร้อน, กุมเหง ก็ว่า.
  20. เคเบิล : น. เส้นลวดโลหะขนาดใหญ่ แข็งและเหนียว ใช้ผูกยึดของขนาดใหญ่ เช่นเรือ สะพานแขวน; ตัวนําไฟฟ้าหลายเส้นที่นํามาประกอบกันเป็น สายใหญ่ ภายนอกอาจหุ้มด้วยฉนวนก็ได้ เช่น สายเคเบิลโทรศัพท์ สายเคเบิลไฟฟ้าแรงสูง. (อ. cable).
  21. เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
  22. แคโทด : น. แผ่นหรือแท่งตัวนําที่โยงต่อกับขั้วลบของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ไฟฟ้า. (อ. cathode).
  23. โคม : น. เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ, ตะเกียงเครื่อง ตามไฟ หรือเครื่องให้แสงสว่างซึ่งมีเครื่องบังลมหรือเครื่องบังคับ แสงไฟเช่นนั้น ใช้ตั้ง หิ้ว หรือแขวน เช่น โคมไฟฟ้า, ลักษณนามว่า โคม, ดวง, ใบ, ลูก, เรียกชามอย่างเก่าขนาดใหญ่ รูปคล้ายโคม ว่า ชามโคม, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
  24. ง่ำ, ง่ำ ๆ : ว. เสียงขู่ของหมาที่กำลังกินข้าว. ก. งับเบา ๆ เช่น หมางํ่าน่อง.
  25. จตุรงคพล : [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ; หมากรุก.
  26. จตุรงคโยธา : [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + โยธา).
  27. จตุรงคเสนา : [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
  28. จตุรงคินีเสนา : [จะตุรง-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).
  29. จ๊ะจ๋า : ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูด จ๊ะจ๋าแล้ว. ก. อาการที่คู่รักพูดคุยกันอย่างมีความสุข เช่น สองคนนั้นเขา กำลังจ๊ะจ๋ากันอยู่อย่าไปกวนเขา.
  30. จักรยาน : น. รถถีบ, ยานพาหนะประเภทรถที่มีล้อ ๒ ล้อ ล้อหนึ่งอยู่ข้างหน้า และอีกล้อหนึ่งอยู่ข้างหลัง มีโครงเหล็กเชื่อมล้อหน้ากับล้อหลัง มีคันบังคับ ด้วยมือติดตั้งอยู่บนล้อหน้า ขับเคลื่อนด้วยกำลังคนผู้ขี่ซึ่งใช้เท้าถีบบันไดรถ ให้วิ่ง เรียกว่า จักรยานสองล้อ, ถ้ามี ๓ ล้อ เรียกว่า จักรยานสามล้อ.
  31. จักรยานยนต์ : น. รถที่มีล้อ ๒ ล้อ เหมือนกับรถจักรยานขับเคลื่อนด้วยกำลัง เครื่องยนต์, ภาษาปากเรียก รถเครื่อง หรือ มอเตอร์ไซค์.
  32. จังหวะ : น. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่า โอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่). จังหวะจะโคน (ปาก) น. จังหวะ.
  33. จัตุรงคพล : [จัดตุรงคะ-] น. จตุรงคพล, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
  34. จัตุรงคินีเสนา : [จัดตุรง-] น. จตุรงคินีเสนา, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).
  35. จับหืด : ก. อาการที่คนกำลังหอบหายใจไม่ทันเนื่องจากหืดกำเริบ.
  36. จาว ๕ : ก. บาน (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น โพทเลจาวดวงดอกก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน). (ลาว จาว ว่า กำลังบาน).
  37. จุดยุทธศาสตร์ : น. พื้นที่และสถานที่ตั้งที่มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
  38. จุนสี : [จุนนะสี] น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อ คิวปริกซัลเฟต (CuSO4) เมื่อ เป็นผลึก มีสูตร CuSO4•5H2O ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ใช้ประโยชน์ ในการชุบทองแดงด้วยไฟฟ้า ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าลูกนํ้า, คนทั่วไป เข้าใจว่าเกิดจากสนิมทองแดง.
  39. ฉนวน ๒ : [ฉะหฺนวน] น. วัตถุที่ไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไม่ได้สะดวก, วัตถุที่ไม่เป็น ตัวนําไฟฟ้า หรือความร้อน. (อ. insulator).
  40. ช็อก : น. สภาวะที่ร่างกายเสียเลือดจนความดันเลือดต่ำมาก หรือถูก กระทบจิตใจอย่างรุนแรงหรือถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น จนทำให้เป็นลมหรือหมดสติในทันที. (อ. shock).
  41. ชักเย่อ : [ชักกะ] น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่น ออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลัง พอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่น ทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็น เครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลาง เป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามา ในแดนของตนถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามา ในแดนของตนได้ ถือว่าชนะตามปรกติจะแข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด. ก. ดึง, รั้ง.
  42. ช่างไฟ : น. ผู้ควบคุมไฟในรถไฟเรือไฟเป็นต้น, ช่างแก้ไฟฟ้า.
  43. เชียร์ : ก. ให้กำลังใจด้วยการตะโกนโห่ร้อง ใช้ในการแข่งขัน (อ. cheer).
  44. ซีลีเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๓๔ สัญลักษณ์ Se เป็นอโลหะ มีสมบัติทางเคมี คล้ายกับธาตุกํามะถัน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๑๗?ซ. ใช้ประโยชน์ทําเซลล์ไฟฟ้าชนิดที่ใช้พลังงานแสง. (อ. selenium).
  45. ไซเกิล : (ฟิสิกส์) น. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่ง กลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่ง กระแสทวีค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้ กระแสทวีค่าขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลง จนสู่ภาวะไม่มีกระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้จํานวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของ กระแสไฟฟ้าสลับและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล. (อ. cycle).
  46. ดัชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จำนวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจำนวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐานเพื่อแสดงการยกกำลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดัชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดัชนีค่า ครองชีพ; ดรรชนี ก็ใช้. (อ. index number).
  47. ดูด : ก. สูบด้วยปาก เช่น ดูดนม, สูบด้วยกําลัง เช่น นํ้าดูด ไฟฟ้าดูด.
  48. เดินสาย : ก. ติดสายไฟฟ้าหรือสายโทรเลขโทรศัพท์เป็นต้น, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่นักร้องหรือนักแสดงเป็นต้นไปแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ.
  49. ไดนาโม : น. เครื่องกลที่ใช้สําหรับเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัย หลักการคือ ให้ลวดตัวนําเคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็ก เป็นเหตุให้เกิด กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ในลวดตัวนําได้, ใช้ว่า ไดนะโม ก็มี. (อ. dynamo).
  50. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-261

(0.0841 sec)