Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปี , then บี, ปิ, ปี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปี, 272 found, display 151-200
  1. บิฐ : [บิด] น. ตั่ง, ที่นั่งชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยม มีเท้า มีพนักอิงบ้างไม่มีบ้าง. (ป. ปี?). (รูปภาพ บิฐ)
  2. บึง : น. แหล่งนํ้าขนาดใหญ่ มีนํ้าขังตลอดปี.
  3. เบญจศก : น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๕ เช่น ปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๓๔๕.
  4. เบิก ๒ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับเลข ๕, เขียนเป็น เปก ก็มี.
  5. เบี้ยหวัด : น. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรม วงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวด เงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจํา การ ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.
  6. โบราณวัตถุ : [โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่ เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะ เป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่ง โดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐาน เกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทาง ศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.
  7. โบราณสถาน : [โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย.
  8. ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
  9. ประเมินผล : ก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุ ประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติ งานในรอบปีของบริษัท; (การศึกษา) วัดคุณค่าหรือผลความก้าวหน้า การศึกษา เช่น การสอบไล่เป็นวิธีประเมินผลการศึกษาวิธีหนึ่ง
  10. ปิดบัญชี : ก. บันทึกสรุปผลการดําเนินกิจการเมื่อสิ้นงวดหรือครบปี บัญชีเพื่อแสดงให้รู้ว่าได้กําไรหรือขาดทุนเท่าไร.
  11. ปีงบประมาณ : (กฎ) น. ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีหนึ่ง ถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีถัดไป โดยให้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อ สําหรับปีงบประมาณนั้น.
  12. เปก ๒ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับ เลข ๕, เขียนเป็น เบิก ก็มี.
  13. เปรา : [เปฺรา] (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อปีนักษัตรของไทยเหนือ ตรงกับ ปีฉลู, คําเดียวกับ เป๊า.
  14. เป๊า : (ถิ่น-พายัพ) น. ปีฉลู, เขียนเป็น เปรา ก็มี.
  15. เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
  16. แปด ๑ : น. จํานวนเจ็ดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่าเดือน ๘ ตก ในราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม, ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ แรก และ ๘ หลัง. แปดบท น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  17. ผณินทรสมพัตสร : [ผะนินทฺระสมพัดสอน] น. ปีงูใหญ่, ปีมะโรง. (ป. ผณิ + ส. อินฺทฺร + ส. สํวตฺสร).
  18. ผ่าน : ก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่าน ไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูง เกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลา
  19. พนมศก : น. เลขปีรัชกาลที่เขียนบนหลังศก.
  20. พรรษประเวศ : [พันสะปฺระเวด] น. การเข้าสู่ปีใหม่, เถลิงศก. (ส.).
  21. พรรษวุฒิ : [พันสะวุดทิ] น. การเจริญแห่งปี; วันเกิด.
  22. พรรษายุต : น. หมื่นปี. (ส.).
  23. พวงชมพู : น. ชื่อไม้เถาขนาดเล็กชนิด Antigonon leptopus Hook. et Arn. ในวงศ์ Polygonaceae ดอกสีชมพูรูปหัวใจเล็ก ๆ ออกเป็นช่อยาว ออกดอกตลอดปี.
  24. พุทธศักราช : [พุดทะสักกะหฺราด] น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จ ปรินิพพานมา.
  25. เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยาก : น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยาม สุขยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่ คู่ผัวตัวเมีย), เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ก็ว่า.
  26. ไพร่ส่วย : (โบ) น. พวกไพร่หลวงที่ไม่ต้องการเข้าประจําการ แต่ต้องหาสิ่งของใช้ในราชการส่งมาแทนทุกปี.
  27. ภาคเรียน : น. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทําการสอนติดต่อกัน ตามปรกติ ปีการศึกษาหนึ่ง ๆ จะแบ่งออกเป็น ๒–๓ ภาคเรียน.
  28. ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
  29. ภาษีบำรุงท้องที่ : (กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของ เอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ ทางราชการได้ประกาศกําหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.
  30. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน : (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มี กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตาม ค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.
  31. ภูมิอากาศ : น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใด แห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษ ก็ได้.
  32. มหายุค : น. ยุคใหญ่ คือ ยุคทั้ง ๔ รวมกัน, จตุรยุค ก็เรียก. (ดู จตุรยุค), ๐๐๐ มหายุค หรือ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์ เป็น ๑ กัลป์ เท่ากับช่วงกลางวันของพระพรหม เมื่อถึงเวลาค่ำ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยเพลิงและปล่อยให้โลกอยู่ในความมืด จนกว่าพระพรหมจะสร้างโลกขึ้นใหม่ในเช้าวันรุ่งขึ้น. (ส.).
  33. มหาสงกรานต์ : น. นักขัตฤกษ์ขึ้นปีใหม่อย่างเก่า เริ่มแต่พระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีเมษ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์.
  34. มะเมีย : น. ชื่อปีที่ ๗ ของรอบปีนักษัตร มีม้าเป็นเครื่องหมาย.
  35. มะแม : น. ชื่อปีที่ ๘ ของรอบปีนักษัตร มีแพะเป็นเครื่องหมาย.
  36. มะโรง : น. ชื่อปีที่ ๕ ของรอบปีนักษัตร มีงูใหญ่เป็นเครื่องหมาย.
  37. มะเส็ง : น. ชื่อปีที่ ๖ ของรอบปีนักษัตร มีงูเล็กเป็นเครื่องหมาย.
  38. เม็ด ๒ : (โบ) น. ปีมะแม.
  39. เม้า : (โบ) น. ปีเถาะ, เขียนเป็น เหมา ก็มี เช่น ปีโถะหนไทกดดเหมา. (จารึกสยาม).
  40. เมิง : (โบ) น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๔.
  41. ยกครู : ก. ทําพิธีบูชาครูเป็นประจําปี กล่าวคือ นําขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคํานับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำ ดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู.
  42. ยั่งยืน : ก. ยืนยง, อยู่นาน, เช่น ขอให้มีความสุขยั่งยืน, คงทน เช่น สังขารไม่จีรัง ยั่งยืน เจดีย์นี้มีอายุยั่งยืนมาได้ ๗๐๐ ปีแล้ว.
  43. ยี่ ๒ : (ถิ่นพายัพ) น. ปีขาล.
  44. รวง ๒ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น ลวง ก็มี.
  45. ระกา : น. ชื่อปีที่ ๑๐ ของรอบปีนักษัตร มีไก่เป็นเครื่องหมาย.
  46. ระวาย : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๓.
  47. รื่นเริง : ก. สนุกสนานเบิกบานใจ, เพลิน, เช่น ทุกคนรื่นเริงในวันปีใหม่ โทรทัศน์บางรายการทำให้ผู้ดูรื่นเริง.
  48. รุดหน้า : ก. ก้าวหน้าไปมาก, ลุล่วงไปเร็ว, เช่น ในระยะ ๑๐ ปีประเทศไทย เจริญรุดหน้าไปมาก งานรุดหน้าไปมากแล้ว.
  49. รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
  50. รู้สึก : ก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุก เท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึก สนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่า จะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไร เกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้อง ยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-272

(0.0587 sec)